เผยผลการตรวจวิเคราะห์ซาลบูทามอลในหมู

ข่าวทั่วไป Friday August 31, 2001 11:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--อย.
อย.เผยผลตรวจวิเคราะห์หาสารซาลบูทามอลในเนื้อหมูและเครื่องในหมู ที่เจ้าหน้าที่สุ่มเก็บตัวอย่างจากตลาดสดในช่วงเดือนพฤษภาคมและสิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่าส่วนใหญ่ไม่พบซาลบูทามอล และที่พบปริมาณน้อยมากไม่สามารถทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อีกทั้งข้อมูลทางวิชาการไม่พบว่าซาลบูทามอลจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์แต่อย่างใด วอนผู้บริโภคอย่าหวาดวิตก อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูไม่ควรใช้สารนี้ใช้อาหารเลี้ยงหมูเด็ดขาด เพราะเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์และไม่เป็นที่ยอมรับของสากล
น.พ.วิชัย โชควิวัฒน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สื่อมวลชนมีการนำเสนอข้อมูลอันตรายของการใช้ซาลบูทามอล ซึ่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงในหมู ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวลกับความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าว นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า โดยปกติแล้ว ซาลบูทามอลนำมาใช้ในการผลิตยารักษาโรคหอบหืดในคน แต่มีการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จนทำให้เกิดความตื่นตระหนกในภัยอันตราย อย. จีงได้เร่งดำเนินการหาแนวทางการควบคุมการนำเข้าและในหมูจากตลาดสด ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นระยะๆ ในช่วง 1-9 พฤษภาคม 2544 และ 6 สิงหาคม 2544 รวม 40 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์สรุปได้ว่า 25 ตัวอย่างไม่พบซาลบูมิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งในการพิจารณาความเสี่ยงหรืออันตรายที่ผู้บริโภคจะได้รับจากซาลบูทามอล โดยเปรียบเทียบปริมาณสูงสุดที่พบซาลบูทามอลในตับหมู 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และในเนื้อหมู 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และอีก 6 ตัวอย่าง พบ 0.01-0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งในการพิจารณาความเสี่ยงหรืออันตรายที่ผู้บริโภคจะได้รับจากซาลบูทามอล โดยเปรียบเทียบปริมาณสูงสุดที่พบซาลบูทามอลในตับหมู 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และในเนื้อหมู 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กับการใช้ยาซาลบูทามอลรักษาโรคหอบหืดในกรณีเด็กอายุ 6-12 ปี ขนาดยาที่ใช้เริ่มที่ขนาด 2 มิลลิกรัม รับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน ซึ่งประเมินได้ว่าต้องกินตับหมู 40 กิโลกรัมต่อวันหรือเนื้อหมู 200 กิโลกรัมต่อวัน ร่างกายจึงจะได้รับซาลบูทามอลเท่ากับยาซาลบูทามอลรักษาหอบหืดขนาด 2 มิลลิกรัม
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการไม่พบว่าซาลบูทามอลจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ดี แม้ว่า ซาลบูทามอลไม่เป็นอันตรายไม่เป็นอันตรายอย่างที่ผู้บริโภควิตก แต่ก็เป็นสารที่ไม่ควรมีการใช้ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงหมูเพราะเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์และไม่เป็นที่ยอมรับของสากล ทั้งนี้ อย. ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมศุลกากร รวมทั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย และภาคอุตสาหกรรมการผลิตยา ในการปรับแก้กฎหมายและแนวทางการควบคุมการนำเจ้าและจำหน่าย ซาลบูมอล เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจังและครบวงจร ป้องกันการรั่วไหลและการใช้ผิดวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น โดยได้มีการประชุมร่วมกันตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2544 ได้ข้อยุติให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการควบคุมการนำหรือสั่งซาลบูทามอลเข้ามาในราชอาณาจักรในแนวทางเดียวกับสารเคลนบูเทอรอล ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเดียวกันกับซาลบูทามอลและเคยเป็นปัญหาเมื่อหลายปีก่อน โดยมาตรการลักษณะเดียวกันนี้ได้แก้ไขจนขณะนี้ไม่มีการใช้สานเคลนบูเทอรอลเพื่อเร่งเนื้อแดงอีกแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ