โครงการจัดแข่งเรือนานาชาติและเรือยาวประเพณีประเทศไทย ครั้งที่ 14 วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2544

ข่าวกีฬา Monday September 3, 2001 15:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--ททท.
ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลักการและเหตุผล
การแข่งขันเรือยาวเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยมาแต่อดีต มีหลักฐานว่าในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี มีการแข่งขันเรือยาวในเดือน 11 และถือเป็นพระราชพิธีประจำเดือน และจดหมายเหตุที่บาทหลวง เดอชัวสี ( De Choisy) ผู้ช่วยทูตของพระเจ้าหลุยที่ 14 ซึ่งได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2228 ได้กล่าวถึงการแข่งขันเรือหลวงไว้เช่นกัน การแข่งขันจึงสืบทอดเป็นประเพณีซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทย โดยแสดงถึงวิถีชีวิตความสนุก สนานและความสามัคคีของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นจากทุกภาคของประเทศไทย ได้กำหนดจัดงานประเพณีแข่งเรือในช่วงออกพรรษาของทุกปี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีบนสายน้ำ จึงได้มีการจัดแข่งเรือยาวประเพณีระดับประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2529 ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการจัด กิจกรรมให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวและมีการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เพื่อกระจายรายได้ไปสู่ ท้องถิ่น และเพื่อเป็นการยกระดับการแข่งเรือไปสู่ระดับนานาชาติในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ททท. จึงได้มีการจัดงานแข่งเรือนานาชาติขึ้นในปี 2531 ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใต้สะพานพระราม 9 กรุงเทพมหานคร โดยได้เชิญทีมเรือจากทวีปต่างๆ ได้แก่ ทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย มาร่วมการ แข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันมีทีมเรือและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้ความสนใจมาร่วมางานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมด้านการจัดการแข่งขันมีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีแหล่งท่องเที่ยว ที่สวยงามทำให้ทีมเรือและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเกิดความประทับใจในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ในปี 2544 ททท. ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงานแข่งเรือนานาชาติและเรือยาวประเพณีประเทศไทย ครั้งที่ 14 ขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2544 ณ แม่น้ำเจ้าพระยา ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ
2. เพื่อสร้างกิจกรรมให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เพื่อทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยและกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น
3. เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง
4. เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศ มากขึ้น และมีการเดินทางท่องเที่ยวไปยังภูมิภาคอื่น
5. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาวต่างประเทศรู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น กำหนดการ
ระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2544 ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมในงาน
1. แข่งเรือนานาชาติประเภทชาย 22 ฝีพาย
2. แข่งเรือชายไทยประเภท 22 ฝีพาย
3. แข่งเรือยาวประเพณี ประเภท 55 ฝีพาย ขั้นตอนการดำเนินการ
1. จัดทำโครงการจัดงาน
2. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานภายในและหน่วยงานภายนอก
3. จัดประชุมคณะกรรมการจัดงานภายใน ททท.
4. จัดทำแผนเตรียมการจัดงาน
5. สำรวจและวางผังพื้นที่การจัดงาน
6. ออกหนังสือขอการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ
7. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การจัดงาน
8. จัดประชุมคณะกรรมการหน่วยงานภายนอกเพื่อขอการสนับสนุน
9. ดำเนินการจัดงาน
10. ประเมินผลการจัดงาน หน่วยงานรับผิดชอบ
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4. การกีฬาแห่งประเทศไทย
5. สมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย ฯ งบประมาณดำเนินการ
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. สนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน เป้าหมาย
1. มีทีมเรือนานาชาติ 15 ทีม จาก 10 ประเทศ (จำนวน 500 คน) เข้าร่วมการแข่งขัน
2. มีทีมเรือยาวประเพณีประเทศไทย 16 ทีม (จำนวน 720 คน) เข้าร่วมการแข่งขัน
3. นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประมาณ 30,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมในงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักท่องเที่ยวชาวไทยเกิดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น และมีการเดินทางกระจายไปสู่ภูมิภาคอื่น
2. มีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมที่เป็นมรดกสำคัญของชาติ
3. มีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งส่งผลดีต่อการส่งเสริม กิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว
4. มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีคุณภาพเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศและ พำนักอยู่นานวันขึ้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กองกิจกรรม งานข้อมูลและส่งเสริมกิจกรรม โทร. 0-2694-1222 ต่อ 1972--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ