รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2559

ข่าวทั่วไป Friday October 28, 2016 15:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของ ผู้มีรายได้น้อย และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน และในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคเหนือ เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ จากการบริโภคสินค้าและบริการ โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว ร้อยละ 10.0 และ 10.4 ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 และ 16.3 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามผลผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัว สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 23.0 ต่อปี ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวในภูมิภาค สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวเดือนกันยายนขยายตัวต่อเนื่อง ตามจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 3.4 ต่อปี ตามลำดับ และในไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 11.5 และ 9.4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ จากการบริโภคภาคเอกชน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 3.2 ต่อปี ตามลำดับ และในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว ร้อยละ 0.2 และ 6.9 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น และการลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 32.8 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 21.1 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเดือนกันยายนขยายตัวเป็นบวกทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 6.9 และ 4.3 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 9.1 และ 6.6 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายนอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และ ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 21.0 และ 8.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 11.1 และ 7.2 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี และในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 28.5 ต่อปี ส่วนด้านอุปทานโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเดือนกันยายนขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 3.6 และ 14.1 ต่อปี ตามลำดับ และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.3 และ 14.9 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออก เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว และภาคเกษตร สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 21.4 และ 25.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 7.6 และ 18.3 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ดีที่ ร้อยละ 27.1 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเดือนกันยายนขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 43.5 และ 68.4 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 43.6 และ 72.3 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันตก เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชน ภาคเกษตร และการท่องเที่ยวขยายตัวดี สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 44.6 และ 17.9 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 14.3 และ 15.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 25.3 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว ร้อยละ 33.8 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทาน การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 8.2 และ 14.4 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว ร้อยละ 4.6 และ 10.2 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 และอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคใต้ เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัวอย่างชัดเจน โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค ภาคเกษตร การลงทุน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 9.7 และ 21.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.6 และ 18.2 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 9.5 และ 18.3 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 3.9 และ 41.9 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 37.6 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 35.7 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทานโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเดือนกันยายนขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 7.2 และ 13.6 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 10.7 และ 18.6 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภค การลงทุน และการเกษตรขยายตัวดี สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 2.0 และ 16.1 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 1.2 และ 17.2 ต่อปี ตามลำดับ ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 27.7 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 30.7 ต่อปี สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง จากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 8.5 และ 17.1 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 14.7 และ 0.3 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนยังชะลอตัว ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ