ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โพล ต้นตอป่าเสื่อมโทรม

ข่าวทั่วไป Friday November 11, 2016 09:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจเรื่อง โพลต้นตอ ป่าเสื่อมโทรม กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพจากทั่วประเทศจำนวน 1,168 คน ระหว่างวันที่ 5-10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 45.8 ระบุต้นตอของป่าเสื่อมโทรมคือ นักการเมือง รองลงมาคือ ร้อยละ 25.4 ระบุ เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 19.4 ระบุกลุ่มนายทุน ร้อยละ 5.8 ระบุประชาชนในพื้นที่ป่า และร้อยละ 3.6 ระบุประชาชนทั่วไป ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบแนวทางแก้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมระหว่า ก่อนรัฐบาล คสช. และ หลังรัฐบาล คสช. ในสายตาประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.2 ระบุหลังรัฐบาล คสช. เข้ามาแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ในขณะที่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ระบุก่อนรัฐบาล คสช. เข้ามา การแก้ปัญหาป่าเสื่อมโทรมแก้ได้แย่ ถึง แย่มาก ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงแนวคิดแนวนโยบายปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และคืนความสมบูรณ์ให้ผืนป่า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 เห็นด้วยมาก ถึงมากที่สุด สำหรับแนวทางบริหารจัดการป่าไม้ที่เหลืออยู่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 ระบุ จัดการผู้มีอิทธิพลเด็ดขาดทั้งนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้กฎหมายจริงจังต่อเนื่องปกป้องผืนป่าที่เหลืออยู่ รองลงมาคือ ร้อยละ 69.7 ระบุ ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ร้อยละ 65.3 ระบุ แก้ปัญหาป่าถูกทำลาย อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ตามนโยบายประชา-รัฐ ร้อยละ 62.4 ระบุ ส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้ประเทศ และประชาชน ร้อยละ 61.1 ระบุ จัดสรรที่ทำกินเพื่อให้ ชาวบ้านผู้ยากไร้อยู่ร่วมกับป่าได้ และร้อยละ 34.8 ระบุ อื่นๆ ทำงานด้านมวลชน รณรงค์ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ ทำกิจกรรมปลูกป่าเพิ่ม เป็นต้น เมื่อถามถึงความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการทำงานของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในยุครัฐบาลและ คสช. ผลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.4 พอใจมากถึง มากที่สุด และคะแนนเฉลี่ยโดยรวมได้ 7.17 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ