ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เตรียมยกระดับเป็น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ขานรับนโยบาย “ครีเอทีฟอีโคโนมี่” เน้นหนักพัฒนาผู้ประกอบการ

ข่าวบันเทิง Wednesday July 5, 2017 11:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ • นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะฯ เยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ รุกหนักขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ขานรับมติรัฐมนตรี เตรียมยกระดับเป็น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) มุ่งเน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ผ่านการกระจายองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบให้กับเยาวชน นักออกแบบ และผู้ประกอบการไทย ริเริ่มการวิจัยแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เมืองสร้างสรรค์ และขยายผลสู่โครงการที่ส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อแก้ปัญหาสังคมและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพฯ โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) และนายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ และพนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบให้การต้อนรับ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441 ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) กล่าวว่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายอนาคตของประเทศ ที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศผ่านการใช้ศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ที่ปรากฏอยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่น และรากฐานทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยหากพิจารณาถึงมูลค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทยในปี 2557มีมูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จำนวน 360,000 ราย และในปี 2559 มีการจ้างงานในสาขาอาชีพสร้างสรรค์มากถึง 860,000 คน (ที่มา:สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ประกอบกับมติรัฐมนตรีที่เห็นชอบการแยกภารกิจของ TCDC เพื่อจัดตั้งเป็น สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้ย้ายมาที่ทำการแห่งใหม่ ที่มาพร้อมกับพันธกิจในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ตลอดจนตั้งเป้าเป็น "แหล่งบ่มเพาะนักสร้างสรรค์และธุรกิจสร้างสรรค์" เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและผู้ประกอบการไทย รวมถึงได้ริเริ่มโครงการในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การกระจายองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบให้กับเยาวชน นักออกแบบ และผู้ประกอบการไทย ประกอบกับบทบาทในด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งในด้านการวิจัยแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เมืองสร้างสรรค์ และขยายผลสู่โครงการที่ส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อแก้ปัญหาสังคมและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบให้บริการประชาชนไปถึง 15 ล้านครั้ง ผ่านการให้บริการในพื้นที่แหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์และบริการออนไลน์ พัฒนาความรู้และสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการกว่า100,000 ราย ส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการวัสดุไทยมากกว่า 200 บริษัท ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการในภาคการผลิตและธุรกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการใช้บริการของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พบว่า ธุรกิจต่างๆ เหล่านั้น มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 26 เปอร์เซ็นต์จากรายได้เดิม ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพฯ โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) และนายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ และพนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบให้การต้อนรับ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ