DON'T SAY A WORD ล่าเลขอำมหิต…ห้ามบอกเด็ดขาด กำหนดฉายวันที่ 9 พฤศจิกายน

ข่าวทั่วไป Monday October 22, 2001 14:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--ทเว็นตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์
ดร.นาธาน คอนราด เป็นผู้เชี่ยวชาญโรคจิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังในนิวยอร์ค เขาประสบความสำเร็จในอาชีพ มีภรรยาสวยและลูกสาวน่ารัก ในขณะที่เขากำลังเดินทางกลับบ้านเพื่อเริ่มต้นวันหยุดขอบคุณพระเจ้าอันเงียบสงบ คอนราดถูกเพื่อนร่วมงานตามตัวด่วน เพื่อให้ไปตรวจหญิงสาวคนหนึ่ง เอลิซาเบธ เบอร์โรว์ มีอดีตฝังใจที่เลวร้าย พูดง่ายๆก็คืออาการป่วยของเอลิซาเบธเป็นกรณีที่เขาเคยเจอ ก่อนจะมาที่ "อัพทาวน์" นั่นหมายความว่าเขาเป็นโอกาสสุดท้ายของเอลิซาเบธก่อนที่จะไม่สามารถเรียกสติของเธอกลับคืนมาได้อีก
ด้วยทักษะและสัญชาตญาณของนาธานทำให้การรักษาเอลิซาเบธรุดหน้า และความอยากรู้อยากเห็นของเขาก็ถูกกระตุ้นด้วยถ้อยคำแรกที่ออกจากปากเธอ "คุณก็ต้องการสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่หรือ?…ฉันจะไม่บอก…ไม่ว่าใครทั้งนั้น"
นาธานเพียงแค่สงสัยว่า เอลิซาเบธและข้อความที่แฝงความนัยของเธอ จะเชื่อมโยงกับอันตรายที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาและครอบครัว ลูกสาวของนาธานถูกลักพาตัวโดยขโมยใจอำมหิต และเพื่อช่วยเธอ เขาต้องทำอย่างไรก็ได้เพื่อหาทางปลดล็อคตัวเลขหกหลักที่ซ่อนอยู่ในใจของเอลิซาเบธ ไม่มีการสนทนา ไม่มีการเจรจา ทุกการเคลื่อนไหวของเขาถูกจับตามอง โดยกลุ่มคนที่จับตัวลูกสาวของเขาไป นาธานต้องติดอยู่ในฝันร้ายที่แม้แต่ตัวเขาเองก็ไม่เคยนึกฝันมาก่อน และกลุ่มคนร้ายยังย้ำกับเขาอยู่ตลอดเวลาว่า : ถ้าเขาต้องการเห็นลูกสาวมีชีวิตอยู่ เขาต้องไม่พูดแม้แต่คำเดียว
ยักเขียนนวนิยาย แอนดรูว์ เคลแวน ซึ่งเคยได้รับรางวัลยอดเยี่ยม Mystery Writers of America's "Edgar" สำหรับงานเขียนนวนิยายลึกลับแห่งปีจาก Don't Say A Word ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนจากเรื่องราวตื่นเต้นชวนประสาทเสียที่มีที่มาแหล่งข้อมูลหลายๆแห่ง ---แม้กระทั่งเรื่องของเด็กแรกเกิด หลังจากที่ลูกสาวของเขาเกิด เขามักจะตื่นขึ้นมาทุกสองสามชั่วโมงทุกคืนเพื่อดูเธอ "คืนหนึ่ง" เคลแวนนึกย้อนไป "ผมเกิดความสงสัยว่า 'จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้าเธอหายไป?'
มันเป็นความคิดที่คอยรบกวนจิตใจ-เป็นเหมือนฝันร้ายของพ่อแม่ทุกคน-"ที่มาของเรื่องปรากฏต่อหน้าผม" เคลแวนเริ่มต้นเรื่องในอพาร์ตเมนท์ของเขาเองในนิวยอร์ค
หลังจากที่เขาเขียน Don't Say A Word จบ ลิขสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกคว้าโดย อาร์โนลด์ และ แอนน์ โคเปลสัน หนึ่งในผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของวงการ อาร์โนล โคเปลสัน เป็นอดีตนักศึกษาศิลปะและดนตรี เขาได้รับการยอมรับในความสามารถหลับตาเห็นภาพรวมทั้งหมดของภาพยนตร์ จากการอ่านนวนิยายหรือสคริปต์ "ในความคิดของผม ผมเห็นฉาก มีนักแสดงเคลื่อนไหวในนั้น เห็นภาพสถานที่และได้ยินดนตรี" สิ่งที่อาร์โนลด์เห็นในนวนิยายของเคลแวน ทำให้เขายอมเสี่ยงลงทุนเพื่อทำงานนี้ "ผมไม่อาจพลิกหน้ากระดาษไปได้เร็วพอ" โคเปลสันเล่าย้อนให้ฟัง "ผมรู้สึกถึงผิวหนังที่เต้นระริกและหัวใจของที่สั่นระรัว"
โคเปลสันในเวลาสองปีต่อมาเพื่อพัฒนาโปรเจ็คนี้ มันเป็นการเริ่มต้นขันตอนที่กินเวลานาน ในขณะที่ตัวนสนิยายก็ได้รับการยกย่องในการใช้ถ้อยคำที่กระชับ เต็มไปด้วยรายละเอียดและดำเนินเรื่องฉับไว การดัดแปลงมาเป็นบทภาพยนตร์จึงเป็นงานที่ท้าทาย ผู้เขียนบทภาพยนตร์ แอนโธนี เพ็คแฮม กล่าวว่า "มันเป็นหนังสือที่ชวนติดตาม แต่การลำดับเรื่องทำให้ยากต่อการทำภาพยนตร์"
เพ็คแฮม และ ผู้เขียนบท แพทริค สมิธ เคลลี่ ต่างแยกย้ายกันทำงาน เปิดเรื่องด้วย การกำหนดให้ แอกกี้ ภรรยาของนาธานขาหัก ("แสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เธอไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้หลังจากที่ลูกสาวเธอถูกลักพาตัวไป" เพ็คแมนกล่าว) ; เพิ่มเติมตัวละครของตำรวจที่สืบสวนคดีการฆาตกรรม ที่ในที่สุดเข้ามาเชื่อโยงกับเรื่องของนาธาน ; ขยายภาพการเฝ้าจับตามองของกลุ่มผู้ลักพาตัว (คอยสังเกตการณ์จากอยู่ด้านบนอพาร์ตเมนท์ของคอนราด คอยจับตาดูแอกกี้ที่ลุกไปไหนมาไหนไม่ได้ และกำหนดให้เรื่องดำเนินไปในช่วงวันหยุดขอบคุณพระเจ้า ประเด็นหลังเกี่ยวข้องกับฉากสำคัญฉากหนึ่งที่นาธานพยายามเดินทางไปหาเอลิซาเบธ ด้วยการตัดผ่านขบวนพาเหรด Macy's Thankgiving Day Parade
ในขณะที่ขั้นตอนพัฒนางานมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งหลายหน แต่ โคเปลสันก็ยังคงมุ่งมั่นกับงานนี้ ดังนั้น แฟนนวนิยายอีกคนหนึ่ง คือ ไมเคิล ดักกลาส ได้แสดงความสนใจในโปรเจ็คนี้ และในบทของ นาธาน คอนราด อันที่จริง บทนี้ถูกเขียนมาสำหรับดักกลาส แอนโธนี เพ็คแมน กล่าว
"DON'T SAY A WORD เป็นงานทริลเลอร์คลาสสิค" ดักกลาสกล่าว "มีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับตัวละคร ยกตัวอย่าง นาธาน คอนราด เป็นคนที่มีพร้อมทุกสิ่ง แต่เพียงชั่วพริบตา สิ่งที่เขารักมากที่สุดได้ถูกชิงไป-เขาต้องพยายามแข่งกับเวลาเพื่อนำเธอกลับคืน"
นาธานต้องเข้าไปสู่โลกของผู้ป่วยทางจิต (โรงพยาบาล Bridgeview Psychiatric Hospital ที่สมมติขึ้นมาเลียนแบบโรงพยาบาล Bellevue Hospital ที่มีชื่อเสียงของนิวยอร์ค) เพื่อช่วยลูกสาวของเขา การเดินทางที่นำเขาไปพบกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง "นาธานไม่เคยข้องแวะเรื่องที่ทำให้มือของเขาต้องสกปรก" แพทริค สมิธ เคลลี่ กล่าว "ในตอนจบ เขายอมแลกทุกอย่างเพื่อให้ได้ลูกสาวกลับคืนมา เขาคิดว่าตัวเองยอมตายดีกว่าที่จะปล่อยให้ลูกถูกฆ่า"
นาธานเหมือนกับพระเอกในนวนิยายคลาสสิคของฮิตชค็อก ที่พบว่าตัวเองอยู่ผิดที่ผิดทาง-ถูกผลักเข้าไปในสถานการณ์อันตรายที่อยู่เหนือการควบคุมและพยายามมองหาความเข้มแข็งในตัวเองเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ แนวคิดนี้สร้างดึงดูดความสนใจของผู้กำกับ แกรี่ เฟลเดอร์ ที่เคยผ่านผลงานแนวนี้มาแล้ว อย่าง "Things to Do in Denver When You're Dead" ที่แอนดี้ กราเซีย ต้องช่วยสมาชิกในแก๊งค์จากพวกม็อบ ; ในภาพยนตร์ทำเงิน "Kiss The Girls" แอชลี่ย์ จั๊ดด์ ซึ่งตกเป็นเป้าหมายของนักฆ่า ต้องเปลี่ยนตัวเองจากเหยื่อกลายเป็นนางเอก ; และในงานทริลเลอร์ไซไฟเรื่องล่าสุดของ เฟลเดอร์ "Imposter"
เฟลเดอร์ชำนาญในงานแนวนี้ และมีมุมมองที่เฉียบขาด "แกรี่เป็นนักเรียนภาพยนตร์อย่างแท้จริงและเขาก็เก่งมาก" อาร์โนลด์ โคเปลสัน กล่าว -เขาเป็นคนเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่กำกับ DON'T SAY A WORD การทำงานร่วมกับผู้ร่วมเขียนบท แพทริค สมิธ เคลลี่ และที่ปรึกษาของภาพยนตร์ นักนิติจิตเวชที่มีชื่อเสียง ดร. โรเบิร์ต เบอร์เกอร์ (ผู้อำนวยการสร้าง อาร์โนลด์ โคเปลสัน เชิญเขามาร่วมงานนี้) เฟลเดอร์ศึกษาเกี่ยวกับคาแร็คเตอร์ของ เอลิซาเบธ เบอร์โรว์ "ผมไม่เข้าใจว่าเธอกลายเป็นคนที่มีความสับสนทางจิตได้อย่างไร" เฟลเดอร์กล่าว "ดร.เบอร์เกอร์ให้บุคคลจริงแก่เรา ในการศึกษาอาการสมมติฐานของโรคที่คุกคามหญิงสาว"
เบอร์เกอร์ยังช่วยเฟลเดอร์ให้มองเห็ฯภาพปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างนาธานและเอลิซาเบธ "ความสัมพันธ์กับสภาพทางจิตของเธอที่นาธานต้องใช้ความสามารถในการรักษาเธอ เป็นสิ่งที่ไม่มีหมอคนไหนทำได้ นั่นคือ การได้รับความไว้วางใจจากเธอ" เฟลเดอร์กล่าว "เบอร์เกอร์แสดงให้ผมเห็นว่า วิธีหนึ่งที่นาธานจะได้รับความมั่นใจจากเธอ เขาต้องแสดงความอ่อนแอของตัวเองให้เธอเห็น ด้วยการเกลี้ยกล่อมให้เธอช่วยเขาและลูกสาวที่ถูกลักพาตัวไป นาธานกำลังช่วยเอลิซาเบธให้ช่วยตัวเธอเอง มันแสดงให้ผมเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเบอร์โรว์และคอนราดน่าจะมาบรรจบกันได้"
ความสัมพันธ์ที่มาบรรจบกัน แสดงให้เห็นในฉากสำคัญที่สถานีรถไฟใต้ดินในแถบไชน่าทาวน์ในนิวยอร์ค ที่ซึ่ง สิบปีก่อนหน้านี้ เอลิซาเบธได้เห็นพ่อของเธอถูกฆาตกรรมด้วยน้ำมือของผู้ชายที่ลักพาตัวลูกสาวของนาธานไป นาธานบอกเอลิซาเบธด้วยการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นี้อีกครั้งหนึ่ง เธอสามารถสงบจิตสงบใจกับมันได้ "ในที่สุดเธอหันกลับมาเผชิญหน้ากับอดีตและสิ่งนี้ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือนาธาน" เฟลเดอร์กล่าว นาธานพยายามช่วยชีวิตลูกสาวในขณะเดียวกับที่เขาช่วยเอลิซาเบธไปด้วย
ฉากที่ต้องใช้พลังในการแสดงอย่างเต็มที่ (โดย ไมเคิล ดักกลาส และ บริททานีย์ เมอร์ฟี่ย์ ซึ่งรับบทเป็น เอลิซาเบธ) การถ่ายทำ การตัดต่อ (รวมการถ่ายทำทั้งหมดกว่า 250 ช็อต) และเสียง ทั้งในภาพอดีตและปัจจุบัน ฉากที่เล่าย้อนเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุการป่วยของเอลิซาเบธ "อยู่ระหว่างแฟลชแบ็คกับภาพเหตุการณ์ปัจจุบัน"
สำหรับฉากนี้และฉากสำคัญอื่นๆ บริททานีย์ เมอร์ฟี่ย์ สวมบทเป็น เอลิซาเบธ เบอร์โรว์ ได้อย่างน่าประทับใจ เฟลเดอร์ไปพบนักแสดงสาวจากภาพยนตร์เรื่อง "Clueless" และ "Girl,Interrupted" เมื่อเธอเข้ามาคัดเลือกบทของ เจนิส จ็อปลิน ซึ่งเฟลเดอร์เป็นคนกำกับ เมอร์ฟี่ย์ได้รับบทนี้ไปครองท่ามกลางคนอื่นๆอีกกว่า 100 คน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่เคยมีการสร้าง
เฟลเดอร์จำเธอได้ เขาเชิญเธอมาพบโคเปลสันเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับบทของเอลิซาเบธ "น้ำเสียงเยือกเย็นของเธอในการการอ่านบทประทับใจทุกคน" เฟลเดอร์กล่าว หลังจากนั้นเมอร์ฟี่ย์ได้ทำการสกรีนเทสต์ กับไมเคิล ดักกลาส "เรารู้ว่าจะเป็นใครไปไม่ได้อีกแล้ว" เฟลเดอร์กล่าว "บริททานีย์สวมบทเป็นเอลิซาเบธได้อย่างยอดเยี่ยม รวมทั้งปฏิกิริยาเคมีระหว่างเธอกับไมเคิลก็ไม่ธรรมดา"
ภาพแรกที่เราเห็นสภาพของเอลิซาเบ็ธที่นั่งอยู่ในห้องผู้ป่วยทางจิต เป็นสิ่งที่เมอร์ฟี่ย์ออกแบบด้วยตัวเธอเอง "มีบางอย่างที่สวยงามเกี่ยวกับเอลิซาเบ็ธ" นักแสดงสาวกล่าว "ฉันมีอิสระในการแสดงเป็นคนที่ดูเหมือนหลุดจากคน "ปรกติ" ในสังคม มันเป็นความรู้สึกมากกว่า เป็นสิ่งที่ฉันเองก็ไม่สามารถอธิบายได้ ฉันเพียงรู้โดยสัญชาตญาณ ฉันรู้ว่าเอลิซาเบ็ธควรเป็นอย่างไร"
เอลิซาเบ็ธเป็นคนไข้ของ ดร. ลูอิส ซาชส์ นักนิติจิตเวชของ Bridgeview Psychiatric Hospital เนื่องจากเขาจนปัญญาที่จะรักษาอาการป่วยของเอลิซาเบธได้ เขาจึงต้องตามตัวนาธานมาช่วย ทีมสร้างจำลองแบบลูอิสมาจาก ดร.เบอร์เกอร์ โดยได้ โอลิเวอร์ แพล็ต มารับบทนี้ "บทเหมือนเขียนขึ้นมาสำหรับโอลิเวอร์โดยเฉพาะ" อาร์โนลด์ โคเปลสัน กล่าว "โอลิเวอร์ เหมือนดร.เบอร์เกอร์ ตัวกลมๆพองๆเหมือนเท็ดดี้แบร์"
แพล็ตตอบรับโอกาสในการแสดงบทนี้ "ตัวละครตัวนี้มีความลับบางอย่าง ที่ผมเรียกว่า 'หลบหลีก'" เขากล่าว "ดูเหมือนไม่มีอะไร มันเป็นบทที่น่าสนใจ"
นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจที่พบในตัว แอกกี้ , ภรรยาของนาธาน -แม้แต่คนที่คุ้นเคยกับนวนิยายเรื่องนี้ เพื่อการเปิดเรื่องและหามิติให้กับคาแร็คเตอร์ ทีมสร้างทำให้เธอไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เนื่องจากขาหัก ทำให้เธอต้องติดอยู่ใน อพาร์ตเมนท์ ในขณะที่นาธานวิ่งพล่านไปทั่วนิวยอร์ค เพื่อหาทางช่วยชีวิตลูกที่ถูกลักพาตัว ความหวาดวิตกและความกลัวของแอกกี้เป็นอะไรที่สามารถมองเห็นได้ชัด
แฟรมเก้ แจนเซ่น รับบทเป็น แอกกี้ พูดถึงบทที่เธอได้รับว่า "สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำเมื่อเกิดเหตุร้ายกับลูก ก็คือการเคลื่อนไหว แต่ แอกกี้ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้" แจนเซ่นกล่าว "แอกกี้เป็นคนแอ็คทีฟ-เธอประสบอุบัติเหตุในการเล่นสกีทำให้ขาหัก-ดังนั้นการไปไหนมาไหนไม่ได้จึงเป็นประเด็นสำคัญ เธอต้องติดอยู่กับที่และคิดว่าตัวเองไม่สามารถช่วยอะไรสามีและลูกได้เลย"
ตัวการร้ายที่อยู่เบื้องหลังการลักพาตัวคือ คอสเตอร์ อาชญากรมืออาชีพ จิตใจโหดเหี้ยม เขาต้องนั่งอยู่ในกรงขังถึง 10 ปี กับความคิดวางแผนหาทางเอาคืน สิ่งที่เขาคิดว่าเป็นของเขา : สิ่งที่เกี่ยวข้องกับหญิงสาวที่ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิต เฟลเดอร์เห็นภาพของผู้ร้ายในตัวคอสเตอร์ "เขาดูแข็งกร้าวและมีความเป็นมืออาชีพ" ผู้กำกับกล่าว "ทุกสิ่งทุกอย่าง -- การลักพาตัว , การฆาตกรรม - เป็นงานธรรมดาสำหรับเขา เขาเหมือนกับผู้ร้ายที่จี้รถไฟใต้ดินใน "Taking of Pelham 1-2-3" ของ โรเบิร์ต ชอว์
สำหรับเฟลเดอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ ฌอน บีน มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อบทนาธาน ที่ไมเคิล ดักกลาส แสดง บีนไม่ใช่นักแสดงหน้าใหม่สำหรับบทตัวร้าย เขาเคยแสดงบทหนักๆมาแล้วในภาพยนตร์ Bond ชุด"GoldenEye" และในงานทริลเลอร์ของ ทอม แคลนซี่ย์ "Patriot Games" แต่สำหรับบทคอสเตอร์ มีสิ่งใหม่ให้เขาแสดง "เขาเป็นคนน่าเกรงขาม เด็ดเดี่ยว และเฉียบขาด" นักแสดงหนุ่มกล่าว "ดุดันแบบทหาร เขาต้องการเพชร และจะทำทุกอย่างให้ได้มันมา"
ตัวละครอื่นๆ ได้แก่ นักสืบ แซนดร้า แคสซิดี้ ซึ่งกำลังสืบคดีฆาตกรรม ที่แรกเริ่มเดิมทีดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับคอสเตอร์และการลักพาตัว ซึ่งเธอเองก็ไม่คาดคิดมาก่อนเช่นกัน แต่ในที่สุดงานของเธอก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ นาธาน / คอสเตอร์ และการลักพาตัว
แคสซิดี้ รับบทโดย เจนนิเฟอร์ เอสโพสิโต้ ตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้เขียนบท เพื่อเชื่อมโยงส่วนประกอบอื่นๆของเนื้อเรื่อง ส่วนหนึ่งคือนาธานทำงานกับเอลิซาเบ็ธเพื่อช่วยชีวิตลูกสาวของเขาที่ถูกลักพาตัว อีกส่วนหนึ่ง แอกกี้ต่อสู้กับความรู้สึกของเธอที่ไม่สามารถช่วยลูกสาวที่ถูกลักพาตัวไปได้ ส่วนที่สามคือการตามรอย ฆาตกรและการสืบสวนคดีของแคสซิดี้ ซึ่งนำเธอไปพบกับนาธานและคอสเตอร์ "ฉันชอบเรื่องราวที่ซ้อนกันอยู่ของภาพยนตร์ " เฟลเดอร์กล่าว "ไม่เพียงแค่หนึ่งหรือสองชั้น แต่เป็นหลายๆชั้นที่หลอกขึ้นมา และทั้งหมดก็มาบรรจบกัน"
จุดศูนย์กลางของเรื่องอยู่ที่บท นาธาน คอนราด ที่ ไมเคิล ดักกลาส แสดง ชีวิตที่เพียบพร้อมทุกอย่างของเขาในย่าน อัปเปอร์ เวสต์ ไซด์ ถูกทำลายด้วยการลักพาตัว ความเจ็บปวดและความสิ้นหวังหลังจากที่รู้ว่าลูกสาวหายตัวไป แสดงภาพให้เห็นผ่านการเคลื่อนกล้อง แสดงให้เห็นความสามารถของดักกลาส เฟลเดอร์อธิบาย "ฉากแสดงความรู้สึกของนาธานเป็นตัวอย่างการทำงานร่วมกันระหว่างนักแสดงและกล้องในการสร้างอารมณ์ ไมเคิลไม่เพียงแต่เป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยม พลังที่เขาปล่อยออกมาในฉากเป็นพลังของความสงบนิ่ง , การการตั้งใจฟัง กล้องหมุนไปรอบๆตัวเขา แสดงความรู้สึกสิ้นหวัง และ ความโกรธ ที่อยู่ภายในออกมาได้อย่างสมบูรณ์"
การเคลื่อนกล้องของเฟลเดอร์เป็นความสามารถของ ตากล้อง อามีร์ โมกรี และ ผู้ออกแบบฉาก เนลสัน โคเตส เฟลเดอร์ทำงานร่วมกับโมกรี และ โคเตส ในการสร้างสิ่งที่ผู้กำกับเรียกว่า "ความรู้สึกตึงเครียด" แสดงความเคารพต่อสไตล์การทำงานภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ 70 เรื่อง จาก ผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซี , อลัน เจ. พาคูล่า , จอห์น ชเลสซิงเกอร์ และ วิลเลี่ยม เฟรดกิ้น
"ภาพยนตร์ค่อยๆทวีความเข้มข้นขึ้น" เฟลเดอร์ตั้งข้อสังเกต "ผมต้องการหนีจากทิศทางแบบนี้ แทนที่จะใช้เพียงสีเทา ขาว ดำ ผมบอกความต้องการของผมแก่อามีร์ และ เนลสันว่า 'ผมต้องการเห็นความรู้สึกบนสีหน้า -ความหยาบละเอียดของกระเบื้องปูพื้นและสีบนผนังโรงพยาบาลที่กะเทาะออกมา ในยามตกกระทบแสงเงา
การใช้แสงและเงาเพื่อแสดงความตึงเครียดในภาพยนตร์ ในระหว่างการต่อสู้กับความเป็นความตายที่เกิดขึ้นภายในหนึ่งวัน "แสงเป็นเหมือนกับนาฬิกาแดด ที่ให้ความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลงจากเช้า ไปเที่ยง จนเย็นค่ำ" เฟลเดอร์กล่าว "ทุกครั้งที่นาธานเข้าไปในห้องของเอลิซาเบธ แสงเงาจะเปลี่ยนมุม รูปร่างและความเข้ม"
การให้แสงของมอกรี และการออกแบบของโคเตส ตัดกันกับสภาพแวดล้อมและอารมณ์ บ้านของครอบครัวคอนราดเต็มไปด้วยแสงสว่างและโทนสีที่ดูอบอุ่น ในขณะที่โรงพยาบาลบริดจ์วิวออกโทนที่เย็นกว่าด้วยสีฟ้าและเขียว
ฉากโรงพยาบาล ถ่ายทำที่โรงพยาบาลโรคจิตโตรอนโต "ผมชอบรูปทรงและสีห้องของเอลิซาเบ็ธในบริดจ์วิว" เฟลเดอร์กล่าว "มันดูว่างเปล่า ปราศจากความวิตกกังวล มีการจัดวางหน้าต่างที่ให้แสงอาทิตย์ลอดผ่านส่องกระทบใบหน้านักแสดง"
สำหรับฉากโกธิคที่อยู่บนเกาะนิวยอร์คซาวด์ (New York Sound island) โคเตสได้ออกแบบฉากที่สร้างขึ้นในโกดังในโตรอนโต ทีมสร้างขนผิวหน้าดินกว่า 4,000 ตัน มาถมเป็นเนิน ปลูกต้นไม้ 38 ต้น ล้อมรอบด้วยหมู่ไม้เตี้ยๆและล้อมด้วยบล็อคซีเมนต์อีกชั้น นอกจากนี้โคเตสยังเพิ่มความชื้นเข้าไป เพื่อให้สามารถเห็นลมหายใจของนักแสดงในฉาก
ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยอันตรายเช่นนี้ นาธาน คอนราด ต้องต่อสู่อย่างสุดกำลังเพื่อแข่งกับเวลา , ความสงจำอันแสนโหดร้ายของหญิงสาว และผู้ที่ลักพาตัวลูกสาวของเขา ไมเคิล ดักกลาส กล่าวว่าการเดินทางของเขาเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ชมจะไม่มีวันลืม "ตอนที่ผมอ่านหนังสือของ แอนดรูว์ เคลแวน ผมคิดว่ามันตื่นเต้นมาก เต็มไปด้วยตัวละครที่น่าสนใจ และชวนติดตามตลอดทั้งเรื่อง" เขาอธิบาย "ผมคิดว่าภาพยนตร์จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังนั่งอยู่บนรถไฟเหาะตีลังกา"--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ