สกว. จัดงานเสวนา “บทบาทนักวิทยาศาสตร์ไทยใน IPCC กับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2007”

ข่าวปฏิทินข่าว Tuesday November 27, 2007 10:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--สกว.
เป็นที่พิสูจน์กันอย่างแน่ชัดแล้วว่า ปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริงในโลกขณะนี้ ซึ่งสาเหตุหลักนั้นมาจากน้ำมือของมนุษย์ทุกคน ด้วยการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างไม่มีขีดจำกัดในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยข้อสรุปดังกล่าวนี้เป็นการศึกษาของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้เกิดความตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ทุกคนบนโลกจะต้องหันมาร่วมมือกันเพื่อหยุดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และหยุดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นนี้ ก่อนที่มนุษย์จะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้
จากรายงานทั้ง 4 ฉบับ ซึ่งดำเนินการโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ภายใต้ชื่อว่า IPCC ได้ทำให้เกิดความตื่นตัวในการช่วยบรรเทาภาวะโลก จนกระทั่งในปีนี้ IPCC ได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลให้กับทีมวิจัยที่มีสมาชิกนับพันคนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของไทยที่มีส่วนร่วม จำนวน 4 ท่านด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงบทบาทของนักวิทยาศาสตร์ไทยในเวทีโลก และแนวทางที่จะสามารถนำมารับมือกับสภาวะโลกร้อนในประเทศไทย บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้จัดเสวนาเรื่อง “บทบาทนักวิทยาศาสตร์ไทยใน IPCC กับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2007” ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ เวลา 14.00-16.00 น. (รายละเอียดตามกำหนดการ)
ในฐานะที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมาอย่างต่อเนื่อง บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงขอเรียนเชิญท่านร่วมงานเสวนาในวันและเวลาดังกล่าว ดังกำหนดการที่ได้แนบไปด้วย
กำหนดการงานเสวนา
14.00 น. กล่าวเปิดงานเสวนา
โดย รศ.สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
14.05 น. เสวนาเรื่อง บทบาทนักวิทยาศาสตร์ไทยใน IPCC กับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2007
- บทบาทของประเทศไทย กับการดำเนินงานใน IPCC
โดย คุณอังคณา เฉลิมพงศ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การทำงานของ IPCC และผลสำเร็จกับรางวัลโนเบล
โดย ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ไทย หนึ่งคำตอบในรายงานโลกร้อนของ IPCC
ก๊าซมีเทน ข้อมูลสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดย ผศ.ดร.อำนาจ ชิดไธสง บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
การปรับตัว และความล่อแหลมต่อการปรับตัวของระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม
โดย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คู่มือการคำนวณบัญชีก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติ
โดย รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)
- การแก้ปัญหาโลกร้อนในไทย กับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
โดย อ.สุปราณี จงดีไพศาล ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- มาตรการรับมือโลกร้อน ด้วยข้อมูลจาก IPCC
โดย คุณอังคณา เฉลิมพงศ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(พร้อมสอบถามข้อคิดเห็นของนักวิจัย)
- กลไกการรวมพลังทางวิชาการ สร้าง Think Tank ของประเทศ
โดย ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ
15.30 น. สรุป/ตอบข้อซักถาม
16.00 น. ปิดการเสวนา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ