ผลวิจัยวีซ่าเผย: 1.26 แสนล้านบาท คือมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กรุงเทพมหานครจะได้รับเพิ่มหากก้าวเป็นเมืองไร้เงินสด

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday December 4, 2017 17:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ ผลวิจัยของประโยชน์จากการเป็น "เมืองไร้เงินสด" ที่เจาะลึกถึง100 หัวเมืองใหญ่ของโลก ผู้อยู่อาศัย ธุรกิจ และรัฐบาล ของกรุงเทพมหานครสามารถได้รับมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มเป็นจำนวนกว่า 1.26 แสนล้านบาท (3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี หากเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้เงินสดมาเป็นการชำระเงินแบบดิจิตอล อ้างอิงจากผลการศึกษาอิสระที่ดำเนินการโดย Roubini ThoughtLab ผลวิจัยประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิตอลในหัวเมืองหลักทั่วโลก กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในหกมหานครที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับการวิจัย เพื่อเป็นตัวแทนของ "เมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิตอล" ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าระดับชั้นการพัฒนาของการชำระเงินแบบดิจิตอล คุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ในขณะที่ผู้คนเริ่มย้ายจากชนบทสู่เมือง ทำให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อสำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาครั้งนี้มีความโดดเด่นเพราะเป็นครั้งแรกที่มีการพิจารณาถึงผลประโยชน์สุทธิที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินดิจิตอลไปใช้ในระดับเมือง ผลการวิจัยเองยังแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนมาชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้คน ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาล ไม่ใช่แค่ในเมืองใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพฯเท่านั้น แต่เมืองอื่นๆ อาทิ ภูเก็ต และ ขอนแก่น ก็สามารถได้รับผลประโยชน์นี้ด้วยเช่นกัน" สำหรับกรุงเทพฯ การใช้จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆอย่างแพร่หลาย สามารถทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 1.26 แสนล้านบาท โดยผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาล จะได้รับผลประโยชน์สุทธิ 3 พันล้านบาท 7.3 หมื่นล้านบาท และ 5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ผลประโยชน์สุทธิโดยประมาณมาจากปัจจัย เช่น การประหยัดเวลาระหว่างการดำเนินธุรกิจและธุรกรรมการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายแบบค้าปลีก การลดลงของต้นทุนการขนส่ง รายได้จากการขายที่เพิ่มมากขึ้นจากฐานลูกค้าที่ขยายทั้งแบบออนไลน์และในร้าน รายได้ภาษีที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และจำนวนอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสดที่ลดลง รวมถึงปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย "ด้วยจำนวนเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันรวมถึงเทคโนโลยีตัวเลือกใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในแวดวงการชำระเงินจะผลักดันให้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แพร่หลายมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากในรูปแบบบัตรที่เราคุ้นเคย โดยเฉพาะในเมืองอย่าง กรุงเทพฯ ในอนาคตเราจะเห็นรูปแบบการชำระเงินอย่าง QR Code มาตรฐานในร้านค้าต่างๆที่ไม่ใช่แค่การโอนเงินระหว่างบัญชี แต่สามารถผูกบัตรเครดิตและเดบิตเป็นแหล่งเงินอีกด้วย หรือ การซื้อขายออนไลน์ที่มีมากขึ้นทุกวัน ทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจสามารถมีตัวเลือกที่หลากหลายในการชำระเงิน และรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิตอลอีกด้วย" คุณสุริพงษ์ กล่าวเสริม เกี่ยวกับบทวิจัยเมืองไร้เงินสด "เมืองไร้เงินสด – ประโยชน์ของการชำระเงินผ่านระบบดิจิตอล" คืองานวิจัยที่จัดขึ้นเพื่อศึกษาผลประโยชน์สุทธิที่เมืองต่างๆจะได้รับหากก้าวไปสู่ "เมืองไร้เงินสดในระดับที่เป็นไปได้" ซึ่งกำหนดโดยประชากรทั้งหมดของเมืองที่ย้ายไปใช้การชำระเงินแบบดิจิตอล เท่ากับ 10% ของผู้ใช้เงินดิจิตอลอยู่แล้วในเมืองนั้นๆในปัจจุบัน การศึกษานี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงการกำจัดเงินสด แต่ในทางกลับกันพยายามที่จะหาประโยชน์สุทธิและการลดลงของต้นทุนธุรกิจ เมื่อมีการเพิ่มการชำระผ่านระบบดิจิตอลอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาได้ประมาณการผลประโยชน์ในระยะสั้นและระยะยาว ในการลดการพึ่งพาเงินสดสำหรับสามกลุ่มหลักซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาล โดยผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์เหล่านี้สามารถเพิ่มผลประโยชน์โดยตรงสุทธิประมาณ 15.6 ล้านล้านบาท (4.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปีใน 100 เมืองทั่วโลกที่ได้รับการวิเคราะห์: ผู้บริโภคใน 100 เมืองหลักสามารถได้รับผลประโยชน์สุทธิเกือบ 9.29 แสนล้านบาท (28 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี ผลกระทบนี้จะมาจากปัจจัยต่างๆ รวมถึงการช่วยประหยัดเวลา 3,200 ล้านชั่วโมงในการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ห้างค้าปลีก และการขนส่งรวมถึงการลดอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสดอีกด้วย ธุรกิจในหัวเมืองทั้ง 100 แห่งสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงมากกว่า 10.35 ล้านล้านบาท (3.12 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี ผลกระทบนี้จะมาจากปัจจัยต่างๆ รวมถึงการประหยัดเวลาในการประมวลผลการชำระเงินเข้าออกร่วมถึง 3,100 ล้านชั่วโมง และรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการขยายฐานลูกค้าออนไลน์และในร้านค้า การวิจัยยังพบอีกว่าการยอมรับเงินสดและเช็ค เพิ่มค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจถึง 7.1 เซ็นต์ของทุกเงินดอลลาร์สหรัฐที่ได้รับ เมื่อเทียบกับการเก็บเงินจากระบบดิจิตอลซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจเพียงแค่ 5 เซ็นต์ของทุกเงินดอลลาร์สหรัฐที่ได้รับ รัฐบาลในทั้ง 100 เมืองหลักสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท (130 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี ผลกระทบนี้จะมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น การประหยัดต้นทุนจากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการบริหาร และค่าใช้จ่ายด้านคดีอาญาลดลงเนื่องจากการลดอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสด เอลเลน ริชี่ รองประธานอาวุโสและผู้นำการบริหารความเสี่ยงของวีซ่า กล่าวว่า "การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภค ภาคธุรกิจและภาครัฐบาลในเมืองต่างๆเมื่อหันไปใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้น สังคมที่หันมาใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิตอลแทนเงินสด จะได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น อาชญากรรมที่น้อยลง การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย" เนื่องจากเมืองต่างๆมีการใช้ระบบชำระเงินแบบดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น ผลประโยชน์ที่ได้จะช่วยต่อยอดผลประโยชน์ทางการเงินให้ทั้งแก่ผู้บริโภค ภาคธุรกิจและภาครัฐบาล การเปลี่ยนไปใช้การชำระเงินระบบดิจิตอล อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของเมือง รวมทั้งจีดีพี การจ้างงาน ค่าจ้าง และการเพิ่มผลผลิตอีกด้วย ลู เซล์ลี่ หัวหน้า บริษัท Roubini ThoughtLab กล่าวว่า "ผลจากการวิเคราะห์ของเราบ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล จากสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่ (wearable) รวมไปถึง AI (Artificial Intelligence) และรถยนต์ไร้คนขับ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตของชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นการชอปปิ้ง การท่องเที่ยวและการใช้ชีวิต หากปราศจากรากฐานที่มั่นคงในการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เมืองจะไม่สามารถวาดภาพอนาคตดิจิตอลได้อย่างเต็มที่" บทวิจัยเกี่ยวกับ "เมืองไร้เงินสด – การตระหนักถึงประโยชน์ของการชำระเงินผ่านระบบดิจิตอล" ได้มีการรวบรวมข้อเสนอแนะ 61 ข้อสำหรับผู้กำหนดนโยบาย เพื่อช่วยให้เมืองของพวกเขามีประสิทธิภาพมากขึ้นและยอมรับการใช้เงินผ่านระบบดิจิตอล ข้อเสนอแนะต่างๆนั้นรวมไปถึงการจัดตั้งโปรแกรมศึกษาทางการเงิน เพื่อช่วยบุคคลที่ไม่มีบัญชีธนาคารเข้ามาสู่ระบบการเงินอย่างเป็นทางการ และสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการชำระเงินใหม่ๆ รวมถึงการใช้ระบบการชำระเงินมาตรฐานสากลแบบเปิดสำหรับทุกเครือข่าย (open-loop payment systems) ที่ปลอดภัยและอื่นๆ วีซ่าร่วมกับบริษัท Roubini Thoughtlab ในการสร้างฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับงานวิจัย "เมืองไร้เงินสด: ประโยชน์ของการชำระเงินผ่านระบบดิจิตอล" ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมของ 100 เมืองที่รวมอยู่ในบทศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ที่: www.visa.com/cashlesscities วิธีการจัดทำบทวิจัย Roubini Thoughtlab เป็นบริษัทชั้นนำด้านเศรษฐศาสตร์และการวิจัยโดยใช้หลักฐาน โดยได้ทำการสำรวจเมื่อปี 2559 เกี่ยวผู้บริโภค 3,000 คน และธุรกิจรวม 900 แห่งใน 6 เมืองตัวอย่างได้แก่ โตเกียว ชิคาโก สตอกโฮล์ม เซาเปาโล กรุงเทพฯ และลากอส ซึ่งเป็นตัวแทนของการชำระเงินแบบดิจิตอลที่แตกต่างกัน การสำรวจเหล่านี้ได้ตรวจสอบการใช้งาน การยอมรับการใช้และผลประโยชน์ต่อต้นทุนของการใช้เงินสดแบบจับต้องได้เปรียบเทียบกับการใช้เงินผ่านระบบดิจิตอล จากข้อมูลที่ได้รับ นักวิจัยจึงทำการประเมินเพิ่มเติมตามจำนวนประชากรและเศรษฐกิจที่เฉพาะเจาะจงไปยังอีก 94 เมืองทั่วโลก เพื่อหาผลกระทบสุทธิจากการย้ายไปสู่ระบบเศรษฐกิจไร้เงินสดแก่ผู้บริโภคและธุรกิจในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ การวิจัยยังสามารถระบุผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อรัฐบาล โดยนักวิจัยได้ใช้ข้อมูลจาก ธนาคารโลก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา รวมถึงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิอื่นๆที่ได้รับการไว้วางใจ เพื่อยืนยันและเสริมสร้างผลสำรวจและบทสรุปผลการวิจัยโดยรวม แบบจำลองทางเศรษฐมิติที่ใช้โดยธนาคารกลางหลายแห่งและสถาบันอื่นๆ – แบบจำลองเศรษฐกิจ National Institute Global Econometric Model (NiGEM) – ได้ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากการเร่งปฏิกิริยาการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการผลิต การจ้างงาน และค่าจ้าง ที่การชำระเงินแบบดิจิตอลจะส่งผลถึงแก่แต่ละเมืองที่วิเคราะห์รวม 100 เมือง วีซ่าได้มอบหมายให้ Roubini Thoughtlab ดำเนินการสำรวจ วิจัย และวิเคราะห์ โดยอิสระ
แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ