ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป มอบรางวัลศิลป์รักษ์โลก พ.ศ. 2560 แก่นักศึกษาจากศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับผลงานนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่า

ข่าวทั่วไป Thursday May 4, 2017 15:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--ONYX Hospitality Group ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป นำโดยนายปีเตอร์ เฮนลีย์ (กลาง) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design) รางวัลการออกแบบที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring Design) และรางวัลความคิดสร้างสรรค์ (Creative Design) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลป์รักษ์โลก (Arts for The Planet) นักศึกษาที่ได้รับรางวัลทั้ง 4 ทีม ได้รับโล่รางวัลและทุนการศึกษารวมมูลค่า 110,000 บาท จากมูลนิธิ ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ในพิธีมอบรางวัลและแสดงผลงานนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่า พิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลป์รักษ์โลก พ.ศ. 2560 (Arts for The Planet 2017) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำวัสดุเหลือใช้หรือขยะมาเพิ่มมูลค่าจากการออกแบบอย่างมีคุณค่าผนวกกับนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาขยะซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในปัจจุบันของประเทศไทย ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ได้ร่วมมือกับกับศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ "ทะเลจร" องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยที่โครงการศิลป์รักษ์โลกเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนของศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab) นักเรียนที่เข้าร่วมหลักสูตรการเรียนการสอนและโครงการศิลป์รักษ์โลกนี้ได้ผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับภาพรวมของปัญหาขยะและการจัดการวัสดุเหลือใช้อันก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม โดยนักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมเก็บขยะในคลอง ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการค้นหาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ และการทดลองกรบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการนำวัสดุเหลือใช้หรือขยะมาเพิ่มมูลค่าจากการออกแบบอย่างมีคุณค่า อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ อินทรชูโต ผู้บุกเบิกทางด้านการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (ecological design) ในประเทศไทย หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Eco-design) และผู้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และดร. ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ก่อตั้งทะเลจร (Tlejourn) องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่รู้จักในการนำขยะที่เก็บจากทะเลมารีไซเคิลทำเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้าอันมีเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าด้วยไอเดียแปลกใหม่ ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ได้ร่วมกับผู้สนับสนุนโครงการฯ ได้แก่ เกียรติสยามเลเธอร์แวร์ ฮาวายไทยเฟอร์นิเจอร์ และอีอาร์พี มอบเงินทุนให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการศิลป์รักษ์โลก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้นภายหลังจากการออกแบบ โดยตัวแทนผู้บริหารของบริษัทฯ ทั้งสามดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เยี่ยมชมโรงงาน และให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ในการออกแบบและการผลิต ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมต่อความคิดสร้างสรรค์จนสามารถนำมาผลิตใช้ประโยชน์ได้จริงและสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคต นักศึกษาทั้ง 8 ทีมที่เข้าร่วมโครงการศิลป์รักษ์โลก พ.ศ. 2560 ได้มีโอกาสแสดงผลงานต่อผู้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล และมี 4 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้รับโล่รางวัลและทุนสนับสนุนการศึกษา นักศึกษาทีมที่ได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design Award) ได้แก่ นายพิพัฒน์ ทองทา และนางสาวชวัลภา ดาราชาติ กับผลงานในชื่อ "บี๊บ บี๊บ" (Beep Beep) ซึ่งนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน อาทิ ฟองน้ำ หวายเทียม เส้นใยสังเคราะห์โพลิเอสเทอร์ ไม้ และอะลูมิเนียม มาแปรสภาพและผสมกับคอนกรีตเพื่อสร้างสรรค์เป็นกระถางต้นไม้และเชิงเทียนตั้งโต๊ะ บรรจุภายในบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดสายตาและเป็นผลงานที่สามารถใช้งานได้จริง นักศึกษาทั้งสองคนได้รับโล่รางวัลพร้อมทุนการศึกษารวม 40,000 บาท นักศึกษากลุ่มที่ได้รับรางวัลการออกแบบที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring Design Award) ได้แก่ นายเสกข์สิทธิ ภักดี และนายกีโยม บิชง ออกแบบผลงานในชื่อ "Fantasteak" ซึ่งนำเอาแผ่นพลาสติกจากทะเลจร ฝาขวดน้ำที่เหลือใช้จากโรงอาหารในมหาวิทยาลัย เศษไม้สักและหนังจากโรงงานของผู้สนับสนุนโครงการ มาเพิ่มมูลค่าเป็นเก้าอี้ โต๊ะวางโคมไฟ และกรอบรูป โดยได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากเกมตัวต่อเลโก้ นักศึกษาทั้งสองคนได้รับโล่รางวัลพร้อมทุนการศึกษารวม 30,000 บาท สำหรับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ (Creative Design) นั้น มีนักศึกษาจำนวน 2 ทีมที่ได้รับรางวัลนี้ กลุ่มแรกได้แก่ นางสาวณัฐกฤตา กำแหงและนางสาวลูซี่ โลเวรีเอร์ ออกแบบผลงานในชื่อ "From the bin to the sky" ที่ผลิตโดยใช้เส้นหวายเทียมที่เหลือจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ของผู้สนับสนุนโครงการและหลอดดูดน้ำที่ได้จากการแยกขยะในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยมาประกอบเป็นชุดว่าวประกอบแบบทำได้ด้วยตัวเอง (DIY) ในรูปทรงต่างๆ และกลุ่มที่สอง ได้แก่ นางสาวมารี เลอ กูเอลเลคและนางสาวพัฒนยุ ทองลอย ที่ได้รับรางวัลกับผลงาน "Metisse" ซึ่งเป็นผนังแบ่งสัดส่วนพื้นที่อเนกประสงค์ที่ใช้งานได้จริง โดยพัฒนาขึ้นมาจากเศษยางแผ่นและกระดาษฟอยล์ที่เหลือจากโรงงานของผู้สนับสนุนโครงการ นักศึกษาทั้งสองกลุ่มได้รับถ้วยรางวัลพร้อมทุนการศึกษากลุ่มละ 20,000 บาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ