วัคซีนโรคเอดส์รุ่นแรกสำหรับทวีปแอฟริกาพร้อมเริ่มทดสอบกับมนุษย์แล้ว

ข่าวทั่วไป Tuesday July 18, 2000 15:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
เดอร์เบิร์น แอฟริกา -วัคซีนป้องกันโรคเอดส์ชนิดแรกที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในทวีปแอฟริกาจะเริ่มนำมาทดลองใช้กับมนุษย์แล้วในหน้าร้อนนี้ องค์การริเริ่มวัคซีนโรคเอดส์นานาชาติ(International AIDS Vaccine Initiative (IAVI)) ได้ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ว่า สำนักงานควบคุมเวชกรรม (Medicine Control Agency) แห่งสหราชอาณาจักร ได้รับรองการทดสอบขั้นที่ 1 ของ “วัคซีนดีเอ็นเอ” จากเชื้อเอชไอวีชนิดย่อย “เอ” ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุดในประเทศเคนยา และประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกา
การรับอาสาสมัครทั้งหมด 18 คน จะเริ่มขึ้นที่เมืองอ็อกซ์ฟอร์ดในเดือนสิงหาคม ส่วนการทดสอบอีกชุดหนึ่งในประเทศไนโรบีกำลังรอการอนุมัติจากหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะอนุมัติและสามารถ เริ่มการทดลองได้ภายใน 3 ถึง 6 เดือนต่อมา
ข่าวจากหน่วยงานกำกับดูแลของอังกฤษพร้อมกันกับการออกข่าวเรื่อง “Scientific Blueprint 2000: ความพยายามในการพัฒนาวัคซีนโรคเอดส์” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของวาระการค้นคว้าระดับโลกจาก IAVI Blueprint อันใหม่นี้สรุปว่า การสร้างวัคซีนโรคเอดส์ที่ได้ผลในระยะเวลาอันสั้นนั้น จำเป็นต้องมีความหลากหลายของชนิดของวัคซีนในโครงการ มีตารางเวลาการทดลองที่กระชับ ต้องเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศกำลังพัฒนา และใช้ทุนประมาณ 900 - 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดร. เวนน์ คอฟฟ์ รองประธานฝ่ายค้นคว้าและพัฒนาขององค์การ IAVI กล่าวว่า “เราเริ่มที่จะมองเห็นจุดหมายปลายทางแล้วเรามีความมั่นใจมากว่าวัคซีนป้องกันโรคเอดส์นี้จะสำเร็จพร้อมนำมาใช้ได้ภายใน 5 - 10 ปี ช่วงเป็นเวลาที่จะต้องมุงมั่นดำเนินการทดลองค้นคว้าต่อไป”
วัคซีนที่ได้รับการรับรองเพื่อนำมาทดลองที่เมืองอ็อกซ์ฟอร์ดเป็นผลผลิตจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยของศาสตราจารย์ แอนดรูว์ แมคไมเคิลแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ในสหราชอาณาจักร และศาสตราจารย์ เจเจ บวาโย แห่งมหาวิทยาลัยไนโรบี แห่งประเทศเคนยา ความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งแรกในการทดลองที่มีมา 4 ครั้งของการพัฒนาวัคซีนโดยมีทุนสนับสนุนจาก IAVI ซึ่งเป็นองค์กรทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่อุทิศการทำงานเพื่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์สำหรับทั่วโลก
นายแพทย์ เซธ เบิร์คเลย์ ประธานองค์การ IAVI กล่าวว่า “แม้นี่จะเป็นเพียงก้าวเล็กๆแต่ก็เป็นก้าวที่สำคัญสู่เส้นทางของวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ และแม้ว่าจะมีวัคซีนถึง 25 ชนิดที่ได้ทำการทดลองในมนุษย์แล้ว แต่วัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนที่ออกแบบมาเพื่อทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะ และยังเป็นชนิดแรกที่เกิดจากรูปแบบของความร่วมมือระหว่างองค์กรสาธารณะและองค์กรเอกชน ทุกวันมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 15,000 คน
ดังนั้นความต้องการรีบด่วนนี้ไม่ได้เป็นการกล่าวเกินจริงเลย วัคซีนรุ่นไนโรบี/อ็อกซ์ฟอร์ดนี้ใช้เวลาจากห้องทดลองสู่การทดลองทางคลีนิกด้วยระยะเวลาเพียง 18 เดือนเท่านั้น ซึ่งตามสถิติถือว่าเร็วมาก”
ศาสตราจารย์ แมคไมเคิล ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านภูมิคุ้มกันจากเซลล์ (Cellular Immunity) ระดับแนวหน้าของโลกให้ความเห็นว่า“เราตื่นเต้นมากที่จะเริ่มการทดลองวิธีการนี้ จากการค้นคว้าเราพบว่าวัคซีนชนิดนี้มีโอกาสที่จะสามารถกระตุ้นให้เซลล์สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวีการค้นคว้านั้นยังแสดงให้เราเห็นว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นโดยวัคซีนนี้ สามารถทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสการใช้วิธีนี้กับเชื้อเอชไอวีอาจจะได้ผลดีมากกว่าการใช้วัคซีนที่กระตุ้นการทำงานของแอนติบอดี้”
พื้นฐานเหตุผลของวิธีนี้เกิดจากการศึกษาผู้ค้าประเวณีในเมืองไนโรบีอย่างเข้มงวด จากการศึกษานั้นพบว่าผู้หญิงจากกลุ่มศึกษานี้บางคนสามารถต้านทานการติดเชื้อได้เป็นเวลาหลายปี ศาสตราจารย์ บวาโย ประธานแผนกการแพทย์จุลชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยไนโรบีแสดงความหวังว่าวัคซีนนี้จะสามารถกระตุ้นเซลล์ให้มีภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวี เหมือนกับที่เขาพบในกลุ่มศึกษานั้น
บวาโย ยังกล่าวอีกว่า “กระทั่งปัจจุบัน วัคซีนป้องกันโรคเอดส์ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ใช้ต้านเชื้อชนิด “บี” ซึ่งพบมากทางตอนเหนือนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ในทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะขึ้น เราทราบดีว่าการทดลองวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีความท้าทายที่ไม่เหมือนการทดลองอื่น การทดลองวัคซีนทั่วไปจะต้องผ่านกระบวนการเพื่อความปลอดภัยและพิธีการทางศีลธรรมสำหรับเชื้อเอชไอวีนั้นเรายืนยันที่จะใช้มาตรฐานที่เข้มงวดมากกว่า วัคซีนที่เราเสนอนั้นเป็นชนิดที่ใช้เพื่อการป้องกัน ไม่ใช่เพื่อการรักษาซึ่งเป็นแรงบันดาลจากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ของเราในเมืองไนโรบี”
Scientific Blueprint 2000
องค์การริเริ่มวัคซีนโรคเอดส์นานาชาติ (International AIDS Vaccine Initiative (IAVI)) ได้สร้างแผนกลยุทธ์ระดับโลกในรูปของ Scientific Blueprint หรือต้นแบบทางวิทยาศาสตร์ ที่ผลักดันให้มีการคิดค้นพัฒนาวัคซีนใหม่ๆถึง 25 ชนิด ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 6 ถึง 8 ชนิดที่จะประสบความสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2450
ต้นแบบอันใหม่นี้นำวิธีการทำงานแบบควบคู่กันไปในแต่ละขั้นตอนมาใช้ในการคิดค้นวัคซีนและคาดว่าจะสามารถลดระยะเวลาของขบวนการระหว่างช่วงคิดค้นไปจนถึงการขอใบอนุญาตลงได้ถึงร้อยละ 50
ต้นแบบนี้ให้ความสำคัญกับการผลิตวัคซีนที่สามารถนำมาใช้ได้กับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากพบว่ามีวัคซีนที่อยู่ในขั้นทดลองเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถนำไปใช้กับประเทศกำลังพัฒนาได้ และถึงแม้ว่ายังไม่มีใครเข้าใจลึกซึ้งถึงความหลากหลายของเชื้อเอชไอวีในแต่ละพื้นที่ แต่ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ของ IAVI คือความพยายามที่จะทดสอบวัคซีนที่เข้ากับชนิดของเชื้อโรคในบริเวณนั้นได้มากที่สุด
Scientific Blueprint 2000 ฉบับนี้ยังรายงานด้วยว่า การค้นคว้าพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างเด็ดขาดได้รับเงินทุนสนับสนุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อและอัตราการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก จากจำนวนเงินทั้งหมด 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐมีเพียง 350 ล้านดอลลาร์เท่านั้นที่ถูกใช้ไปในการคิดค้นพัฒนาวัคซีน และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นการค้นคว้าวัคซีนที่เหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนา
Scientific Blueprint 2000
เสนอจำนวนเงินทุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาวัคซีนไว้ที่ประมาณ 900 ล้าน ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ IAVI สามารถรวบรวมเงินทุนได้แล้วประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์การเมื่อปี 2539 องค์กรและหน่วยงานที่มอบทุนสนับสนุนมีอาทิ รัฐบาลของสหราชอาณาจักรรัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศแคนนาดา World Bank
รวมทั้งมูลนิธิบิลและเมลินดาเกทส์ มูลนิธิร็อคกี้แฟลเลอร์ มูลนิธิสโลน และมูลนิธิสตาร์ นอกจากการจัดหาทุนโดย IAVI แล้วยังมีองค์กรอื่นๆให้ความช่วยเหลืออีกด้วย อาทิ องค์กรค้นคว้าทดลองระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรมทางเภสัชภัณฑ์ และ ชีววิทยา
IAVI เป็นหน่วยงานที่ร่วมมือกับ UNAIDS ของสหประชาชาติ ภาระและวัตถุประสงค์หลักของ IAVI คือการเร่งพัฒนาขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ในการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ IAVI ให้การสนับสนุนการคิดค้นและให้การศึกษา รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวัคซีน เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันโรคเอดส์ในทุกพื้นที่ของโลก
Organizational Fact Sheet
องค์กรผู้ริเริ่มสร้างวัคซีนป้องกันโรคเอดส์นานาชาติ (AIVI) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรในการพัฒนาและแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ด้วยความหวังที่จะหยุดโรคเอดส์ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกนั้นได้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก การทำงานขององค์กรผู้ริเริ่มสร้างวัคซีนป้องกันโรคเอดส์นานาชาติ (IAVI) มุ่งไปในประเด็น 3 เรื่องด้วยกัน คือ เร่งให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ระดมความสนับสนุนต่างๆ ไปสู่การให้การสนับสนุนและการศึกษา และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์
เหตุใดจึงจำเป็นต้องมีการริเริ่มทั่วโลก
ตั้งแต่โรคเอดส์ที่เกิดจากเชื้อ HIV ได้เกิดขึ้นและแพร่ระบาดในโลก โรคระบาดที่ยิ่งใหญ่นี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่โลกอย่างยิ่งแม้ว่าจะมีความพยายามที่จะกระตุ้นให้มีการสร้างวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามยังคงมีอุปสรรคทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้นการวิจัยยังต้องการจะได้รับการสร้างวัคซีนที่เป็นของประเทศอุตสาหกรรม แม้ว่า มากกว่า 95% ของผู้ที่ติดเชื้อใหม่จำนวน 15,000 คนในแต่ละวันเกิดขึ้นในประเทศที่ด้วยพัฒนา ซึ่งเป็นที่ที่การรักษาพยาบาลสามารถเข้าถึงได้เพียงเล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเห็นด้วยว่าการพัฒนาวัคซีนเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดจะสามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้
แต่จนถึงบัดนี้การวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ยังคงได้รับ งบประมาณเพียง 2% จากงบประมาณทั้งหมด 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐซึ่งใช้ในการป้องกัน การวิจัยค้นคว้าและการรักษาทั่วโลกในแต่ละปี IAVI ได้ทำงานโดยปราศจากพรมแดนและขอบเขตใดๆ เพื่อให้บรรลุจุมุ่งหมายที่ท้าทายโดยเน้นที่ความรวดเร็ว เนื่องจากปราศจากการกีดขวางโดยระบบราชการ
ดังนั้นโปรแกรมทางวิทยาศาสตร์ของการปฏิบัติการทดสอบกับผู้ที่สมัครใจรับการฉีดวัคซีน จึงรวดเร็วกว่าที่อื่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โปรแกรมในการจัดการของ AIVI ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำงานกับอุตสาหกรรมเพื่อแยกแยะและพัฒนาผู้สมัครรับวัคซีน การทำริเริ่มเกิดขึ้น ดังนั้นจึงมีความพยายามในการวิจัยค้นคว้าพื้นฐานที่ประกอบด้วยเงินทุนจากรัฐบาล
การมุ่งสู่ความเป็นสากลความพยายามทางด้านวิทยาศาสตร์จะมุ่งเน้นไปที่ความมีประสิทธิภาพในการเอาชนะเชื้อไวรัสในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาได้สมัครเป็นหุ้นส่วนอย่างเต็มที่
การเข้าถึง ได้เจรจาข้อตกลงกับหุ้นส่วนอุตสาหกรรมเพื่อช่วยยืนยันว่าวัคซีนจะสามารถหาซื้อได้ ในประเทศที่กำลังพัฒนาในราคาที่สมเหตุสมผล
การพัฒนานโยบาย ได้ร่วมมือกับธนาคารโลก ผู้วางนโยบายและผู้นำทางอุตสาหกรรมในการสร้างสรรค์และการริเริ่มมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์
การเป็นผู้นำและการให้ความร่วมมือ ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลทั่วโลกเพื่อสร้างสรรค์โปรแกรมวัคซีนโรคเอดส์ และยังทำงานเพื่อให้มีผู้ที่มีส่วนร่วมที่จำเป็นพยายามที่จะได้รับความร่วมมือทั่วโลก ทั้งในด้านนักวิทยาศาสตร์ ผู้นำทางอุตสาหกรรม นักวางนโยบาย และกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ผลสำเร็จ ตั้งแต่ได้ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1996 ได้เป็นผู้นำและริเริ่มสิ่งใหม่ในเรื่องวัคซีนเอดส์ดังนี้
* สร้างสรรค์และริเริ่มเผยแพร่แผนการในด้านวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ ซึ่งเป็นแผนกลยุทธ์สู่ความเป็นสากลเพื่อแนะแนวทางให้เกิดความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
* ลงทุนเกือบ 20 ล้านเหรียญสหรัฐในนวัตกรรม 4 ชิ้นแรก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัคซีนนานาชาติโดยนำนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศที่พัฒนาแล้ว กระทำการทดสอบวัคซีนผู้สมัครรับวัคซีน
* เจรจาข้อตกลงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้แน่ใจได้ว่าผลิผลจากการวิจัยครั้งนี้จะสามารถหาได้ในประเทศที่กำลังพัฒนา
* การอุทิศ รายงานของผลการบันทึกเหตุการณ์การวิจัยวัคซีนโรคเอดส์ในระยะแรก ให้แก่ผู้อ่านมากกว่า 10,000 คนใน 115ประเทศ
* ก่อตั้งมูลนิธิโปรแกรมการได้รับวัคซีนเอดส์แห่งชาติในแอฟริกาใต้ อินเดีย และจีน
* นำเรื่องวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ให้เป็นหัวข้อนโยบายทั่วโลก และได้รับความสำคัญเพิ่มขึ้นในกองทุนของรัฐบาลที่ก่อตั้งเพื่อวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์
* ช่วยในการก่อตั้งหน่วยงานของธนาคารโลกเพื่อศึกษาวิธีการทำงานในด้านการเงิน ในการพัฒนาสปอร์การซื้อวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ให้เกิดขึ้นได้ในประเทศที่กำลังพัฒนา
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณเพ็ญศรี ทรรศนะวิเทศ, UNAIDS Media Advisor (Asia-Pacific)
บริษัท แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
ชั้น 10 อาคารต้นสนทาวเวอร์ 900 ถนนเพลินจิตแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร: 257-0300 โทรสาร: 257-0312 E-mail:
pensri@shandwick.th.com-- จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ