คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สัมมนาเรื่อง “บทเรียนจากจีนาฯ นโยบายความมั่นคง ในการทำงานจะไปทางไหน”

ข่าวปฏิทินข่าว Tuesday October 30, 2007 13:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สัมมนาเรื่อง “บทเรียนจากจีนาฯ นโยบายความมั่นคง ในการทำงานจะไปทางไหน” ณ ห้องประชุม 101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เวลา 08.30 - 16.30 น.
โครงการสัมมนา เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี การเลิกกิจการของบริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด
เรื่อง วิกฤติความมั่นคงในการทำงาน...ทางออกอยู่ที่ไหน ?
จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทย
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วันที่ 31 ตุลาคม 2550
ณ. ห้องประชุม 101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
07.30 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.45 น. กล่าวเปิดโดย ศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นายพรชัย อยู่ประยงค์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน
09.45 - 10.00 น. พัก ดื่มกาแฟ
10.00 - 10.30 น. เสนอรายงานการศึกษา เรื่องผลกระทบการเลิกกิจการของบริษัทจิน่าฯ
โดย นางสาวปิ่นรัฐ ปานถาวร ศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทย
10.30 - 12.00 น. เสียงจากคนตกงาน...กรณีโรงงานเลิกกิจการ
1. นางสาวสุรัตน์ ตุ้มจิบ อดีตรองประธาน สร.จิน่าสัมพันธ์
2. นางสาว ฑิฆัมพร เชิดมี ตัวแทนคนงานเย็บผ้า M.GARMENT
3. ตัวแทนอดีตพนักงาน บริษัทไทยศิลป์ฯ
4.นายทรงศักดิ์ ศรีแทน อดีตประธานสร.อุตสาหกรรมพลาสติกฯ
ดำเนินการโดย นายสมศักดิ์ พลายอยู่วงษ์ ศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทย
12.00 —13.00 น. พัก รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 — 16.30 น. อภิปรายเรื่อง นโยบายคุ้มครองความมั่นคงในการทำงานจะไปทางไหน ?
1. รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ ที่ปรึกษาศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทย
2. นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
3. นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
4. นาย พรหมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าฯ
5. นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
ดำเนินการโดย นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
16.30 น. ปิดการสัมมนา
โครงการสัมมนา เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี การเลิกกิจการบริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด
เรื่อง วิกฤติความมั่นคงในการทำงาน...ทางออกอยู่ที่ไหน ?
หลักการและเหตุผล
การเลิกกิจการของบริษัทจิน่า ฟอร์มบรา จำกัด ในเดือน ตุลาคม 2549 เป็นสันญาณเตือนภัยว่ากิจการของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และตัดเย็บเสื้อผ้า กำลังถดถอยและเคลื่อนย้ายทุนออกจากประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยสูญเสียอำนาจการแข่งขันกับประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย จีน เวียดนาม บังคลาเทศ เป็นต้น ทำให้มีการปิดกิจการมากขึ้น คนงานบางส่วนก็ได้ค่าชดเชย และไม่ได้ค่าชดเชยเพราะนายจ้างหนีไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย ประกอบกับกฎหมายแรงงานก็ไม่มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับภาวการณ์ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันรัฐบาลเองยังไม่มีนโยบายในการรองรับปัญหาคนงานที่ต้องตกงาน กลับปล่อยให้เผชิญกลับชะตากรรมด้วยตนเอง มีการปิดกิจการมากขึ้น
ศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทยได้ทำการศึกษาและวิจัยจากกลุ่มอดีตคนงานบริษัทจิน่าฯจำนวน 200 กว่าตัวอย่างเพื่อติดตามผลกระทบภายหลังจากที่บริษัทได้เลิกกิจการว่าคนงานเหล่านี้ไปทำงานอยู่ในระบบโรงงานหรือทำงานนอกระบบ มีความมั่นคงในการทำงานมากน้อยขนาดไหน รัฐเองมีนโยบายในการรองรับต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เนื่องจากในปัจจุบันมีการปิดโรงงานในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทย ร่วมกับคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดให้มีการสัมมนาเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี การเลิกกิจการบริษัท จิน่าฯ เรื่อง วิกฤติความมั่นคงในการทำงาน...ทางออกอยู่ที่ไหน ? วันที่ 31 ตุลาคม 2550 ณ. ห้องประชุม 101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเสนอรายงานการศึกษาปัญหาคุณภาพชีวิตคนงานและผลกระทบการเลิกกิจการบริษัทจิน่าฯ
2. เพื่อระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมต่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น
รูปแบบ/เนื้อหา
นำเสนอผลการวิจัย และสัมมนา
ผู้เข้าร่วม จำนวน 70 คน ประกอบด้วย ผู้นำสหภาพแรงงาน นักวิชาการ หน่วยงานราชการ ผู้สื่อข่าว องค์กรพัฒนา เอกชนด้านแรงงาน และผู้สนใจอื่นๆ
วัน/เวลา/สถานที่
วันที่ 31 ตุลาคม 2550 ณ.ห้องประชุม101สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
องค์กรร่วมจัด
ศูนย์ส่งเสริมสิทธิกรรมกรไทย
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมได้รับผลการศึกกรณีการเลิกกิจการของโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อคนงาน
2. ผู้เข้าร่วมได้ร่วมแลกปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
3. ได้ข้อเสนอและความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมที่จะนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ