เทรนด์ ไมโคร เผยรายงานสรุปผลวิจัยภัยคุกคามครึ่งปีแรก

ข่าวทั่วไป Friday September 14, 2007 15:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยรายงานสรุปผลวิจัยภัยคุกคามครึ่งปีแรกของปี 2550 (TrendLabsSM Semi-annual Threat Roundup and Forecast) ซึ่งได้วิเคราะห์แนวโน้มของมัลแวร์ที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของโลกมัลแวร์ โดยรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีโจมตีของมัลแวร์ที่เปลี่ยนรูปแบบ แรงจูงใจ และเป้าหมาย
ยุคแห่งการแพร่ระบาดของมัลแวร์ทั่วโลกได้เกิดขึ้นแล้ว การคุกคามของมัลแวร์ในปัจจุบันยังคงยากที่จะตรวจจับได้ และขณะนี้ได้พุ่งเป้าไปยังผู้ใช้ในภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง การโจมตีเหล่านี้เป็นแบบผสมผสานและเป็นขั้นเป็นตอน ผู้เขียนมัลแวร์จะใช้การผสมผสานของมัลแวร์หลายประเภท โดย
มัลแวร์แต่ละตัวจะมีบทบาทในการทำลายที่ต่างกัน ด้วยวิธีการใช้เว็บไซต์เป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูล อัพเดท และโจมตีรุนแรงขึ้น เช่น การโจมตีอย่างมีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อนำข้อมูลที่ขโมยมาส่งกลับไปยังอาชญากรคอมพิวเตอร์หรือผู้เขียนมัลแวร์ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายก็คือรายได้จากข้อมูลที่ขโมยมานั่นเอง
ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2550 ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ของเทรนด์ ไมโคร ได้ติดตามตัวอย่างของ ภัยคุกคามหลายตัวที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสตอร์ม (Storm) ที่เกิดในช่วงต้นปี และอิตาเลียน จ็อบ (Italian Job) ที่เกิดในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้ได้การวิเคราะห์ที่ครอบคลุม และเชื่อถือได้ ศูนย์วิจัยเทรนด์ แล็บส์ ใช้วิธีการใหม่ๆ ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและรูปแบบของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป โดยรายงานสรุปสถานการณ์ของภัยคุกคามช่วงครึ่งปีแรก สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
1. ช่องโหว่ของโครงสร้างพื้นฐาน: ภัยคุกคามที่เกิดจากจุดอ่อนด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในแอพพลิเคชั่น สถาปัตยกรรมเครือข่าย หรือระบบปฏิบัติการ
2. ภัยคุกคามที่มีผลกระทบสูง: ภัยคุกคามที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้สูงมาก ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดทั่วโลก และการโจมตีแบบมีเป้าหมาย
3. ภัยคุกคามโดยใช้ข้อมูล: ภัยคุกคามที่ส่งไปยังเหยื่อเป้าหมายในรูปของเนื้อหาข้อมูล เช่น ฟิชชิง หรือ สแปม
4. ภัยคุกคามแบบเป็นกระบวนการ: ภัยคุกคามที่อยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นปฏิบัติการที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ ตัวอย่างเช่น มัลแวร์ สปายแวร์ และแอดแวร์
5. ภัยคุกคามแบบแพร่กระจาย: ภัยคุกคาม เช่น บ็อต ซึ่งจะถูกใช้เพื่อโจมตีเหยื่อที่เป็นบุคคลที่สาม
นอกจากนี้ ในรายงานฉบับนี้ยังพบด้วยว่า ยังคงมีการใช้บ็อตส์ และบ็อตเน็ตส์เพิ่มขึ้น เพื่อแพร่กระจาย สแปม และมัลแวร์ และก่ออาชญากรรมไซเบอร์ โดยบ็อตเน็ตส์ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้เขียนมัลแวร์สำหรับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ของเทรนด์ ไมโครคาดว่าภัยคุกคามบนเว็บเหล่านี้จะยังคงแพร่กระจายไปยังผู้ใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์ทั่วโลก ตราบเท่าที่การปรับใช้โค้ดร้ายยังคงสร้างกำไรให้กับผู้เขียนมัลแวร์อยู่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและรายงานฉบับเต็ม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.trendmicro.com
เกี่ยวกับบริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. เป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล และการจัดการภัยคุกคามต่างๆ บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1988 นำเสนอโซลูชั่นทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการด้านความปลอดภัยที่ได้รับรางวัลมากมายให้แก่ผู้ใช้งานส่วนบุคคลและองค์กรธุรกิจทุกขนาด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีหน่วยธุรกิจอยู่ใน 30 ประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท เทรนด์ ไมโครจัดจำหน่ายผ่านองค์กรธุรกิจ ตัวแทนจำหน่ายแบบมูลค่าเพิ่ม และผู้ให้บริการทั่วโลก สนใจข้อมูลเพิ่มเติมและชุดทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์จากบริษัท เทรนด์ ไมโครแวะเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.trendmicro.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ:
คุณบุษกร สนธิกร และคุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด
โทร. 02-439-4600 ต่อ 8202, 8300 อีเมล์ busakorns@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ