World cancer Month : WE CAN I CAN: Early Detection Saves Lives

ข่าวทั่วไป Thursday February 23, 2017 17:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.พ.--แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น มะเร็ง..รู้เร็ว..รู้ทัน..รู้ไว..ป้องกันและรักษาได้ ??? มะเร็งโรคยอดฮิตที่ครองแชมป์การเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก โดยเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น อาหารการกิน การใช้ชีวิตและหน้าที่การงานที่มีความเสี่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ถึงแม้จะเป็นโรคที่น่ากลัวแต่ในทางตรงกันข้ามก็สามารถรักษาให้หายขาดได้เช่นกัน เพราะในปัจจุบันการแพทย์ก้าวหน้าไปพร้อมกับเวลาที่หมุนไปเรื่อยๆการตรวจวินิจฉัยและค้นพบในระยะเริ่มแรก ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ทันท่วงที ศ.พิเศษนายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในปัจจุบันสถิติของประชากรป่วยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการของโรคมะเร็งในระยะท้ายๆ แล้ว เนื่องจากระยะเริ่มต้นนั้นไม่ปรากฏอาการให้เราได้เห็น เพราะการเกิดมะเร็งไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของยีนเพียงยีนเดียว แต่เกิดจากความผิดปกติของยีนมากมายที่สะสมเป็นระยะเวลานานจนเกิดการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด และด้วยวิวัฒนาการด้านการรักษาโรคมะเร็ง ผสานกับความก้าวหน้าของเครื่องมือคัดกรองโรคมะเร็งต่างๆ ในปัจจุบันทำให้สามารถตรวจพบการก่อตัวที่ผิดปกติของเซลล์เร็วขึ้นก่อนเซลล์จะผิดรูปกลายเป็นเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มแรก ส่งผลให้โอกาสในการรักษามีมากขึ้นตามไปด้วย แต่ขณะเดียวกันหากผู้ป่วยสังเกตุอาการว่าตัวเองนั้นมีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย เช่น มีตกขาวมากเกิน มีก้อนหรือตุ่มเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนนั้นโตเร็วผิดปกติ มีแผลเรื้อรัง มีการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม เสียงแหบ ไอเรื้อรัง กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน เช่นโตผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์จะทำให้สามารถหาวิธีป้องกันและรับมือกับภัยมะเร็งได้อย่างถูกต้อง แต่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งควบคู่กับการตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินท์ ผู้อำนวยการศูนย์เต้านม วัฒโนสถและศัลยกรรมมะเร็งเต้านม กล่าวถึงความสำคัญในการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมว่า ในเบื้องต้นสามารถทำการตรวจค้นหาด้วยตนเองได้ และเมื่อพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็กในระยะเริ่มแรกจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมีโอกาสหายได้สูงมากและกลับเป็นซ้ำในภายหลังก็น้อย ตลอดจนสามารถเก็บเต้านมข้างที่เป็นมะเร็งไว้ได้โดยไม่ต้องตัดเต้านมทิ้ง เพียงแค่คว้านเอาก้อนมะเร็งออกให้หมดและใช้รังสีรักษาในส่วนเต้านมที่เหลืออยู่ ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยมาก และบางกรณีหากค้นในพบระยะที่ก้อนมะเร็งยังเล็กอาจไม่ต้องใช้วิธีด้วยรังสีรักษาก็ได้หรืออาจไม่มีความจำเป็นจะต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก ไม่เสี่ยงต่ออาการแขนบวมหรือแขนติดหลังผ่าตัด อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือคีโม อีกด้วย รศ.นพ.ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง รพ.วัฒโนสถ และแพทย์รังสีรักษา กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านรังสีรักษาโรคมะเร็งว่า ในอดีตการฉายรังสีมักเป็นการฉายรังสีแบบ 2 มิติ และอาศัยลักษณะทางกายวิภาคทางสรีระภายนอกและโครงสร้างทางกระดูกของร่างกายเป็นตัวกำหนดขอบเขตการฉายรังสี แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีในการสร้างภาพเป็นรูป 3 มิติ เช่นการใช้เครื่องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้ทราบตำแหน่ง รูปร่าง และขอบเขตของก้อนมะเร็งได้อย่างถูกต้อง ประกอบกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของเครื่องฉายรังสียุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับการนำโปรแกรมการวางแผนรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถนำข้อมูลภาพเหล่านี้มาวางแผนการฉายรังสีแบบ 3 มิติในเทคนิคต่างๆได้ ทำให้เพิ่มโอกาสในการควบคุมรอยโรคได้ดีขึ้นและลดผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี การรักษาด้วยรังสี อาจใช้รังสีรักษาเพียงอย่างเดียว หรืออาจใช้รังสีรักษาร่วมกับการผ่าตัดหรือเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิด ตำแหน่งและระยะของรอยโรค เป็นต้น พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์อายุรกรรม โรคมะเร็งและแพทย์โลหิตวิทยา กล่าวถึงบทบาทด้านเคมีบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็งว่า เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งมักใช้กับมะเร็งในระยะที่เป็นมากแล้ว หรือมะเร็งที่กระจายไปแล้ว และ การรักษาเพื่อมุ่งให้หายขาดแต่จะใช้ได้เฉพาะมะเร็งบางชนิดและบางระยะ ในการรักษาให้หายขาดแบ่งย่อยอีกสามประเภทคือการใช้เคมีบำบัดเพื่อรักษาเพียงอย่างเดียว,การใช้เคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัดและการใช้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาโดยจะแบ่งเป็นสามแบบ ใช้ก่อนการให้รังสี ใช้พร้อมกับการให้รังสี และสุดท้ายคือการใช้หลังการให้รังสี นพ.ธีรวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีทั่วโลกได้รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง ภายใต้แนวความคิด WE CAN I CAN โรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลกรุงเทพ จึงได้จัดกิจกรรม CSR " free mobile digital mammogram and ultrasound for breast cancer screening " ด้วยการทำดิจิตอลแมมโมแกรมและทำอัลตราซาวด์ ที่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างละเอียดตั้งแต่ขนาดเล็ก ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยสามารถให้ผลได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลวัฒโนสถ (Breast cancer pathway) ซึ่งได้รับการรับรองจากมาตรฐานนานาชาติของ JCI ยังเน้นการดูแลตลอดโปรแกรมโดยทีมแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา พร้อมให้ความรู้ในการดูแลตนเอง และอย่างน้อยควรปรึกษาแพทย์และตรวจเช็ค อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะถ้าตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะได้รับรักษาได้อย่างทันท่วงที มีโอกาสรักษาโรคมะเร็งให้หายได้ โครงการจะทำการรับสมัครลงทะเบียนล่วงหน้าในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 ณ อาคารพลเมืองอาวุโสฯ สวนลุมพินี ตั้งแต่ 06.00 -12.00 น. ให้กับสุภาพสตรีที่สนใจมีอายุตั้งแต่ 40-60 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีประวัติการป่วยเป็นโรคมะเร็งและไม่เคยผ่านการรักษามาก่อน ซึ่งผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนจะเข้ารับการตรวจในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 โดยผู้ที่เข้ารับการตรวจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ตามที่ทางโรงพยาบาลได้กำหนดและสงวนสิทธ์เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ โทร .1719
แท็ก มะเร็ง  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ