ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดจับมือภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ เพาะศักยภาพบัณฑิต 4.0 ตอบโจทย์ตลาดแรงงานโลก

ข่าวทั่วไป Thursday September 13, 2018 13:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--อินเด็กซ์ ครีเอทีฟวิลเลจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ก้าวสู่ความสำเร็จกว่า 23 ปี จับมือภาคอุตสาหกรรม ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่จะสร้างทักษะให้เป็นที่ต้องการในยุคศตวรรษที่ 21 พร้อมความร่วมมือนำร่องเพาะศักยภาพบัณฑิต 4.0 ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานสากล นายทิม บิวโลว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือมหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอทประเทศไทย มาเลเซียและเวียดนาม เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ด้านความร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรียนการสอนที่จะสร้างทักษะให้เป็นที่ต้องการในยุคศตวรรษที่ 21พร้อมบทบาทความร่วมมือของภาคเอกชนที่ได้ให้การสนับสนุนภาคการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น ร่วมพัฒนาหลักสูตรตามข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของตลาด การให้ความรู้ในการบรรยายพิเศษต่างๆ เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมการฝึกงาน ดูงาน จัดกิจกรรมการอมรม เวิร์คช็อป การให้คำแนะนำด้านการพัฒนาหลักสูตร การร่วมเป็นที่ปรึกษาหลักสูตร ตลอดจนการให้โจทย์ทางธุรกิจแก่นักศึกษา (Industry Project) ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างทักษะที่สำคัญและจำเป็นให้กับบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดได้ใช้ความเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำ ที่มีคณาจารย์และนักศึกษานานาชาติจำนวนมากกว่า 100 ประเทศ ภายใต้สังคมนานาชาติที่มาเรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเพื่อนนักศึกษาชาวต่างชาติ การใช้นวัตกรรมใหม่ควบคู่เทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์จากคณาจารย์กว่า 34 ประเทศ และที่สำคัญคือความร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรม หนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการบ่มเพาะทักษะสร้างบัณฑิตที่ตอบโจทย์ภาคเอกชน เกิดความพร้อมก่อนการทำงานในบริษัททั้งไทยและต่างประเทศ ตลอดจนได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในตลาดแรงงาน ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และประเทศได้ อีกทั้งตลอด 23 ปีที่ผ่านมา ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีการขยายฐานความแข็งแกร่งด้วยการสร้างเครือข่ายร่วมกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมมากกว่า300 บริษัท อาทิ บีเอ็มดับเบิลยูกรุ๊ป ประเทศไทย, ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง, หอการค้าไทย - อิตาเลี่ยน, Cartoon Club Media, ECCO Thailand, Foodpanda, G-Able, Holiday Inn, Hubvisor, Index Creative Village, Maybank Kim Eng, MCOT, Srithai Superware, SANET (Thailand), Impact Exhibition Management, L'Oreal Thailand เป็นต้น อีกทั้งมีการนำเสนอและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ จึงทำให้ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นายกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มีเครือข่ายการผลิต 30 แห่งใน 14 ประเทศ ครอบคลุมทั่วโลกเป็นองค์กรที่มีความหลากหลาย มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านตลาดรถยนต์โลกที่สามารถแชร์ให้นักศึกษาแสตมฟอร์ดได้รู้ข้อมูล แนวโน้มของตลาดรถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น แนวคิดของบีเอ็มดับเบิลยู เรื่อง ACES คือ Autonomous ที่เชื่อว่าโลกเปลี่ยนไปรถยนต์จะสามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้ Connectivity การเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี Electric คือ เทรนด์ของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และ Sharing Services ที่จะเป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งความรู้ด้านธุรกิจที่ทันสมัยและความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิสัยทัศน์ในการปรับตัวทางธุรกิจให้กับนักศึกษาเพื่อก้าวทันอนาคต นายนรุตม์ บุญประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายสรรหาและว่าจ้าง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยภาคอุตสาหกรรมได้นำนวัตกรรม AI (เอไอ) ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการทำงานพนักงานบริษัทจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือด้านใดด้านหนึ่งแต่จะต้องปรับตัวได้เร็ว ทำงานได้หลากหลาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่รอบตัว รวมทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Data Analytics การใช้ข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ รู้จักการใช้ Social Platforms มีความยืดหยุ่น และมีความเข้าใจในธุรกิจ สำหรับบัณฑิตแสตมฟอร์ดที่ทำงานที่ยูนิลีเวอร์นั้นมีความโดดเด่นในด้านของภาษาและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเนื่องจากหลักสูตรมีการฝึกงานประมาณ 1 ปี ดังนั้นการจ้างบัณฑิตแสตมฟอร์ดจึงเหมือนได้พนักงานที่มีประสบการณ์มาแล้ว 1 ปี นายมิเคเล โทเมอา เลขาธิการหอการค้าไทย-อิตาเลี่ยน กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางหอการค้าไทย – อิตาเลี่ยนรับนักศึกษาฝึกงานเป็นคนไทย 30% และต่างชาติ 70% สำหรับนักศึกษาแสตมฟอร์ดมีความได้เปรียบด้านการสื่อสารและ การใช้ภาษาอังกฤษ อีกทั้งความเข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติและสำเนียงที่หลากหลายของผู้คนจากหลายๆ ชาติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในด้านการสื่อสาร พร้อมกันนี้ยังมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีความพร้อมในการทำงาน คือ การผลักดันให้นักศึกษากล้าออกจาก Comfort Zone ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งยังต้องมีความรู้ด้านออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง, ออนไลน์มีเดีย ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับนักศึกษา ทำให้เข้าใจและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงถือเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับลูกจ้างในศตวรรษที่ 21 สำหรับผลสำรวจการจ้างงานของบัณฑิต ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดที่จบใหม่ในปีการศึกษา 2560 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษามากกว่า 74% ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในตลาดแรงงาน, กว่า 35% ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายได้งานก่อนเรียนจบ โดยเฉพาะการได้รับข้อเสนองานในระหว่างการฝึกงาน สิ่งที่นายจ้างมองหาและชื่นชมบัณฑิตของม.นานาชาติแสตมฟอร์ดนั้น คือ ทักษะความเป็นลูกจ้างยุคใหม่ที่ควรต้องมี ดังนั้นจึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าวิธีการสอนของม.นานาชาติแสตมฟอร์ดนั้นสามารถพัฒนาความแข็งแกร่ง สร้างทักษะและความรู้ที่จำเป็นให้กับบัณฑิตได้เป็นอย่างดี นอกจากหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดยังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่นำไปใช้จริงในการทำงานได้ทันทีของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท (MBA) อีกด้วย อาจารย์สาวิตรี สันติพิริยพร ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการอาชีพและความสัมพันธ์ภาคอุตสาหรรม ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด กล่าวว่า แสตมฟอร์ดได้จัดงาน Stamford Networking Night ร่วมกับคณาจารย์และนักศึกษา รวมทั้งตัวแทนพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมกว่า 40 บริษัท เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านวิชาการและด้านธุรกิจ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สร้างเครือข่ายในการฝึกงานและสมัครงาน พร้อมยกระดับการศึกษาไทยด้วยการเชื่อมโยงภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ