ข่าวจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday June 13, 2000 11:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีหน้าที่จัดหาโลหิตให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จากผู้บริจาค ซึ่งไม่หวังสิ่งตอบแทนเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ แปรรูปโลหิตที่เหลือใช้สำหรับ เก็บและจ่ายใช้รักษาโรคบางชนิด ทำการวิจัยและสอนการถ่ายโลหิต และโลหิตวิทยา กับช่วยจัดตั้ง งานบริการโลหิตของเหล่ากาชาดจังหวัดในรูปสาขาบริการโลหิต หรือภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีนโยบายหลักในการที่จะจัดหาโลหิตให้เพียงพอใช้ และเป็น โลหิตที่ปลอดภัย และมีเป้าหมายที่จะจัดหาโลหิตให้ได้ทั่วประเทศเกินกว่า 1,300,000 ยูนิต เฉพาะ ในเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องจัดหาโลหิตให้ได้มากกว่า 330,000 ยูนิต แต่ขณะนี้ทั่วประเทศจัด หาได้เพียง 900,000-950,000 ยูนิต
อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ เพื่องานบริการโลหิตของประเทศไทย
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แบ่งแผนงานออกเป็น 3 ส่วน
แผนงานจัดหาโลหิต (Recruitment Division)
แผนงานบริการ (Service Division)
แผนงานผลิต (Production Division)
แบ่งเป็นแผนกต่างๆ 9 แผนก คือ
แผนกบริหารงานทั่วไป
แผนกประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต
แผนกเตรียมเครื่องมือและน้ำยาเอ.ซี.ดี.
แผนกเจาะเก็บโลหิต
แผนกห้องปฏิบัติการปกติ
แผนกพลาสมาและแปรรูปโลหิต
แผนกห้องปฏิบัติการร่วมกับองค์การอนามัยโลก
แผนกเตรียมน้ำยาแอนตี้ซีรั่ม
แผนกทะเบียนและสถิติ
และสำนักงานผู้อำนวยการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน
ขั้นตอนของงานบริการโลหิตในประเทศไทย ดำเนินการดังต่อไปนี้คือ
จัดหาผู้บริจาคโลหิต
จะต้องจัดหาผู้บริจาคที่มีคุณสมบัติดี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อใดใด หรืออยู่ในระหว่างการเจ็บป่วย โดยมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ออกไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่อง
เจาะเก็บโลหิต
ผู้ทำหน้าที่เจาะเก็บโลหิตต้องมีความชำนาญและมีเทคนิค
การตรวจคัดกรองโลหิต
โลหิตที่ได้รับบริจาคทุกยูนิต ต้องได้รับการตรวจดังนี้
ตรวจหาหมู่โลหิตระบบเอบีโอ (ABO Typing) และระบบอาร์เอช (Rh Typing)
ตรวจเชื้อไวรัสเอดส์ (Anti HIV, HIV Ag)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV)
ซิฟิลิส (VDRL)
ตรวจกรองแอนตี้บอดี้ของหมู่โลหิตอื่นๆ
แยกส่วนประกอบโลหิต ( Blood Components)
80 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนโลหิตที่ได้รับบริจาคนำมาปั่นแยกส่วนประกอบโลหิต ซึ่งส่วนประกอบโลหิตขั้นพื้นฐานมี 5 ชนิดคือ
โลหิตรวม (Whole Blood)
เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น (Packed Red Cell)
เกล็ดโลหิต (Platelet)
ไครโอปรีซิปิเตท (Cryoprecipitate)
พลาสมาสด (Plasma)
เก็บสำรองโลหิต และจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ
งานบริการโลหิตที่มีคุณภาพ ต้องมีโลหิตสำรองไว้ในคลัง วันละไม่ต่ำกว่า 2,000- 3,000 ยูนิต ซึ่งเป็นโลหิตที่ผ่านขั้นตอนการตรวจคัดกรองเชื้อต่างๆให้ เรียบร้อย โลหิตที่ได้รับบริจาคเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในน้ำยาป้องกันโลหิตแข็งตัว และเก็บโลหิตไว้ได้ 21,28 และ 42 วัน ตามลำดับโดยเก็บไว้ในอุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียส และก่อนที่จะจ่ายโลหิตให้กับโรงพยาบาลที่มาขอเบิก ข้อมูลการตรวจ สอบโลหิตจะถูกป้อนอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้แถบบาร์โค๊ดหากโลหิตไม่ ผ่านการตรวจในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์จะไม่ให้จ่ายโลหิตยูนิตนั้นๆ เท่ากับ เป็นการประกันคุณภาพของโลหิตอีกระดับหนึ่ง นอกเหนือไปจากการตรวจในห้อง ปฏิบัติการเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีบริการพิเศษตามที่โรงพยาบาลต้องการ ดังนี้
บริการจัดเตรียมเกล็ดโลหิตแบบ Single Donor Platelet เกล็ดโลหิตแบบนี้จะเตรียมจากผู้บริจาคเกล็ดโลหิตเพียงคนเดียว ผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นโรคที่ ทำให้เกล็ดโลหิตในร่างกายมีปริมาณลดต่ำลง เช่นมะเร็งเม็ดโลหิต โรคไขกระดูก โรคติดเชื้อบาง ชนิด
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเตรียม Single Donor Platelet โดยขอรับบริจาคจากผู้บริจาค โลหิตที่มีหมู่โลหิตตรงกับผู้ป่วย น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป เส้นโลหิตตรงข้อพับแขนทั้งสองข้าง เห็นชัดเจน ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพรินในระยะเวลา 5 วัน ก่อนมาบริจาคการเตรียมเกล็ดโลหิตแบบ Single Donor Platelet จะกระทำเมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจากโรงพยาบาลต่างๆ เป็นผู้ขอมา ไม่มีการขอรับบริจาคเกล็ดโลหิตสำรอง ไว้ เพราะหากไม่ได้นำไปใช้ เกล็ดโลหิตจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การรับบริจาคพลาสมาเพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์โลหิต
ศูนย์บริการโลหิแห่งชาติ ตั้งเป้าหมายในการจัดหาพลาสมาให้ได้จากปีละ 5,000 ลิตร เป็น ปีละ 30,000 ลิตร ภายใน 3 ปีข้างหน้า พลาสมาเหล่านี้นำมาจัดทำผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อการรักษา พยาบาล สำหรับประเทศไทยมีเพียงศูนย์บริการโลหิตฯ เป็นผู้ผลิตแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังผลิตได้ ไม่เพียงพอ จึงได้ทำการเชิญชวนให้มีการบริจาคเฉพาะพลาสมาขึ้นมา
พลาสมาที่ได้รับบริจาคนี้ นำไปทำผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อการรักษาพยาบาล ตามที่แพทย์ใน ปัจจุบันต้องการใช้รักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยใช้กรรมวิธีเทคโนโลยีชั้นสูง ผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อการ รักษาเหล่านี้ได้แก่ แอลบูมิน 20 % แฟคเตอร์ 8 แฟคเตอร์ 9 และอิมมูโนโกลบูลินการขอรับบริจาคเฉพาะพลาสมานั้นจะใช้เครื่องมือรับบริจาคโดยตรง เรียกว่า Cell Separator วิธีนี้สะดวก ปลอดภัยและใช้เวลาน้อย การบริจาคพลาสมากระทำได้ทุก 14 วัน ผู้ บริจาคพลาสมา บริจาคได้ทั้งชายและหญิง น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่มีโรคติดต่อใดๆ สุข ภาพสมบูรณ์แข็งแรง ผู้ที่เคยบริจาคโลหิตต้องการเปลี่ยนเป็นบริจาคพลาสมา เว้นระยะเวลา 3 เดือนก่อนไปบริจาคพลาสมา แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนจากบริจาคพลาสมาเป็นบริจาคโลหิต เว้นระยะ เวลา 1 เดือนก่อนบริจาคโลหิต
ให้บริการเก็บ Stemcell
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ใช้เทคนิค การเปลี่ยนถ่าย Stemcell หรือเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อรักษาคนไข้โรคมะเร็ง วิธีการเช่นนี้ช่วยให้สภาพ ของคนไข้หลังจากการฉายรังสีหรือฉีดยารักษามะเร็ง กลับฟื้นคืนสภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว เมื่อ ใช้วิธีการนี้ ทั้งนี้เพราะเมื่อคนไข้ ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือฉายรังสีแล้ว ระยะเช่นนี้คนไข้ จะได้รับผลกระทบมาก ไขกระดูกจะไม่ทำงาน จึงไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดต่างๆ ทำให้คนไข้อยู่ ในสภาพที่ไม่ดี
Stemcell คือเซลล์ต้นกำเนิดที่จะผลิตเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติ จะให้บริการในเรื่องขั้นตอนเทคนิควิธีการเก็บ Stemcell โดยต้องใช้เครื่องแยก เซลล์อัตโนมัติ โดยจัดโปรแกรมของเครื่องให้แยกเก็บเฉพาะ Stemcell จากคนไข้ จะเก็บก่อน หรือขณะที่ทำการรักษามะเร็งอยู่ ใช้เวลาตามขั้นตอนการเก็บประมาณ 3-5 ชั่วโมง และกระทำอยู่ ในบริเวณที่ปลอดเชื้อ จากนั้นจะนำ Stemcell ใส่ลงในน้ำยา DMSO เก็บไว้ในถังไนโตรเจนเหลว ที่อุณหภูมิ -160 ํ -180 ํ เซลเซียส เมื่อคนไข้ได้รับการเก็บ Stemcell ไว้ ผ่านขั้นตอนการรักษา แล้ว แพทย์จะนำ Stemcell ถ่ายกลับเข้าไปในร่างกายคนไข้ เพื่อให้ Stemcell ไปทำหน้าที่ผลิตเม็ด เลือดต่างๆ ต่อไป ทำให้สภาพของคนไข้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
บริการเก็บเม็ดโลหิตแดงแช่แข็ง (Frozen Cell)
เทคนิคการเก็บเม็ดโลหิตแดงแช่แข็ง เป็นวิธีการหนึ่งที่จะเก็บเม็ดโลหิตแดงให้มีอายุอยู่ได้ นานกว่า 10 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับเก็บเม็ดโลหิตแดงของกลุ่มโลหิตหายากมากๆ ใน ประเทศไทย ได้แก่กลุ่มโลหิตบอมเบย์ พาราบอมเบย์ อีกกลุ่มคือ หมู่โลหิตอาร์เอช เนกกาตีฟ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บเม็ดโลหิตแช่แข็งไว้ใช้กับตนเอง
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเก็บเม็ดโลหิตแช่แข็งไว้ เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่รับโลหิตมากๆ บ่อยครั้ง จะ เกิดมีการแพ้แอนตี้บอดี้ต่อเม็ดโลหิตขาว หรือต่อเกล็ดโลหิต ผู้ป่วยมีไข้หนาวสั่นทุกครั้งที่มีการรับ โลหิต
โลหิตที่นำมาแช่แข็ง เจาะเก็บจากผู้บริจาคหรือผู้ป่วย นำมาปั่นแยกเอาเฉพาะเม็ดโลหิต แดงเข้มข้น นำมาบรรจุถุงพิเศษทนความเย็นจัดได้ เติมน้ำยากลีเซอรอล (Glycerol) เข้าไปในถุง ตามขั้นตอน จากนั้นนำไปใส่ Freezer อุณหภูมิ -80 ํ c เมื่อต้องการนำเม็ดโลหิตแช่แข็งไปใช้ ต้องล้างน้ำยา Glycerol ออกให้หมด ทำการตรวจสอบคุณภาพเม็ดโลหิตแดง ก่อนที่จะนำไปใช้กับ ผู้ป่วยต่อไป
ในส่วนของผลิตภัณฑ์พิเศษ มีดังนี้คือ
น้ำยาตรวจหมู่โลหิตเทคนิคโมโนโคลนัล
เดิมศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ใช้พลาสมาหรือน้ำเหลืองของผู้บริจาคโลหิตมาผ่าน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นน้ำยาตรวจหมู่โลหิตใน ระบบเอบีโอ และแจกจ่ายไปใช้ ทั่วประเทศตั้งแต่ พศ. 2512 ในกรณีต้องใช้พลาสมาเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งๆ ที่ขณะนี้จำเป็นต้องนำ พลาสมาไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต ซึ่งยังไม่พอใช้อีกเช่นกัน จึงได้นำเอาไฮบริโดมาเทคนิค มาใชัในการผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิตชนิดโมโนโคลนัล แอนตี้บอดี้ ด้วยการฉีดสารหมู่โลหิต เอ และบีเข้าไปในหนูทดลอง เพื่อให้หนูทดลองสร้างแอนตี้เอ และแอนตี้บี จากนั้นนำเซลล์เม็ดโลหิต ขาวของหนูทดลองมาเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง เพื่อให้สร้างโมโนโคลนัล แอนตี้บอดี้ ที่มีความ จำเพาะต่อหมู่โลหิตที่ต้องการ ซึ่งเซลล์ที่ได้จากหนูทดลองจะหลั่งแอนตี้เฉพาะชนิดออกมาผสมอยู่ ในน้ำเลี้ยงเซลล์อย่างต่อเนื่องตลอดไปไม่มีสิ้นสุด จากนั้นจะนำเฉพาะน้ำเลี้ยงเซลล์ที่มีแอนตี้บอดี้ ต่อหมู่โลหิตมาเตรียมเป็นน้ำยาตรวจหมู่โลหิตแต่ละชนิด น้ำยาตรวจหมู่โลหิตของศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติ เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วประเทศ และประเทศใกล้เคียง มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับ น้ำยาที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้ประหยัดงบประมาณได้ปีละหลายสิบล้านบาท
การผลิตถุงบรรจุโลหิต (Blood Bag)
งานบริการโลหิตในปัจจุบัน ใช้ถุงบรรจุโลหิตแทนการใช้ขวดแก้ว เพราะควบคุมความ ปลอดภัยและปลอดเชื้อระหว่างการเจาะเก็บโลหิต และสามารถนำโลหิตที่บรรจุถุงไปปั่นแยกส่วน ประกอบของโลหิต เช่นเกล็ดโลหิต เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น เม็ดโลหิตขาว เป็นต้น แต่เนื่องจากถุง บรรจุโลหิตมีราคาแพง เพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงจัดตั้งโรง งานผลิตถุงบรรจุโลหิต ที่ดำเนินการโดยองค์การการกุศลเป็นแห่งแรกในเอเซียแปซิฟิค โรงงานนี้ สร้างสำเร็จตามขั้นตอน และเริ่มดำเนินการในปี พศ. 2539 ภายใต้การควบคุมการผลิตและควบคุม คุณภาพของแผนกเตรียมเครื่องมือและน้ำยา เอ.ซี.ดี. ดำเนินการผลิตถุงบรรจุโลหิตขนาด 350 และ 450 มิลลิลิตร (ซี.ซี) มีทั้งชนิดถุงเดี่ยว (single bag) ถุงคู่ (double bag) และถุงชุด (triple bag) ตั้งเป้าหมายในการผลิตให้ได้ปีละ 1,000,000 ใบ เพื่อจ่ายให้สาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ ได้ใช้ถุงดังกล่าวนี้--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ