เบื้องหน้าตลก แต่ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยายกว่าจะเป็นวันนี้ของ “ทีม Psycho (ไซโค)”

ข่าวบันเทิง Tuesday September 4, 2018 16:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.-- เบื้องหน้าที่ดูสนุกสนาน กับโชว์ที่เรียกเสียงหัวเราะ ท่ามกลางความหวาดเสียวของทีม Psycho (ไซโค) นั้น ใครจะรู้ว่าชีวิตของพวกเขาไม่ได้หัวเราะ และ อารมณ์ดีอย่างที่เห็น เรียกว่าจะดราม่าเลยเสีย ด้วยซ้ำ กับเรื่องราวของ คิว - กรุงเทพ แซ่ลิ้ม อายุ 31 ปี ผู้เป็นพี่ที่นำแสดงโชว์ เล่าให้เราฟังว่า "ผมกับน้องชาย ม่อน (ผู้ช่วยในการแสดง) อายุ 18 ปี เป็นน้องชายคนละคุณพ่อกันครับ จุดเริ่มต้นของการแสดงโชว์ของผมนั้น มาจากการที่เป็นนักแสดงกายกรรม เล่นจักกลิ้ง มาก่อน เมื่อก่อนก็เล่นกับอุปกรณ์ที่ เบสิคธรรมดาๆ ทั่วไป ด้วยความที่ว่า คุณพ่อของผมเป็นนักแสดงยุคเก่า ถ้าเอ่ยชื่อไป หลายคนคงอาจจะรู้จัก กับฉายา "หงจินเป่าเมืองไทย" ทำให้ผมค่อยๆ ซึมซับความเป็นตลกในโชว์ของผมเอง และปรับเปลี่ยนรูปแบบโชว์โดยใส่ความเป็นตัวเองลงไป ก็เลยเป็นอย่างที่เห็นกันครับ" ด้วยความที่ชีวิตวัยเด็ก ไม่ได้สมบูรณ์แบบ จึงทำให้คิวได้มองเห็นชีวิตรอบด้านในโลกใบนี้ จากชีวิตวัยเด็กที่เสเพล ความยากจนของครอบครัว และครอบครัวแตกหัก จึงทำให้คิวได้เรียนรู้ชีวิตมากกว่าเด็กในช่วงอายุเดียวกัน "ผมว่าชีวิตของผม เป็นคนมองโลก และเห็นในทุกด้านของชีวิตนะครับ เพราะก่อนหน้านี้ ผมใช้ชีวิตวัยรุ่นที่ค่อนข้างหนักหน่วงมาก ความยากจน ถึงขนาดไปกินพวกข้างแกงข้าวถนนที่ร้านขายข้างเค้าเททิ้ง เราต้องรีบไปรอ ก่อนที่หมาข้างถนนจะไปแย่งเรากิน (เล่าไปปนหัวเราะไป) ผมเรียนจบในระดับชั้น ม.2 เองครับ และผมก็เริ่มหาเดินหาโอกาสที่ถนนข้าวสาร ตอนนั้นเราก็ชอบเล่นสเก็ตบอร์ด จนได้เจอกับฝรั่งคนหนึ่งที่เขาสามารถทำอะไรแปลกๆ ได้ เราเลยใช้วิธีแลกเปลี่ยนกัน เขาสอนเรา เราก็สอนเขาเล่นสเกตบอร์ดแทน ผมเริ่มโชว์ในช่วง อายุ 16 ปี ช่วงแรกที่เราฝึกเล่นจักกลิ้งนั้น ก็หารายได้ด้วยการเป็นเด็กยกของให้ทีมงาน ได้ครั้งละ 50 บาท ไปด้วย จนครูหันมาถามผมอย่างจริงจัง ให้เราเลือกเรียนรู้วิชา ระหว่างโชว์กังฟู กับ จักกลิ้ง ซึ่งผมโชคดีได้เรียนรู้ทั้งสองอย่างเลย อย่างจักกลิ้งครูโยนแค่ลูกเทนนิสให้ 3 ลูก แล้วสมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือ Youtube ไง เราก็ฝึกตามความคิดเรา จุดเปลี่ยนในการแสดง ใช้เวลาประมาณ 11 ปีแล้วที่เราทำอาชีพแบบนี้ แต่โชว์โยนมีด หรือเลื่อยยนต์ มาในตอน 5 ปีหลัง ตอนแรกก็ไม่กล้าเท่าไหร่ ฝึกฝนเองโดยการใช้ไม้พายข้าวเหนียวทาสีทำตำหนิเอาว่าเป็นด้านไหน ถ้าถามว่าเคยพลาดไหม ก็เคยอยู่แล้ว การผิดพลาดเกิดขึ้นได้ทุกเวทีและในทุกเวลาของการแสดง แต่ประสบการณ์กว่า 11 ปีนี้ สอนให้เราแก้เกมส์ได้เป็นครับ"
แท็ก ว่าน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ