แอร์บัส กรุ๊ป สนับสนุนการพัฒนาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมเพื่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย

ข่าวบันเทิง Friday October 28, 2016 10:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--TQPR MEDIA ? จัดงาน "ฟาบริคาเรียม (Fabrikarium)" งานซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรป ? เปิดโอกาสให้คนที่มีความบกพร่องทางร่างกายทั่วไปได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยที่สุด 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – แอร์บัส กรุ๊ป ได้จัดงาน "ฟาบริคาเรียม" ซึ่งเป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียน ลีเซ่ แอร์บัส (Lycee Airbus) ที่เมืองตูลูส ในวันที่ 19-21 ตุลาคม งาน "ฟาบริคาเรียม" นั้นเป็นการริเริ่มในการนำคนจากหลากหลายที่ที่มีความแตกต่างกันมาร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งโซลูชั่นนี้สามารถนำไปทำซ้ำได้อย่างง่ายดายและเป็นงานที่ไม่ได้ทำเพื่อแสวงหากำไรและมีต้นทุนที่ต่ำ โดยมีวัตถุประสงค์คือต้องการให้คนที่มีความบกพร่องทางร่างกายจำนวนมากได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดระยะเวลาสามวันนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน ที่ได้นำความเชี่ยวชาญและทักษะต่างๆ มาช่วยพัฒนาโครงการทั้ง 9 โครงการที่ได้รับการระบุโดยสมาคม "มาย ฮิวแมน คิท (My Human Kit หรือ MHK)" สมาคมอิสระนี้ได้กระตุ้นให้กำลังใจให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายนั้นสามารถเอาชนะข้อจำกัดของตน โดยทำการพัฒนาขาเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบดิจิตอล และด้วยหลักการ "ทำได้ด้วยตัวเอง" ผู้ที่มาร่วมในกิจกรรมนั้นประกอบไปด้วย พนักงานของแอร์บัสกรุ๊ป จำนวน 44 คนจากทั่วทั้งยุโรป นักเรียนจากโรงเรียน ลีเซ่ แอร์บัส จำนวน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านต้นแบบจากสมาคม มาย ฮิวแมน คิท และพนักงานจากบริษัทอื่นๆ พวกเขาได้มาร่วมกันออกแบบและผลิตตัวต้นแบบทั้งด้วยการใช้อุปกรณ์แบบคลาสสิกและดิจิตอล เช่น เครื่องพิมพ์แบบสามมิติหรือเทคโนโลยีและเครื่องมือสำหรับการตัดโดยใช้เลเซอร์ "เราเชื่อว่าความหลากหลายนั้นคือแหล่งของความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยการนำผู้คนมารวมกันในกิจกรรมสำคัญเช่นนี้ เพื่อร่วมกันออกแบบและสร้างโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรม โดยเราได้มีบทบาทในการช่วยทำให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการร่างกายสามารถดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น" นายเธียรี่ บาริล ประธานเจ้าหน้าที่ด้านทรัพยากรบุคคลของแอร์บัสและ แอร์บัส กรุ๊ป กล่าว "การนำผู้คนที่มีทักษะและมีพื้นเพที่แตกต่างกันมารวมกันนั้นยังช่วยให้เกิดมุมมองที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายนั้นเป็นไปในทางบวกขึ้น โดยส่วนตัวผมมองว่าในสภาวะแวดล้อมของการทำงานนั้นความหลากหลายจะสร้างความแตกต่าง" เขากล่าวเสริม จากหลักการของการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือบรรเทาผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย "ฟาบริคาเรียม" นั้นกำลังดำเนินโครงการจำนวน 9 โครงการ ได้แก่ Print my leg: การสร้างขาเทียมที่มีลักษณะที่สวยงามและปรับแต่งได้ ซึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยีและวัสดุที่ใช้นั้นเป็นแบบใหม่ (ทั้งการพิมพ์แบบสามมิติ ไทเทเนียม ฯลฯ) และเป็นยังเป็นขาที่สามารถปรับให้เหมาะกับตัวเองได้ที่บ้าน Open Wheelchair: รถเข็นที่ผลิตจากชิ้นส่วนมาตรฐาน สำหรับประเทศกำลังพัฒนาสามารถนำไปผลิตทำซ้ำได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงรุ่นที่ใช้ไฟฟ้าด้วย Binoreille: เครื่องช่วยฟังราคาไม่แพงสำหรับผู้คนที่พิการทางหูที่สูญเสียโดยสมบูรณ์หนึ่งข้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการปลูกกระดูก Sonar Glove: ระบบเรดาร์แบบพกพาสำหรับผู้พิการทางสายตาหรือมีความบกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งใช้ต้นทุนในการทำที่น้อยกว่า 50 ยูโร ซึ่งทำงานโดยการตรวจจับสิ่งกีดขวางด้วยการสั่นสะเทือนที่มือ Bionicohand: มือเทียมแบบไบโอนิคในราคาที่เข้าถึงได้และสามารถซ่อมแซมเองได้ ควบคุมโดยการใช้เซนเซอร์ตรวจจับกล้ามเนื้อและระบบการตอบสนองกลับที่ทำให้สามารถ "รับรู้สัมผัส" ถึงวัตถุต่างๆ ได้ Ganesh: โครงการแพลตฟอร์มต้นแบบเสรีที่ทำให้ผู้คนสามารถสร้าง พัฒนา หรือผลิตซ้ำเครื่องช่วยฟังของพวกเขา Shiva: การสร้างมือเทียม (กระดาษ การพิมพ์สามมิติ ฯลฯ) เพื่อเปลี่ยนเป็นชิ้นงานศิลปะหรือเครื่องมือซึ่งรวมถึงระบบข้อมือที่ถอดได้ Braille Rap: วิธีการเปลี่ยนเครื่องพิมพ์สามมิติให้กลายเป็นเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ด้วยการพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษทั่วไป (กระดาษ หรือกระดาษแข็ง ฯลฯ) From Scratch: การระดมสมองในเรื่องเกี่ยวกับโซลูชั่นทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย นวัตกรรมแบบเปิด และธุรกิจเพื่อสังคมที่จะสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ต้นแบบต่างๆ ที่ได้มีการพัฒนาที่ฟาบริคาเรียมนี้จะจัดแสดงในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ ที่เมืองตูลูส สื่อมวลชนสามารถแจ้งความประสงค์ในการเข้าชมได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ