TCDC รุกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิด “บิสซิเนสพิทช์ชิ่ง-แมทช์ชิ่ง-โชว์เคส” กระตุ้นผู้ประกอบการเติมความครีเอทีฟ ใน “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561”

ข่าวบันเทิง Monday January 29, 2018 17:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ - เปิด 5 ตัวอย่างธุรกิจไอเดียบรรเจิดใน "เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561" พร้อมเผย "ความคิดสร้างสรรค์" คือหัวใจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในยุคปัจจุบัน ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจและกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Pitching & Matching) และกิจกรรมนำเสนอผลงาน (Showcase) ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 (Bangkok Design Week 2018) กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ พร้อมชี้ ผู้ประกอบการทุกประเภท ทุกอุตสาหกรรม สามารถใช้ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ทั้งสิ้น อาทิ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อช่องทางในการลดต้นทุนการผลิต การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้สินค้า-ขยายตลาดไปยังต่างประเทศ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อขยายสายการผลิตสินค้า และการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่แก้ปัญหาที่พบเจอในสังคม โดยที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้พัฒนาองค์ความรู้และสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการกว่า 100,000 ราย ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการในภาคการผลิตและธุรกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการใช้บริการของ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พบว่า ธุรกิจต่างๆ เหล่านั้น มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 26 เปอร์เซ็นต์จากรายได้เดิม ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมงานโชว์เคสในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 11.00 – 21.00 น. ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก สามารถใช้บริการรถรับ-ส่ง เส้นทางสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน ทางออก 1 – อาคารไปรษณีย์กลาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkokdesignweek.com และ www.facebook.com/bangkokdesignweek นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า ธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business) คือ 1 ใน 3 ด้านสำคัญของ การนำเสนอกรุงเทพฯ ผ่านเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 (Bangkok Design Week 2018) ซึ่งเทศกาลงานออกแบบ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ สร้างกระแสสังคมและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจสร้างสรรค์ และทำให้เมืองเป็นพื้นที่รวมตัวของเหล่านักคิด นักสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการเกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ต่อยอดเป็นธุรกิจ ซึ่งเทศกาลฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างเต็มรูปแบบ และทำให้ธุรกิจสร้างสรรค์มีโอกาสได้พัฒนา ต่อยอดมากยิ่งขึ้น นายกิตติรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ ใน 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1) กิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ (Business Pitching) และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การเปิดพื้นที่นำเสนอไอเดียธุรกิจ และพื้นที่พบปะต่อยอดธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจระหว่างคู่ธุรกิจ และนักออกแบบ หรือผู้ประกอบการ โดยผู้ที่เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ จะมีโอกาสนำเสนอไอเดียธุรกิจแบบสปีดเดท (Speed Dating) ในระยะเวลา 3 นาที ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงจับคู่ธุรกิจ กับผู้ประกอบการท่านอื่น รวมถึง นักลงทุน ฝ่ายจัดซื้อจากผู้ประกอบการชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่างๆ โดยทั้ง 2 กิจกรรมจะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ ณ ห้องฟังก์ชั่นรูม ชั้น 4 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ 2) กิจกรรมจัดแสดงผลงาน (Showcase) การเปิดพื้นที่จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์จากกลุ่มนักออกแบบหลากรุ่น นักศึกษา และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งสิ้นกว่า 230 ผลงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการต่อยอดธุรกิจ รวมไปถึงจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าชมไปพร้อมกัน โดยงานจัดแสดงผลงานโชว์เคส จะถูกจัดขึ้นตลอดระยะเวลา 9 วันของเทศกาลฯ คือ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง และบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม หนึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดกิจกรรมต่างๆ และเทศกาลงานออกแบบคือ การชี้ให้คนไทยตระหนักถึง "ความคิดสร้างสรรค์" ในฐานะหนึ่งหัวใจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในยุคปัจจุบัน ซึ่งทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม สามารถใช้ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ทั้งสิ้น อาทิ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อช่องทางในการลดต้นทุนการผลิต การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้สินค้า-ขยายตลาดไปยังต่างประเทศ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อขยายสายการผลิตสินค้า และการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่แก้ปัญหาที่พบเจอในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นการปูทางสู่การผลักดันประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งสิ้น โดยที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้พัฒนาองค์ความรู้และสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการกว่า 100,000 ราย ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการในภาคการผลิตและธุรกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการใช้บริการของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พบว่า ธุรกิจต่างๆ เหล่านั้น มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 26 เปอร์เซ็นต์จากรายได้เดิม นายกิตติรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมงานโชว์เคสในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 11.00 – 21.00 น. ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก โดยสามารถใช้บริการรถรับ-ส่ง เส้นทางสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน ทางออก 1 – อาคารไปรษณีย์กลาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkokdesignweek.com และ www.facebook.com/bangkokdesignweek สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 หมายเลขโทรศัพท์ 02-105-7441 - ธุรกิจงานดีไซน์กับการรับมือกระแสโลกเรื่องสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) นางสาวณภัทร เขียวชะอุ่ม ผู้ก่อตั้ง "ใจคราฟท์ดีไซน์" หนึ่งในผู้นำเสนอธุรกิจในกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ กล่าวว่า ใจคราฟท์ดีไซน์ (JAI CRAFT DESIGN) เกิดขึ้นจากการมองหาช่องทางการทำธุรกิจของตัวเอง โดยเกิดแรงบันดาลใจจากงานศิลปะสีน้ำของคุณพ่อที่เกษียณอายุราชการแล้ว จึงเริ่มทำโปรเจกต์ผ้าพันคอลายศิลป์ร่วมสมัยจากงานฝีมือของคุณพ่อ และเมื่อได้กระแสตอบรับที่ดี จึงเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นแบรนด์ธุรกิจอย่างเต็มตัว โดยมีแนวคิดหลัก "ผลิตงานศิลปะที่สวมใส่ได้จากการทำงานร่วมกับผู้สูงอายุรุ่นใหม่" ที่ต้องการสร้างแพลตฟอร์ม เปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มผู้สูงอายุรุ่นใหม่ได้นำเสนอและพัฒนาความสามารถของตนเองในยุคที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มตัว โดยใจคราฟท์ดีไซน์ได้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ (Business Pitching) ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ประเทศไทย และเตรียมความพร้อมในการบุกตลาดเมืองนอก - "ธุรกิจนวัตกรรมสร้างสรรค์ กับโจทย์การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน" นางสาวสุธินี กิตติภัทรากุล ผู้ก่อตั้ง "ดับบลิวซี พลัส" หนึ่งในผู้จัดแสดงผลงานโชว์เคสธุรกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการคิดค้นสินค้านวัตกรรมห้องน้ำพกพา "ดับบลิวซี พลัส" (WC PLUS+) เกิดจากการเล็งเห็นถึงปัญหาการจราจรติดขัดของประเทศไทย ที่ตามมาด้วยปัญหาการต้องการใช้สุขาระหว่างทาง จึงได้ออกแบบ สร้างสรรค์และพัฒนาเป็นห้องน้ำพกพาที่สามารถใช้ได้ทั้งเพศหญิง และเพศชาย เหมาะสำหรับการใช้บนรถ ระหว่างตั้งแคมป์ หรือการเดินทางไปต่างประเทศที่ไม่สะดวกในการใช้สุขา โดยดับบลิวซีพลัส ได้เข้าร่วมกับโครงการจัดแสดงสินค้าและต่อยอดธุรกิจ (SME Launchpad) ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เพื่อเวิร์คช็อปถึงการทำการตลาด และนำเสนอคอนเทนต์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนร่วมจัดแสดงผลงานในส่วนธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business Showcase) ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 ครั้งนี้ เพื่อเพิ่มพัฒนาและขยายช่องทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ - "ธุรกิจกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อลดต้นทุน" นางสาวมนิษฐา ไรแสง ผู้ก่อตั้ง "เอ็มเฟล็กแฟคทอรี่" หนึ่งในผู้จัดแสดงผลงานโชว์เคสธุรกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า การมองหาสิ่งใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาธุรกิจ เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเอ็มเฟล็กแฟคทอรี่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการประยุกต์ใช้ "ฟางข้าว" วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สู่ส่วนผสมของการผลิตอิฐบล็อกช่องลม 2 รูปแบบ คือ แบบเนื้อละเอียด ที่มีคุณสมบัติเสมือนอิฐบล็อกช่องลมทั่วไปทุกประการ และแบบเนื้อหยาบ ที่จะมีพื้นผิวลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งการประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดังกล่าว สามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และลดการเผาทำลาย อันทำให้เกิดมลพิษอีกด้วย ทั้งนี้ เอ็มเฟล็กแฟคทอรี่ ได้เข้าร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบในโครงการจัดแสดงสินค้าและต่อยอดธุรกิจ (SME Launchpad) และจัดแสดงผลงานธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business Showcase) เพื่อนำเสนอผลงานการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ - "ธุรกิจกับการใช้ความครีเอทีฟ ขยายสายการผลิตสินค้า" นายวินัยธน จิระไตรลักษณ์ ผู้ก่อตั้ง "คารุนาอิ เฟอร์นิเจอร์" หนึ่งในผู้จัดแสดงผลงานโชว์เคสธุรกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า เดิมที คารุนาอิ ได้ทำการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปแบบบิวท์อินเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้เล็งเห็นช่องทางในการสร้างสรรค์ผลงานในสายการผลิตใหม่ เพื่อประโยชน์ในด้านการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ และประโยชน์ทางธุรกิจในการค้าขาย จึงออกแบบและพัฒนา "เชลเตอร์ผู้ลี้ภัย" ที่พักขนาดเล็กที่สามารถประกอบง่ายด้วยการใช้คนเพียง 2 คน โดยผลงานดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อจำหน่ายจริง และต่อยอดสู่การผลิตบ้านสำเร็จรูปแบบน็อคดาวน์ (Knockdown house) ต่อไป โดย คารุนาอิ เฟอร์นิเจอร์ ได้เข้าร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบในโครงการจัดแสดงสินค้าและต่อยอดธุรกิจ (SME Launchpad) และจัดแสดงผลงานธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business Showcase) เพื่อขยายช่องทางธุรกิจ - "ธุรกิจงานดีไซน์สร้างมูลค่าเพิ่มเท่าตัวจากเอกลักษณ์สิ่งทอเฉพาะตัว" นายฐากร ถาวรโชติวงศ์ ผู้ก่อตั้ง "ฐากรเท็กซ์ไทล์ สตูดิโอ" หนึ่งในผู้จัดแสดงผลงานดีไซน์โชว์เคส กล่าวว่า สำหรับคอลเลคชั่นล่าสุดของ ฐากรเท็กซ์ไทล์ สตูดิโอ ได้สร้างสรรค์เป็นสิ่งทอเอกลักษณ์ประจำแบรนด์ คือ อินเตอร์นิท (Interknit) หรือการใช้เส้นหนังถักด้วยเครื่องถักอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีเอกลักษณ์มาผลิตเป็นสินค้าแฟชั่น และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดย ฐากรเท็กซ์ไทล์สตูดิโอ ได้เข้าร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ตั้งแต่กิจกรรม เดบิวท์วอลล์ (DEBUT WALL) พื้นที่ประชาสัมพันธ์แบบตรงกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่สนใจงานสร้างสรรค์และงานออกแบบ และต่อเนื่องมาจนถึงการจัดแสดงผลงานดีไซน์โชว์เคส ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ในครั้งนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ