การประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ข่าวท่องเที่ยว Friday December 21, 2007 13:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--ท่าอากาศยานไทย
พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ครั้งที่ 37/2550 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2550 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ ทอท. ชั้น 7 โดยมีสาระสรุปดังนี้
การจัดซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการปรับปรุงอาคาร เพื่อชดเชยผลกระทบด้านเสียง จากการดำเนินงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.)
คณะกรรมการ ทอท.มีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ ทอท.จ่ายค่าชดเชยผลกระทบด้านเสียงให้แก่เจ้าของที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากการดำเนินงานของ ทสภ.ที่ก่อสร้างก่อน วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2544
ทั้งนี้ การจัดซื้อที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลกระทบให้เทียบเคียงกับ แนวทางการกำหนดค่าทดแทนความเสียหายที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530
2. สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหลังปี 2544 จนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 ทอท.จะให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม โดย ทอท.จะพิจารณาจาก
- มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550
- หลักการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
- ผลกระทบจากการดำเนินการจริง
นโยบายธรรมาภิบาลของ ทอท.
คณะกรรมการ ทอท.ให้ความเห็นชอบนโยบายธรรมาภิบาลของ ทอท.ใหม่ จำนวน 11 ข้อ ซึ่งมีรายละเอียดครบถ้วนตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประจำปี 2549 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อประกาศใช้แทนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ทอท.เดิม จำนวน 5 ข้อ รายละเอียดตามเอกสารแนบ
แนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตในระยะยาว
ตามที่ คณะกรรมการ ทอท.มีมติให้ ทอท.จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) ในระยะยาว (20 — 25 ปี) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา การปรับปรุงผังแม่บท การวางแผนพัฒนา ทภก.ระยะต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั้น คณะกรรมการ ทอท.ได้เห็นชอบ ให้ ทอท.ใช้กรอบในการพัฒนา ทภก. ดังนี้
1. พัฒนาภายในพื้นที่ของ ทภก.โดยใช้ระบบทางวิ่งทางขับในสภาพปัจจุบัน เพื่อรองรับ ผู้โดยสารรวมได้ประมาณ 15 ล้านคน/ปี จนถึงปี 2563
เนื่องจากขีดจำกัดของระบบทางวิ่ง — ทางขับทำให้ทางวิ่งมีขีดความสามารถในการให้บริการอากาศยานได้ประมาณ 20 เที่ยวบิน/ชั่วโมง
เมื่อพัฒนาเต็มพื้นที่ของ ทภก.คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารรวมได้ประมาณ 15 ล้านคน/ปี จนถึงปี 2563 โดยดำเนินการดังนี้
- ปรับปรุงระบบทางขับและลานจอดอากาศยาน เพื่อรองรับหลุมจอดอากาศยาน จำนวน 29 หลุมจอด
- อาคารผู้โดยสารระหว่างหลังใหม่และอาคารเทียบเครื่องบิน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
- ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
- อาคารคลังสินค้า
- อาคารที่จอดรถ สำนักงาน และกิจกรรมเชิงพาณิชย์
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงาน ทภก., อาคารเอนกประสงค์, อาคารคลังสินค้า และอาคารบริการภาคพื้น, อาคารสำนักงาน ทภก.และอาคารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กรณีสามารถจัดหาพื้นที่ทดแทนบ้านพักบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ได้ สามารถเพิ่มพื้นที่อาคารผู้โดยสารในส่นกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และอาคารเทียบเครื่องบินได้
2. พัฒนาจัดหาที่ดินเพิ่มโดยสร้างทางวิ่งใหม่ สร้างลานจอดอากาศยานและอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ทางด้านใต้ของทางขับตามแนวทางของ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ (บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ บริษัท หุยส์ เบอร์เยอร์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ลุฟแฮนซ่า คอนซัลท์ติ้ง จีเอ็มบีเอช) เพื่อรองรับผู้โดยสารรวมได้ประมาณ 22 ล้านคน/ปี จนถึงปี 2568
โดยเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่ง — ทางขับ ทำให้ทางวิ่งมีขีดความสามารถในการให้บริการอากาศยานได้ประมาณ 30 เที่ยวบิน/ชั่วโมง โดยดำเนินการดังนี้
- สร้างทางวิ่งขนาด 45 x 3,700 เมตร ห่างจากทางวิ่งเดิม 200 เมตร
- ปรับปรุงทางวิ่งเดิมเป็นทางขับขนาน
- สร้างหลุมจอดอากาศยานเพิ่มเติมอีก 11 หลุมจอด (รวมเป็น 40 หลุมจอด)
- อาคารผู้โดยสารภายในประเทศและพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ หลังที่ 2 เพื่อรองรับในอนาคต
- อาคารคลังสินค้าหลังที่ 2 และอาคารบริการภาคพื้น
ผลกระทบ
- ประสานส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติม
- ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- จัดหาที่ดินและชดเชยทรัพย์สินสำหรับการก่อสร้างสนามบินและเขตควบคุมความปลอดภัยในการเดินอากาศ
- งบประมาณและเวลาในการดำเนินการสูงกว่าทางเลือกที่ 1
- รื้อย้ายและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. พัฒนัดหาที่ดินเพิ่ม โดยสร้างทางวิ่ง — ทางขับขนานใหม่ สร้างลานจอดและอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ริมทะเลทางด้านเหนือของทางวิ่ง เพื่อรองรับผู้โดยสารรวมได้ประมาณ 22 ล้านคน/ปี จนถึงปี 2568
โดยเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่ง — ทางขับ ทำให้ทางวิ่งมีขีดความสามารถในการให้บริการอากาศยานได้ประมาณ 30 เที่ยวบิน/ชั่วโมง โดยดำเนินการดังนี้
- สร้างทางวิ่งขนาด 45 x 3,700 เมตร ห่างจากทางวิ่งเดิม 200 เมตร
- ปรับปรุงทางวิ่งเดิมเป็นทางขับขนาน
- สร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศและพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ หลังที่ 2 เพื่อรองรับในอนาคต
- สร้างทางขับขนาน ทางด้านเหนือของทางวิ่ง เพื่อเป็นเส้นทางอากาศยานเข้า — ออก จากทางวิ่งไปสู่ลานจอดหน้าอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
- สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง — ทางขับ เพื่อเชื่อมอาคารผู้โดยสารทั้งสองฝั่ง
- จัดหาเส้นทางถนนจากภายนอกใหม่หรือขยายถนนเดิม เข้าสู่อาคารผู้โดยสารหลังใหม่
- สร้างหลุมจอดอากาศยานเพิ่มเติมอีก 11 หลุมจอด (รวมเป็น 40 หลุมจอด)
- อาคารคลังสินค้าหลังที่ 2 และอาคารบริการภาคพื้น
ผลกระทบ
- ประสานส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติม
- ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- จัดหาที่ดินและชดเชยทรัพย์สินสำหรับการก่อสร้างสนามบินและเขตควบคุมความปลอดภัยในการเดินอากาศ
- งบประมาณและเวลาในการดำเนินการสูงกว่าทางเลือกที่ 2
- รื้อย้ายและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การสร้างอุโมงค์อาจกระทบต่อการให้บริการขึ้น- ลงของอากาศยาน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ