ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบลูสโคป สตีล คนใหม่ เผยทิศทางธุรกิจปี 2551 มุ่งต่อยอดการลงทุนธุรกิจเหล็กและขยายการบริโภคเหล็ก

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday December 19, 2007 10:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
มร. พอล โอ’ มัลลีย์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูสโคป สตีล ผู้ผลิตเหล็กชั้นนำจากออสเตรเลีย ประกาศแผนธุรกิจ กลยุทธ์และทิศทางธุรกิจของบริษัทในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ ณ กรุงซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย หลังเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
มร. โอ’ มัลลีย์ กล่าวว่า “แผนธุรกิจปีหน้าจะเป็นการพัฒนาต่อยอดจากความสำเร็จและขีดความสามารถอันโดดเด่นของบลูสโคป สตีล ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ เราจะมุ่งขยายปริมาณการใช้เหล็กในประเทศต่างๆ และมุ่งพัฒนาธุรกิจของบริษัทในภูมิภาคเอเชียและอเมริกาเหนือ รวมถึงการเข้าซื้อหรือสร้างธุรกิจใหม่ๆ”
ทั้งนี้ จะมุ่งขยายการลงทุนในธุรกิจต่างๆ ได้แก่ ธุรกิจโรงงานเหล็กที่เมืองพอร์ท เคมบลา ออสเตรเลีย ซึ่งมีการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงานเหล็กที่ใช้พลังงานความร้อนร่วม มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญออสเตรเลีย รวมถึงเร่งดำเนินงานโครงการสำคัญ ได้แก่ การก่อสร้างเตาเผาเหล็กขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกมูลค่า 330 ล้านเหรียญออสเตรเลีย และการเตรียมปรับปรุงโรงผลิตเหล็กด้วยงบลงทุน 134 ล้านออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม 2552 และในประเทศนิวซีแลนด์ บลูสโคป สตีลมี 2 โครงการที่อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ โดยจะนำทรัพยากรทรายที่อุดมด้วยแร่เหล็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับตลาดอุตสาหกรรมการก่อสร้างในภูมิภาคเอเชียนั้น ประเทศอินเดียและจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ ของภูมิภาค แต่มีการบริโภคเหล็กสำหรับการก่อสร้างในระดับต่ำ จึงเป็นประเทศที่มีลู่ทางขยายธุรกิจ อีกมาก โดยเฉพาะเมื่อบริษัทได้ร่วมทุนกับผู้ผลิตเหล็กระดับโลกของอินเดียจัดตั้ง บริษัท ทาทา บลูสโคป สตีล จึงทำให้การบุกเบิกตลาดในอินเดียมีการเติบโตอย่างสดใส และสามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เหล็กให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าทั่วโลก
“ด้านการผลิต เราจะให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของโลกปัจจุบัน ควบคู่ไปกับลดต้นทุนต่อทุกๆ 1 ตันของเหล็กที่ผลิตได้ ทั้งนี้ เราได้ วางแผนกิจกรรมมากกว่า 200 กิจกรรม และดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวเพื่อให้บรรลุผลตาม เป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า รวมทั้งจะมีการปรับโครงสร้างองค์กรตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา” มร. โอ’ มัลลีย์ กล่าวเสริม
สำหรับในประเทศไทย บลูสโคป สตีล เป็นบริษัทจดทะเบียนของออสเตรเลียที่มีการลงทุนสูงสุดในประเทศไทย โดยมีการดำเนินงานตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการก่อสร้างและการผลิตในประเทศไทย
มร. ปีเตอร์ วิลสัน ประธาน บริษัท บลูสโคป สตีล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ด้วยงบการลงทุนมูลค่ามากกว่า 8,000 ล้านบาทในประเทศไทย บลูสโคป สตีล เป็นบริษัทเหล็กที่แข็งแกร่งและมีบริการขายและการสนับสนุนทางเทคนิคที่ดีเยี่ยม ทั้งยังมีผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในไทยได้อย่างทั่วถึง” และเสริมว่า “เรามุ่งมั่นขยายส่วนแบ่งการตลาด ด้วยการส่งเสริมการใช้ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารแทนวัสดุเดิมเพื่อประสิทธิภาพที่สูงกว่า ด้วย คุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ ทั้งยังมีความแข็งแกร่งและทนทานเป็นเลิศ โดยใช้เทคโนโลยี การเคลือบชั้นนำระดับโลก ในอนาคต บลูสโคป มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ และเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้า นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์เหล็กคุณภาพสูง ตอกย้ำปณิธานของบริษัทที่มุ่งเป็นผู้นำทาง ด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบ เหล็กเคลือบสี เหล็กขึ้นรูป และเหล็กโครงสร้างอาคารสำเร็จรูป”
บลูสโคป สตีล ประเทศไทย ได้พัฒนาและแนะนำผลิตภัณฑ์เหล็กลิขสิทธิ์เฉพาะ อาทิ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีคลีน คัลเลอร์บอนด์ (Clean COLORBOND) ที่ได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อสภาพ ภูมิอากาศร้อนชื้นในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีคลีน คัลเลอร์บอนด์ มีคุณสมบัติที่เหนือชั้นกว่าเหล็กสังกะสีเคลือบสี ทั้งนี้ด้วยระบบการเคลือบสีที่มีประสิทธิภาพดีกว่าในการทนต่อสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น และการสะสมของคราบฝุ่นสกปรก ทำให้มีสีสดใส ไม่ซีดจาง ไม่เป็นสนิม และด้วยเทคโนโลยีอินฟาเรด จึงช่วยสะท้อนความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม และเมื่อนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลังคา จึงทำให้พื้นผิวหลังคาเย็นลง นอกจากนี้ ยังกันฝุ่นและทนทานต่อการหลุดลอกของ แผ่นฟิล์ม ทำให้อาคารแข็งแรงและสวยงดงามยาวนาน
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ศรีเบญจา หรือ สาธิดา บ. อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
โทร 02 252 9871 อีเมล์ sribenja.s@abm.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ