รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Tuesday May 9, 2017 00:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม2560 มีจำนวน 6,166,549.32 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.27 ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,728,655.60 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 962,885.32 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 455,580.18 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานของรัฐ 19,428.22 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ76,318.65 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ v หนี้รัฐบาล จำนวน 4,728,655.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 90,720.70 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก · กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี2560 และการกู้เงินเพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 60,076.99 ล้านบาท - เงินกู้ระยะสั้น ลดลง 41,185 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินกู้ระยะสั้นจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 40,000 ล้านบาท และการลดลงของตั๋วเงินคลัง 1,185 ล้านบาท - เงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 101,261.99 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 61,261.99 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของตั๋วสัญญาใช้เงินจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้น 40,000 ล้านบาท · การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,995.53 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,824.86 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 1,021.05 ล้านบาท สีน้ำเงิน จำนวน 792.22 ล้านบาท และสีม่วง จำนวน 11.59 ล้านบาท และ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 170.67 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 91.62 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 79.05 ล้านบาท · การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 1,686.74 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ · การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 30,000 ล้านบาท จากการออก R-bill ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 วงเงิน 162,000 ล้านบาท · หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 334.92 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 2,532.68 ล้านเยน หรือ 788.36 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ v หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 962,885.32 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 9,580.95 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก · หนี้ในประเทศลดลงสุทธิ 3,140.86 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันมีการชำระคืนหนี้สุทธิ จำนวน 3,274.04 ล้านบาท ซึ่งมาจากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ จำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นสำคัญ · หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 6,440.09 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 81.15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,808.89 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน vหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 455,580.18 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 4,897.43 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร vหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 19,428.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 76.33 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก สำนักงานธนานุเคราะห์ได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 6,166,549.32 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ5,852,291.95 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.90 และหนี้ต่างประเทศ 314,257.37 ล้านบาท (ประมาณ 9,205 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.10 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,308,483.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.09 และหนี้ระยะสั้น 858,065.59 ล้านบาท หรือร้อยละ13.91 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ