กรมโรงงานฯ จับมือ 6 กระทรวง ขับเคลื่อน Safety Thailand ยกระดับความปลอดภัยในโรงงาน รุกนำร่องกลุ่มโรงงานเสี่ยงอุบัติเหตุ

ข่าวทั่วไป Friday August 5, 2016 17:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ 6 กระทรวง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงคมนาคม บูรณาการทำงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง 2.ด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับอัคคีภัย และ3.ด้านความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 มิติ คือ มิติการส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินงาน มิติการกำกับดูแล และมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน ในระยะเวลา 6 เดือน ตามยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยและโรคจากการทำงาน สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ เกี่ยวกับด้านความปลอดภัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทร. 0 2202 4217, 0 2202 4222 หรือเข้าไปที่www.diw.go.th นายมงคล พฤกษ์วัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานในช่วงครึ่งปีแรก 2559 (ม.ค.59 – มิ.ย.59) พบว่า เกิดอุบัติเหตุและอุบัติภัย จำนวน 89 ครั้ง โดยเกิดอัคคีภัยมากที่สุด จำนวน 66 ครั้ง การระเบิด จำนวน 3 ครั้ง สารเคมีรั่วไหล จำนวน 6 ครั้ง และอุบัติเหตุอื่นๆ เกี่ยวกับเครื่องจักร ไฟฟ้าดูด ภัยธรรมชาติ จำนวน 14 ครั้ง ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกิดอุบัติเหตุในโรงงาน จำนวน 109 ครั้ง แบ่งเป็น อัคคีภัย จำนวน 84 ครั้ง การระเบิด จำนวน 7 ครั้ง สารเคมีรั่วไหล จำนวน 6 ครั้ง และอุบัติเหตุอื่นๆ เกี่ยวกับเครื่องจักร ไฟฟ้าดูด ภัยธรรมชาติ จำนวน 12 ครั้ง เห็นได้ชัดว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติภัยในโรงงานปี 2559 มีจำนวนลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการรณรงค์ การอบรม ให้ความรู้ความเข้าใจด้านวิชาการ การเผยแพร่คู่มือเอกสารต่างๆ ด้านความปลอดภัยตลอดจนการเข้มงวดในการกำกับดูแลและทำงานร่วมกับเครือข่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงงาน นายมงคล กล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าวที่เป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอุบัติภัยในโรงงาน กรมโรงงานฯ จึงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และกรมควบคุมโรค กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ กระทรวงคมนาคม ในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุอุบัติภัยจากการทำงานในโรงงานให้เป็นศูนย์ โดยได้บูรณาการทำงานร่วมกันภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 มิติ คือ มิติการส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินงาน มิติการกำกับดูแล และมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ กรมโรงงานฯ จะเข้าไปดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับอัคคีภัย และด้านความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี เพื่อส่งเสริมด้านความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการและพนักงานได้รู้ถึงมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยในโรงงาน ผ่านโครงการกิจกรรมต่างๆ อาทิ การส่งเสริมและการพัฒนาความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมกับโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัยได้ง่าย การทำระบบบริหารจัดการความปลอดภัยสู่โรงงาน ร่วมมือกับ 6 โรงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายสูง การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของถังเก็บสารเคมีและมาตรการความปลอดภัย พร้อมแจกคู่มือการออกแบบติดตั้งและตรวจสอบความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมี การจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัย รวมถึงการทำแบบประเมินตนเอง (Self Checklist) เพื่อให้โรงงานได้ทำการประเมินตรวจสอบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในเบื้องต้น โดยในระยะแรกมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มโรงงานที่เสี่ยงติดไฟได้ง่าย เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก สารไวไฟ กระดาษ เป็นต้น นายมงคล กล่าวสรุป สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ เกี่ยวกับด้านความปลอดภัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทร. 0 2202 4217, 0 2202 4222 หรือเข้าไปที่www.diw.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ