ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีทั่วทั้งเอเชียร่วมมือกันหาทางใช้สื่อออนไลน์ในการต่อสู้กับโรคเอดส์

ข่าวทั่วไป Wednesday June 14, 2017 16:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ งานคอนเนคติ้ง เอเชีย (Connecting Asia) เริ่มต้นขึ้นในวันนี้ ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการใช้สื่อออนไลน์เพื่อลดอัตราการติดเชื้อที่กำลังพุ่งสูงขึ้นในทวีปเอเชีย นับเป็นครั้งแรกที่งานคอนเนคติ้ง เอเชีย ได้จัดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมุ่งช่วยเหลือองค์กรที่ทำงานใกล้ชิดกับเชื้อเอชไอวี และผู้เกี่ยวข้องจาก 22 ประเทศในภูมิภาคให้สามารถใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมต่อกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย รวมทั้งการป้องกัน การทดสอบและการดูแลรักษา นายกลิน ที เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงานคอนเนคติ้ง เอเชีย (Connecting Asia) "สื่อในโลกออนไลน์ได้เปิดโลกทัศน์ในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน" นายกลิน ที เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวในพิธีเปิดงาน "อินเตอร์เน็ตทำให้หลายๆ เสียงได้รับการได้ยิน ทำให้ความคิดเห็นได้รับการจดจำ และมีการนำวิธีการที่ถูกต้องหลายๆ อย่างไปใช้ สื่อในโลกออนไลน์คือเครื่องมือแบบใหม่ที่จะใช้หยุดเชื้อโรคเอดส์" คอนเนคติ้ง เอเชีย จัดขึ้นโดยมูลนิธิแอ็พคอม (APCOM) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ หรือ United States President's Emergency Plan for AIDS Relief (PEPFAR) ผ่านองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) และโปรเจ็ค LINKAGES ซึ่งจัดขึ้นโดย FHI360 และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) เอเชียเผชิญหน้ากับการคุกคามอย่างรวดเร็วของเชื้อโรคเอดส์ท่ามกลางกลุ่มเกย์ โดยในปี 2563 นั้น ทางคณะกรรมการด้านเอดส์ในเอเชีย (The Commission on AIDS in Asia) ได้คาดการณ์ว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบครั้งจะเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยภายในภูมิภาคได้ชี้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อโรคนี้ภายในภายในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในชนบทจะมีความเสี่ยงมากกว่าในตัวเมือง การระบาดของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเกย์นั้นพุ่งสูงเกือบ 32% ในกรุงจาร์กาต้า 22% ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และเกือบหนึ่งในสามของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร มูลนิธิแอ็พคอม (APCOM) ซึ่งเป็นเครือข่ายการช่วยเหลือในชุมชน – ได้เชิญกลุ่มบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ซึ่งรวมถึงประธานของบลู (Blued) แอปพลิเคชั่นมือถือเกี่ยวกับเกย์ ผู้จัดการกูเกิล (Google) ในประเทศไทย ผู้ผลิตรายการของเอ็มทีวี นักวิชาการด้านเอชไอวีที่ได้รับรางวัล นักวิชาการโรคเอดส์ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ผู้เข้าร่วมงานนี้จะได้รับความรู้จากหลากหลายหัวข้อ เช่น การยกระดับการป้องกันและการทดสอบโรคเอดส์ผ่านทางสื่อออนไลน์และแอปพลิเคชั่นมือถือ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อให้ได้รับการบำบัด อย่างไรก็ตาม การติดต่อหาผู้ที่จะสนับสนุนด้านการเงินระดับนานาชาติยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข นายมิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา (ซ้าย) ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอม (APCOM) กล่าวต้อนรับผู้เข่าร่วมงานคอนเนคติ้ง เอเชีย และนายสตีฟ เคราส์ (ขวา) ผู้อำนวยการของทีมงานสนับสนุนระดับภูมิภาค ประจำเอเชียและแปซิฟิกของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) นำเสนอรายงานเกี่ยวกับประวัติการระบาดของโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชีย คุณมิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอม (APCOM) กล่าวว่า "การพัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารนั้นได้เปลี่ยนวิธีการติดต่อภายในกลุ่มเกย์อย่างรวดเร็วรวมถึงวิธีการที่พวกเขาเหล่านั้นเข้าถึงข้อมูลต่างๆ จากในมุมมองของผู้ให้ความรู้ต่อชุมชนนั้น เราจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าเรานั้นอยู่เคียงข้างพวกเขา โดยการส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพในด้านเทคโนโลยีและทางวัฒนธรรม" "การที่แผนการหยุดยั้งเชื้อโรคเอดส์ภายในปี 2573 จะสำเร็จหรือไม่นั้น เราจำเป็นต้องคิดนอกกรอบ" นายสตีฟ เคราส์ ผู้อำนวยการของทีมงานสนับสนุนระดับภูมิภาค ประจำเอเชียและแปซิฟิกของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) กล่าว "จากการแพร่ระบาดที่รวดเร็วของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเกย์และกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ทำให้พวกเราจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคเอดส์ในระดับที่ดีขึ้น เอดส์ยังไม่สามารถหยุดยั้งได้ในตอนนี้ แต่เราจะทำได้ถ้าเรายกระดับการเข้าถึง การบำบัดและการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง" สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับคอนเนคติ้ง เอเชีย โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.apcom.org/ConnectingAsia หรือท่านสามารถเข้าร่วมในการสนทนาบนโลกออนไลน์ที่ #ConnectingAsiaHIV

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ