ปภ.จัดประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม และภัยแล้ง ครั้งที่ 1/2560

ข่าวทั่วไป Friday September 22, 2017 19:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม และภัยแล้ง ครั้งที่ 1/2560 เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดทำแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง รวมถึงผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ตลอดจนพิจารณากรอบนโยบายและมาตรการการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยในระดับพื้นที่และเสนอมาตรการต่อคณะกรรมการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การสร้าง "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)" นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการการจัดการ ความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม และภัยแล้ง เปิดเผยว่า ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย วาตภัย และ ดินโคลนถล่มบ่อยครั้ง มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล เพื่อเป็นการ บูรณาการเชิงนโยบายในการลดความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มที่มีประสิทธิภาพ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม และภัยแล้ง ครั้งที่ 1/2560 ในวันที่ 25 กันยายน 2560 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม และภัยแล้ง ให้มีหน้าที่ในการศึกษา ทบทวน ปรับปรุง และจัดทำแผนฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพความเสี่ยงภัย พร้อมพิจารณามาตรการและแนวทาง การลดความเสี่ยงจากอุทกภัย ประกอบด้วย 1.มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ ทั้งมาตรการใช้โครงสร้างและไม่ใช้โครงสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย การนำมาตรการด้านผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินมาใช้ในการป้องกันปัญหาอุทกภัย รวมทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือ และปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดอุทกภัย 2.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการรับมืออุทกภัย โดยวางระบบการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในภาวะฉุกเฉิน การใช้เทคโนโลยีการคาดการณ์มวลน้ำที่ไหล เข้าท่วมเขตชุมชนเมือง กรณีไม่สามารถป้องกันการเกิดอุทกภัยได้ การประเมินความเสียหายและความต้องการของผู้ประสบภัย โดยจัดลำดับตามความจำเป็น เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น การปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและทบทวนแผนฯ ให้สอดคล้องกับพื้นที่เสี่ยงภัย 3.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟู โดยออกแบบและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้มีความแข็งแรงและมีมาตรฐาน การจัดทำแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย และการปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ ทั้งนี้ การประชุมฯ ดังกล่าว ทำให้คณะอนุกรรมการฯ รับทราบความคืบหน้าการจัดทำแผนแม่บทการป้องกันและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ฉบับปรับปรุง พร้อมแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง อีกทั้งติดตามผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ตลอดจนพิจารณากรอบนโยบายและมาตรการการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยในระดับพื้นที่ และเสนอมาตรการต่อคณะกรรมการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การสร้าง "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ