กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--โปร มีเดีย พีอาร์ ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ Opening Ceremony BioAsia 2007 Thailand; The 6th Asian Crop Science Association Conference and The 2nd International Conference on Rice for the Future Graciously Presided over By H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn At the Ballroom, Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok On Monday, 5th November 2007, 07:00-10:00 hrs. ในนามของผู้จัดงาน และผู้ร่วมสนับสนุน มีความยินดีขอเชิญสื่อมวลชนร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ BioAsia 2007 Thailand; The 6th Asian Crop Science Association Conference and The 2nd International Conference on Rice for the Future และเนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ทรงเสด็จเปิดงานดังกล่าว ในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2550 เวลา 07:00-10:00 น. ณ ห้องบอลลูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ตามหมายกำหนดการที่แนบมานี้) BioAsia 2007 Thailand : ความสำคัญของงานในเวทีนานาชาติของการจัดการประชุมและงานนิทรรศการในปีนี้ และการตอบรับความร่วมมือในระดับภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมสำคัญในระหว่างงาน งานไบโอเอเชีย 2007 หรือ BioAsia 2007 " The 1st International Trade Exhibition and Conference for Biotechnology และการเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติ นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช หรือ The 6th Asian Crop Science Association Conference และ การประชุมนานาชาติข้าวเพื่ออนาคต หรือ The 2nd International Conference on Rice for the Future โดยนักวิจัยชั้นนำของโลก พร้อมการจัดแสดง "พระมหากษัตริย์กับข้าวไทย" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระราช กรณียกิจเกี่ยวกับข้าวไทย การประชุมเจรจาทางธุรกิจประเทศในเอเชีย 8 ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย และการประกาศรางวัลเคียวทอง (The Golden Sickle Award) โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ การประชุมนานาชาติ The 6th Asian Crop Science Association Conference จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยครั้งที่แล้วจัดให้มีขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย และในปีนี้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 6 การประชุมประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพืช และเป้าหมายสำคัญของการประชุม คือ สร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาการเกษตรทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป และสร้างเครือข่ายนักวิจัยให้ขยายตัวมากขึ้น The 2nd International Conference on Rice for the Future เป็นเวทีที่จัดขึ้นจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานซึ่งได้เห็นร่วมกันว่า ข้าวไทยเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และมีงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ หน่วยงานที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีนี้ ได้แก่ ศูนย์ไบโอเทค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร และ Generation Challenge Program" โดยในงานประชุมนี้ จะมีนักวิจัยชั้นนำของโลก เช่น นักวิจัยจากประเทศ อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เป็นต้น มาบรรยาย การมอบรางวัลเคียวทอง (The Golden Sickle Award) เป็นการประกาศรางวัลแก่นักวิชาการผู้มีคุณณูปการต่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าวระดับโลก ซึ่งในปีนี้มีนักวิชาการที่ได้รับรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ 1. Dr. Gurdev Singh Khush, University of California, USAเป็นผู้พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆมากกว่า 300 สายพันธุ์ 2. Prof. Susan McCouch, Cornell University, USAเป็นนักวิจัยคนแรกๆที่วางแผนที่ยีน ซึ่งต่อมาหาลำดับเบสจีโนมข้าวได้เรียบร้อยแล้ว โดยการมอบรางวัลในพิธีเปิดงาน โดยทั้งสองท่านมาร่วมบรรยายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ด้วย ในหัวข้อ How to Feed Five Billion Rice Consumers in 2030 และ Through the Genetic Bottleneck: Discovery and Utilization of Wild Alleles for Crop Improvement Asia Bio Business Partnering 2007 โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ไบโอเทค และ BOI ได้จัดขึ้นในงานนี้เพื่อเป็นการจัดประชุมหารือทางธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสทางการเจรจาทางธุรกิจระหว่างบริษัทเอกชน/หน่วยงานรัฐที่สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมประมาณ 40 บริษัท จาก 8 ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย" นิทรรศการ Biotech Pavilion ได้จัดขึ้นให้สอดคล้องกับการจัดการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติในเรื่อง Crop Science และ Rice for the future โดยมีการนำเสนอแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. Seed and Germplasm เป็นการจัดแสดงผลงานการรวบรวมแหล่งพันธุกรรมของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ต่างๆที่มีอยู่หลากหลายในประเทศ ให้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย เพื่อการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน และเพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ที่ดีในรูปแบบดั้งเดิมโดยไม่มีการกลายพันธุ์ โดยเก็บรักษาไว้ในหลากรูปแบบ ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บรักษาต้นกล้าเพื่อการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ โดยจะมีการแจกเมล็ดพันธุ์เพื่อการนำไปเพาะปลูกภายในงานนี้ด้วยGermplasm ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 5 ชนิด จะได้ถูกนำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ ข้าวโพด, พริก, แตงกวา, มะเขือเทศ และ กระเจี๊ยบเขียว 2. Rice for the future เป็นการจัดแสดงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่ความต้องการของประเทศ อาทิ ข้าวทนน้ำท่วม ข้าวทนเค็ม และข้าวทนต่อศัตรูพืชต่างๆ รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณค่าทางอาหารที่สูงขึ้น โดยภายในงานนี้จะได้มีการนำเสนอพันธุ์ข้าวที่ได้ผ่านการประกวดสุดยอดข้าวไทยในด้านต่างๆ อาทิสุดยอดข้าวทนทาน สุดยอดโภชนาการ และสุดยอดความหอม 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาพันธุ์พืช อาทิ ข้าวหลากสีและข้าวที่มีการพัฒนาทางโภชนาการ ข้าวที่ให้ธาตุเหล็กในปริมาณสูง ข้าวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้นำมาหุงให้ชิมภายในบริเวณงานนอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ Snack Slim ซึ่งเป็นมะเขือเทศผลสด ที่ใช้รับประทานเป็นของว่างเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี ข้าวโพดข้าวเหนียว พริกสด พริกป่น แตงกวาดองมาจัดแสดงให้แก่ผู้สนใจ"นิทรรศการพระมหากษัตริย์กับข้าวไทย" นิทรรศการพระมหากษัตริย์กับข้าวไทยในงาน BIO Asia นี้ นอกจากจะนำเสนอพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัยแล้ว ยังจัดแสดงควบคู่กับการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นถึงความสนพระทัยและความเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติของแต่ละพระองค์ จากยุคสมัยกรุงสุโขทัย มาจนถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช ที่ทรงวางรากฐานที่สำคัญแก่เกษตรกรชาวไทยแบบครบวงจร ทั้งในด้านการชลประธาน การจัดตั้งธนาคารข้าว การแก้ปัญหาดินเค็ม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาข้าว จนเป็นที่ประจักษ์ไม่เพียงแต่ผสกนิกรชาวไทย แต่ยังได้แผ่ขยายสู่นักวิชาการและนานาประเทศทั่วโลก ส่วนของงานแสดงเทคโนโลยีชีวภาพ "ไบโอเอเชีย 2007" ในปีนี้ : BioAsia Exhibition 2007ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนงานและเข้าร่วมงานโดยบริษัท/ธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากทั้งในและต่างประเทศประมาณ 150 บริษัทจากประเทศ ญี่ปุ่น จีน, ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมนี เบลเยี่ยมโดยจะมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน" และคาวว่ามีผู้เข้าชมงาน 8,000-10,000 คน โดยการจัดการประชุมนานาชาติ และการจัดกิจกรรมสำคัญในงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 และส่วนงานแสดงสินค้าไบโอเอเชีย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งาน ไบโอเอเชีย (BioAsia 2007) และการประชุมนานาชาติ พร้อมการจัดกิจกรรมสำคัญในงาน โดยการจัดการประชุมนานาชาติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2550 และส่วนงานนิทรรศการ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ BioAsia 2007 และการประชุมนานาชาติ ได้จัดขึ้นโดย บริษัท เอส.แอล.เอ็ม. แมเนจเม้นท์ จำกัด และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสนับสนุนการจัดงานโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ สำนักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หมายกำหนดการที่จัดขึ้นในงานสำหรับสื่อมวลชน และขอเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วม มีดังนี้ BioAsia 2007 "Hi Tea" session: Media Interview the winner of the Golden Sickle Award 2007, on Monday, 5 November 2007, at 16:00 — 17:30 hrs., at Ballroom (Hall A), Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok พิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง S.L.M. Management Co., Ltd. และ TCELS ในวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน นี้ เวลา 17:00-18:00 น.ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากนี้งาน BioAsia 2007 และการประชุมนานาชาติ ยังได้ประชาสัมพันธ์งานในรูปแบบของ Digital Streaming & Broadcasting System และประชาสัมพันธ์ในรูปของ E-Book, E-Newsletter สามารถเข้าชมเว็บไซด์ www.bioasia-2007.com จึงเรียนมาเพื่อเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและร่วมใน Media/Press Function ในครั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ คุณภัทรพร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โปร มีเดีย พีอาร์ จำกัด โทร 02-632-6728-9 แฟกซ์ 02-632-6729 หรือมือถือ (Amy) 081-843-0868 อีเมล์: [email protected], [email protected] หรือ คุณบงกช สาริมาน เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (ไบโอเทค) โทร 02-564-6700 ต่อ 3114 อีเมลล์ : [email protected]