ตัดกรามหน้าเรียว วิธียอดนิยมของคนอยากมีหน้าเล็ก

ข่าวทั่วไป Tuesday August 1, 2017 14:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ส.ค.--รพ.ยันฮี คนเอเชียส่วนใหญ่นิยมมีใบหน้าที่เรียวเล็ก เพราะทำให้หน้าดูอ่อนหวานสมกับเป็นผู้หญิง แต่ด้วยลักษณะใบหน้าของคนเอเชียที่มักจะมีกรามค่อนข้างใหญ่ และไม่สมดุลกับส่วนอื่นๆ ของใบหน้า เช่น หน้าผาก เบ้าตา จมูก โหนกแก้ม ปาก หรือคาง อีกทั้งลักษณะมุมกรามที่ชัดเจนยังทำให้ดูสตรองจนเหมือนผู้ชายมากเกินไป ทำให้ "การตัดกราม" เป็นวิธียอดนิยมของคนอยากมีหน้าเรียวเล็กนั่นเอง นายแพทย์สุทัศน์ คุณวโรตม์ แพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลยันฮี เผยว่า การตัดกรามเป็นวิธีที่ช่วยทำให้หน้าดูเรียวเล็กลงได้ สามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือการตัดเอามุมกระดูกขากรรไกรออก ผลที่ได้คือใบหน้าเรียวเล็กลง อีกวิธีหนึ่งคือการกะเทาะเอาเฉพาะฝาด้านนอกของกระดูกขากรรไกรออกมา ซึ่งเป็นการลดความกว้างของใบหน้า ทำให้หน้าเล็กลงแต่มุมยังอยู่ เพราะบางคนอยากให้หน้าเล็กแต่ยังต้องการมีมุมกราม เนื่องจากความชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สำหรับวิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี คือการเปิดแผลผ่าตัดจากด้านนอกปากและด้านในปาก การผ่าตัดด้านนอกปาก มีข้อดีคือรับประทานอาหารสะดวกในช่วงสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ข้อเสียคือมีแผลเป็นบริเวณด้านล่างของกรามทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร สำหรับการผ่าตัดด้านในปาก มีข้อดีคือไม่มีแผลเป็นให้เห็นด้านนอก โดยตำแหน่งแผลผ่าตัดจะอยู่ด้านข้างของฟันกราม ความยาว 4-5 เซนติเมตร ข้อเสียคือช่วงสัปดาห์แรกอาจรับประทานอาหารค่อนข้างลำบาก หลังผ่าตัดคนไข้จะได้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 2 วัน มีผ้าพัน มีสายระบายเลือด ก่อนกลับบ้านเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้นำออกให้และเปลี่ยนมาใช้ผ้ารัดแทน 1 สัปดาห์ การตัดมุมกรามใช้วิธีดมยาสลบ ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 50 นาที เนื่องจากเครื่องมือในการผ่าตัดพร้อม ผู้ช่วยมีประสบการณ์และความชำนาญ จึงทำให้การผ่าตัดใช้เวลาไม่นานนัก อีกทั้งเราได้ออกแบบและพัฒนาเลื่อยตัดกรามให้มีความยาวมากขึ้น จึงสามารถเลาะเนื้อเยื่อเข้าไปถึงด้านหลังของกระดูกขากรรไกร ทำให้ตัดแต่งกระดูกขากรรไกรในซอกแคบๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ค้อนหรือสิ่วเข้าไปตอกอีกครั้ง การตัดและกรอผิวกระดูกมุมกรามจึงทำได้เกลี้ยงเกลามากกว่า ด้วยเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะกับการตัดกรามมากขึ้นนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดด้านนอกปาก ซึ่งจะทำให้มีแผลเป็นติดตัวไปตลอดชีวิต แล้วเราจะมีวิธีดูแลตัวเองหลังตัดกรามอย่างไร นพ.สุทัศน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า โดยปกติแล้วแผลในปากหายได้ง่าย สังเกตได้ว่าเวลาทานข้าวแล้วบังเอิญกัดริมฝีปากเราไม่ต้องทายา ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่แผลหายได้เอง อย่างไรก็ตาม การดูแลแผลผ่าตัดในปากในช่วงแรกหลังผ่าตัดคือ รับประทานอาหารอ่อนๆ 1 เดือน รับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกากเพื่อป้องกันอาหารติดฟัน อย่าเคี้ยวมาก งดแปรงฟัน 1 สัปดาห์เพื่อป้องกันภาวะแผลแยก ให้ทำความสะอาดช่องปากโดยการบ้วนปากบ่อยๆ ประคบเย็นบริเวณกราม 2 วัน จากนั้นจึงเปลี่ยนมาประคบอุ่น หลังผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ ช่วงแรกจะมีอาการบวมมากประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้น 1 เดือนใบหน้าจะกลับมาเท่าเดิมและสังเกตไม่ค่อยเห็นอาการบวม หน้าจะเริ่มเล็กลงภายใน 2 เดือน และเล็กลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคงที่ภายใน 6 เดือน แต่เนื่องจากกระดูกที่ถูกตัดออกไปทำให้กล้ามเนื้อไม่มีที่เกาะ จึงทำให้กล้ามเนื้อฝ่อไปบางส่วนประมาณร้อยละ 20 จึงเปรียบได้ว่าการตัดกรามนอกจากจะทำให้กระดูกขากรรไกรเล็กลงแล้ว ยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงด้วย หลังผ่าตัดแล้วมีโอกาสกรามเบี้ยว แตก หักได้ง่ายหรือไม่ นพ.สุทัศน์ ขยายความว่า โดยทั่วไปหากทำการผ่าตัดตามมาตรฐานไม่พบว่ามีอุบัติกรามหักหลังตัดกราม แต่หากตัดกรามในขณะที่อายุยังน้อย อาจคลำพบกระดูกงอกขึ้นมาเป็นติ่งเล็กๆ ซึ่งทำให้เกิดความรำคาญ ก็สามารถกลับมาผ่าตัดแก้ไขได้ ดังนั้น มาตรฐานในการผ่าตัดเป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับผู้ที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดกรามคือ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากต้องรอให้กระดูกขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่เสียก่อน และผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีไม่ควรตัดกราม เนื่องจากมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดค่อนข้างมาก รวมถึงผู้ที่ตรวจพบว่ากรามใหญ่ที่มีสาเหตุมาจากเนื้องอกของกระดูกหรือกล้ามเนื้องอกของต่อมน้ำลาย นพ.สุทัศน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การตัดกรามหรือการทำศัลยกรรมเกี่ยวกับใบหน้า ควรเลือกทำในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องมือและอุปกรณ์พร้อม ทำผ่าตัดโดยแพทย์และทีมผู้ช่วยที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ จึงทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมาก เพราะเมื่อทำไปแล้วผลของการผ่าตัดจะต้องอยู่กับเราไปตลอดชีวิต และในปัจจุบัน เมืองไทยของเรามีความพร้อมในด้านการแพทย์ ทั้งความรู้ เทคนิค และเทคโนโลยีต่างๆ มั่นใจได้ว่าแพทย์ไทยของเรามีความรู้และความสามารถไม่แพ้ชาติอื่นๆ เลยครับ
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ