ปีสหประชาชาติแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม United Nations Year of Dialogue among Civilizations

ข่าวทั่วไป Monday June 18, 2001 13:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--กรมสารนิเทศ องค์การสหประชาชาติ
"ข้าพเจ้าเห็นว่าการพูดจาสนทนาเป็นโอกาสสำหรับประชาชนต่าง อารยธรรมและขนบธรรมเนียมได้รู้จักซึ่งกันและกันดียิ่งขึ้น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในโลกที่ตรงข้าม หรือบนเส้นถนนเดียวกัน"
โคฟี อันนาน
เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
บทนำ
อะไรคือความหลากหลาย อะไรคือสิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อเปิดเส้นทางการสื่อสารและให้นิยามความหมายของความหลากหลาย ทำอย่างไรเราจึงจะเข้าใจในเรื่องของความหลากหลาย และอะไรคือความคิดรวมของความหลากหลาย เหล่านี้เป็นคำถามที่เก็บมาจากที่ประชุมสมัชชาเมื่อปี 1998 ในคราวที่ได้มีการประกาศให้ปี 2001 เป็นปีสหประชาชาติแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม
การสนทนาระหว่างอารยธรรมมีความหมายว่าอย่างไร คนหนึ่งอาจโต้แย้งว่า ในโลกมีกลุ่มอารยธรรมสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งซึ่งมองความหลากหลายเป็นเสมือนภัยคุกคาม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าเป็นโอกาสและเป็นองค์ประกอบที่รวมกันเพื่อความเจริญเติบโต ปีแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรมนี้ได้ถูกประกาศขึ้นเพื่อที่จะกำหนดนิยามใหม่ของ ความหลากหลาย และปรับปรุงการสนทนาระหว่างทั้งสองกลุ่มนี้ ดังนั้นเป้าหมายของ ปีแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม ก็เพื่อให้การสนทนามีทั้งลักษณะปกป้องมิให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับมีลักษณะทางธรรมชาติของตัวเอง
ดังนั้น รัฐบาล ทุกหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชน จึงได้รับเชิญจากสมัชชาสหประชาชาติเข้ามาวางแผนและดำเนินโครงการทางด้านวัฒนธรรม การศึกษา และสังคมเพื่อส่งเสริมแนวความคิดของการสนทนาระหว่างอารยธรรม
ผู้แทนส่วนตัวของจากเลขาธิการสำหรับปีสหประชาชาติแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม
นาย จิอานโดเมนิโก ปิกโก กล่าวว่า " ประวัติศาสตร์ไม่เคยคร่าชีวิตใคร ศาสนาไม่เคยข่มขืนสตรี สายเลือดอันบริสุทธ์ไม่เคยทำลายอาคาร และสถาบันไม่เคยล่มสลาย นอกเสียจากว่าคนเท่านั้นที่จะทำสิ่งเหล่านี้" นายปิกโก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนส่วนตัวของเลขาธิการสำหรับปีสหประชาชาติแห่งการสนทนาระหว่างอารยธรรม
เมื่อปี1999 ทั้งนี้เพื่อให้การหารือในเรื่องของความหลากหลายโดยการจัดการประชุม การสัมมนา และกระจายข่าวสารข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ ไปในทางที่ราบรื่น นายปิกโกได้ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติ มาเป็นเวลาถึงยี่สิบปี เป็นที่ยอมรับในเรื่องของการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ที่เพียรพยายามจะต่อรองให้โซเวียตถอนตัวจากอัฟกานิสถาน และนำอิหร่านและอิรักไปสู่ภาวะยุติสงคราม นายปิกโก เชื่อว่า ประชาชนควรรับผิดชอบในเรื่องที่ว่าเขาเป็นใคร เขาทำอะไร เขาให้คุณค่าอะไร และเขาเชื่อในเรื่องอะไร
ปิดกั้นการแบ่งแยก
การสนทนาไม่มีพรมแดนทางภูมิศาสตร์ ทางวัฒนธรรม หรือทางสังคม แม้แต่สถานที่ที่เกิดปัญหาขัดแย้งที่ดูเหมือนว่าจะมีกำแพงกั้นระหว่างประชาชน แต่บ่อยครั้งที่จิตวิญญานและวิสัยทัศน์ของมนุษย์ยังคงคุกกรุ่นด้วยเปลวไฟแห่งการสนทนา การทำให้เปลวไฟคุกกรุ่นเผาไหม้นั้น เป็นเป้าหมายหนึ่งของปีสหประชาชาติแห่งการสนทนา
ดังนั้นสหประชาชาติ จึงกำลังแสวงหาตัวอย่างแห่งความกล้าหาญของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงวีรบุรุษ ที่ไม่ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของการสนทนา แต่เป็นผู้ที่มีประสบความทุกข์ยาก และค้นหาวิธีแก้ไขโดยมองข้ามปัญหาทางด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ หรือเชื้อชาติ และขณะนี้สหประชาชาติ กำลังผลิตโฆษณาความยาว 60 วินาทีขึ้น 12 ชุด แต่ละชุดได้แสดงตัวอย่างว่า บุคคลนั้นสามารถที่จะปิดกั้นปัญหาความแตกต่างและนำประชาชนเข้ามารวมเป็นหนึ่งได้อย่างไร ซึ่ง ในหมู่ของวีรบุรุษผู้ไม่ได้รับการกล่าวขานนั้น ก็มี มาร์กาเรต กิบนี่ ( Margaret Gibney)เป็นนักเคลื่อนไหวในเรื่องสันติภาพ โดยเริ่มต้นจากเด็กสาววัย 14 ปีจากประเทศไอร์แลนด์ทางตอนเหนือ ที่ถูกทำลายล้างด้วยสงคราม เธอได้ช่วยก่อตั้งโครงการที่ชื่อ วอล ออฟ พีซ โปรเจค ( wall of Peace Project) ที่เบลฟาสต์ และ สุลตาน สอมจี ( Sultan Somjee) นักมานุษยวิทยาชาวเคนยา ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สันติภาพแห่งอาฟริกา ในกรุงไนโรบี เพื่อส่งเสริมชุมชนพื้นเมืองได้มาร่วมประเพณีสันติภาพของตน โฆษณาเหล่านี้จะถูกนำออกอากาศสถานีโทรทัศน์และถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ
การสนทนาเป็นเสมือนเมล็ดพืชแห่งภาพพจน์ใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กลุ่มบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือกโดยเลขาธิการสหประชาชาติ ให้ทำงานร่วมกับผู้แทนส่วนตัวของท่าน คือ นายปิกโก สำหรับการจัดเตรียมทำหนังสือเรื่องการสนทนาโดยเน้นในเรื่องแนวความคิดในความหลากหลาย หนังสือเล่มนี้จะถูกนำเสนอต่อท่านเลขาธิการสหประชาชาติระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยประชุมปี 2001 ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานสำหรับโฉมหน้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้เข้าร่วมโครงการอยู่ในขณะนี้
ดร. เอ คามาล อาบูลมัค (อียิปต์)
Dr. A. Kamal Aboulmagd
ศาสตราจารย์ ลูร์เดส อารีสป์ (เม็กซิโก)
Professor Kourdes Arizpe
ดร. ฮานาน อาชราวี (ปาเลสไตน์)
Dr. Hanan Ashrawi ( Palestine)
ศาสตราจารย์ รูธ คาร์โดโซ (บราซิล)
Professor Ruth Cardoso
ท่าน ชาค เดอลอร์ (ฝรั่งเศส)
The Honourable Jacques Delors
ดร. เลสลี่ เกลบ์ (สหรัฐอเมริกา)
Dr. Leslie Gelb
นาดีน กอร์ดิเมอร์ (อัฟริกาใต้)
Nadine Gordimer
เจ้าชาย เอล ฮัสซัน บิน ทาลาล (จอร์แดน)
HRH Prince El Hassan bin Talal
ศาสตราจารย์ เซอร์จี คาพิทซา (รัสเซีย)
Professor Sergey Kapitza
ดร. ฮายาโอะ คาวาอิ (ญี่ปุ่น)
Dr. Graca Machel
เอกอัครราชฑูต ทอมมี่ โคห์ (สิงคโปร์)
Ambassador Tommy Koh
ศาสตราจารย์ ดร. ฮานส์ คูง (สวิตเซอร์แลนด์)
Professor Dr. Hans Kung
ดร. กราซา มาเชล (โมซัมบิก)
Dr. Graca Machel
ศาสตราจารย์ อามารตยา เซน (อินเดีย)
Professor Amartya Sen
ดร. ซ่ง เฉียน (จีน)
Dr. Song Jian
ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ริชาร์ด สปริง (ไอร์แลนด์)
The Honourable Richard Spring
ศาสตราจารย์ ตู้ เหว่ยหมิง (จีน)
Proffessor Tu Weiming
ท่าน ริชาร์ด วอน เวียซซาเคอร์ (เยอรมันนี)
The Honourable Richard von Weizsacker
ดร. ชาวาด ซาริฟ (อิหร่าน)
Dr. Javad Zarif
ผู้รับมอบอำนาจบริหารจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเพื่อจัดการดูแลโครงการปีสหประชาชาติแห่งการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม จีอาน โดเมนิโก ปิกโก (อิตาลี)
Giandomenico Picco ( Italy) , Personel Representative of Secretary-General Kofi Annan โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการ ไดอะลอก อะมอง ซิวิไลเซชั่น ( Dialogue Among Civilization) ซึ่งอยู่ที่ คณะการฑูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย ซีตัน ฮอลล์ รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา
การดำเนินการ
นับแต่ต้นปี2000 ได้มีหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา ตลอดจนองค์กรเอกชนจัดสัมมนา อภิปราย และงานวิจัยเรื่องการสนทนาระหว่างอารยธรรมทำให้เกิดการชุมนุมกันอย่างกว้างของกลุ่มสังคมพลเมืองต่างๆ
ในเดือนสิงหาคม ปี2000 หัวข้อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมนั้น ยังเป็นหัวเรื่องในการประชุมโต๊ะกลม ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก นายมูห์ฮัมหมัด คาตามี ( Mohammad Khatami) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน โดยมีผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโกเป็นประธานการประชุม นอกจากนี้เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้นำจาก12ประเทศ (อัฟกานิสถาน อัลจีเรีย จอร์เจีย อินโดนิเซีย สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แลทเวีย มาลี โมซัมบิก นามีเบีย ไนจีเรีย การ์ตา และซูดาน ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากสหรัฐอเมริกา อาเซอร์ไบจัน คอสตาริกา อียิปต์ อินเดีย สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และ อิรัก ก็ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเช่นกัน โดยทุกฝ่ายมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าการสนทนาระหว่างวัฒนธรรมจะช่วยให้ทุกประเทศหันเหจากความเป็นศัตรูและการเผชิญหน้ามาสู่การสนทนาและความเข้าใจ
ความหลากหลายบนอินเตอร์เน็ต
ท่านสามารถชมเว็บไซต์ http://www.un.org/Dialogue ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของการสนทนาระหว่างอารยธรรมซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการสนทนาขึ้นทั่วโลกผ่านทางเว็ปเพจ อีกทั้งสามารถจะแสดงภาพหรือข้อความโต้ตอบกับผู้ชมได้ และยังสามารถเชื่อมต่อกับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์นี้คนอื่นๆได้อีก เว็ปไซต์ดังกล่าวจะจัดแสดงข้อมูลและข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวกับปีแห่งการสนทนา ตลอดจนจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างความกล้าหาญของมนุษย์ซึ่งคือ จะกล่าวถึงวีรบุรุษที่ไม่ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของการสนทนาผู้ซึ่งได้ข้ามผ่านอุปสรรคของการแบ่งแยกต่างๆ เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบให้ดึงดูดความสนใจคนทุกวัยจากทุกวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้กล่าวเน้นถึงกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ร่วมกับนายปิกโก จัดทำหนังสือที่มุ่งเน้นแนวความคิดเกี่ยวกับความหลากหลาย เว็บไซต์ดังกล่าวได้จัดทำขึ้นโดยกรมสารนิเทศ องค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้ทำขึ้นทั้งหมดเป็น 6 ภาษาซึ่งเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติ
นอกจากนี้ ผู้เยี่ยมชมเว็ปไซต์นี้ ยังสามารถเข้าร่วมการสนทนาตามสายแบบตัวต่อตัวได้ ทั้งวิธีพิมพ์คำและส่งรูปภาพ อีกทั้งยังสามารถเล่นเกมต่างๆได้ 3 เกม ซึ่งมีภาพประกอบที่ออกแบบโดยเด็กๆและผู้ใหญ่จากทั่วโลก และยังสามารถแจกจ่ายภาพประกอบเหล่านั้นแก่เพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงานได้ด้วย เว็บไซต์ตกแต่งด้วยภาพกราฟฟิกที่เข้าใจได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาไม่ว่าผู้ชมนั้นจะพูดภาษาใด
เว็บไซต์นี้ยังเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารโดยตรงที่ใช้ได้ถาวร และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วยเว็บไซต์นี้ผู้คนสามารถติดต่อถึงกันและเริ่ม "บทสนทนาระหว่างกัน"
ปีแห่งการสนทนานำพาให้เกิดอะไร: สิ่งต่างๆที่น่าจะเกิดขึ้น จังหวะโอกาส และความเปลี่ยนแปลงที่ตามมา
- เปิดประตูสู่กระบวนการหลักๆ ที่จะนำมาซึ่งความปรองดองในภูมิภาคต่างๆของโลก
- มองความหลากหลายเป็นก้าวไปสู่สันติภาพ โดยการสนทนาเป็นทางที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างชาติต่างๆให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และขจัดสิ่งคุกคามต่อสันติภาพ
- ส่งเสริมให้ความร่วมมือนานาชาติให้เหนียวแน่นในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม และส่งเสริมการเคารพแบบสากลต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพพื้นฐาน
- ส่งเสริมอย่างจริงจังในการปลูกฝังเรื่องสันติภาพ เคารพซึ่งกันและกันโดยไม่คำนึงถึงความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา และไม่อยู่ในสภาพความหวาดกลัวหรือบีบคั้นในความแตกต่างภายในหรือระหว่างสังคม และดูแลเสมือนหนึ่งทรัพย์สินอันมีค่าของมนุษยชาติ
- ส่งเสริมให้มีการเปิดรับด้านบวกของกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะยังประโยชน์ให้ผู้คนมีโอกาสได้เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน และวัฒนธรรมต่างๆได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพิ่มขึ้น โลกาภิวัฒน์นั้น มิได้เป็นเพียงกระบวนการทางเศรษฐกิจ การเงิน หรือเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งท้าทายของมนุษย์ที่เชื้อเชิญเรา ให้เข้ามาสู่การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในชาติพันธุ์มนุษย์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- ให้มีความเคารพในความอุดมสมบูรณ์ของทุกๆวัฒนธรรม ส่งเสริมให้มีการแสวงหาแนวร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของมนุษย์ และสิ่งท้าทายร่วมต่อคุณธรรมและความสำเร็จของมนุษย์
- เปลี่ยนแปลงจากทฤษฎีให้มาเป็นปฏิบัติ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณ ฮาซาน เฟอร์ดุส
กรมสารนิเทศ องค์การสหประชาชาติ
โทร. 1 212 963 6555 โทรสาร 1 212 963 2218
อีเมล์ ferdous@un.org
เอกสารนี้จัดพิมพ์ โดยสหประชาชาติ
กรมสารนิเทศน์
DPI/2178- March 2001-20M
แปลโดย สำนักงานแถลงข่าวสหประชาชาติ
กรุงเทพฯ--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ