Booking.com เผย ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในสายงานด้านเทคโนโลยีแม้ยังเผชิญความท้าทายมากกว่าผู้ชาย

ข่าวเทคโนโลยี Thursday October 11, 2018 10:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--Booking.com Booking.com หนึ่งในบริษัทอีคอมเมิร์ซด้านการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดในโลกและผู้นำ ด้านเทคโนโลยีดิจิตอลเผยผลการสำรวจชุดแรกของการสำรวจข้อมูลทั่วโลก ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับปัญหาความหลากหลายทางเพศที่ยังคงพบอยู่เรื่อยมาในแวดวงเทคโนโลยี รวมถึงความคิด ประสบการณ์ และความมุ่งมั่นของผู้หญิงทั่วโลกที่มีต่อโอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพการงานสายเทคโนโลยี โดยการสำรวจนี้ได้เก็บข้อมูลจากผู้หญิงที่ทำงานในวงการเทคโนโลยี รวมถึงนักศึกษาหญิงที่สนใจทำงานในแวดวงนี้ และพบว่าผู้หญิงทั่วโลกเห็นว่างานในวงการเทคโนโลยีนั้นน่าทำ และมีความคิดเห็นเชิงบวกว่าเส้นทางของสายอาชีพนี้น่าจะเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตามยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้าง ซึ่งปัญหาหลักๆ คืออคติในขั้นตอนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน สัดส่วนจำนวนพนักงานในปัจจุบัน รวมถึงการขาดผู้หญิงที่มีอำนาจตัดสินใจและเป็นแบบอย่างที่ชัดเจน ผู้หญิงทั่วโลกกว่า 3 ใน 5 (64%) ที่ทำงานด้านเทคโนโลยี รวมถึงนักศึกษาที่สนใจสายงานด้านนี้ กล่าวว่าการเป็นผู้หญิงนั้นส่งผลดีต่อการทำงานในสายเทคโนโลยี ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นเพราะในปัจจุบันยังขาดแคลนผู้หญิงที่ทำงานด้านนี้อย่างเห็นได้ชัด (34%) และเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาหญิง (43%) และนักเรียนมัธยมปลาย (37%) ต่างยอมรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้ดึงดูดผู้หญิงทั่วโลกด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น นวัตกรรมใหม่ (50%) อาศัยความคิดสร้างสรรค์ (44%) และสร้างแรงบันดาลใจ (26%) ในขณะเดียวกันก็เป็นงานที่ท้าทายด้วย (34%) นอกจากนี้ ผู้หญิงหลายคนยังเห็นว่าการได้ทำงานด้านเทคโนโลยีนั้นจัดเป็น "งานในฝัน" หรืออาชีพในอุดมคติ โดยพบว่าผู้หญิงทั่วโลกกว่า 4 ใน 5 ให้คำจำกัดความของ "งานในฝัน" ว่าเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง (84%) รองลงมาคือการได้ทำงานที่ตรงความสามารถ (83%) และงานที่เลือกเส้นทางได้ด้วยตัวเอง (81%) อคติทางเพศในขั้นตอนการสมัครงานและการขาดผู้นำหญิงยังคงเป็นตัวจำกัดโอกาสของผู้หญิงในแวดวงเทคโนโลยี ผลการสำรวจของ Booking.com เผยว่าแม้ผู้หญิงจะมีความสนใจในสายเทคโนโลยีและมองเห็นโอกาสในการทำงาน แต่ผู้หญิงทั่วโลกก็ยังคงมีข้อกังขาและมองว่าการเป็นผู้หญิงนั้นเป็นการเสียเปรียบต่อการเติบโตในสายอาชีพเทคโนโลยี โดยกว่าครึ่ง (52%) ประสบปัญหานี้เพราะวงการเทคโนโลยีนั้นเป็นวงการที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ตามมาด้วยปัญหาอคติทางเพศในขั้นตอนการคัดคนเข้าทำงาน ซึ่งผู้หญิงเกือบ 1 ใน 3 ได้เผชิญกับอุปสรรคนี้ (32%) ในขณะเดียวกันการรับรู้ถึงอคติทางเพศในขั้นตอนการว่าจ้างนั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่นในประเทศบราซิลผู้หญิงจำนวนครึ่งหนึ่ง (50%) รู้สึกว่าความลำเอียงทางเพศในขั้นตอนการคัดเลือกบุคคลนั้นส่งผลเสียต่อโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้าง ซึ่งนับเป็นอัตราสูงสุดในกลุ่มประเทศที่ทำการสำรวจ ในขณะที่ผู้หญิงจากประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรปที่รู้สึกเช่นนี้มีจำนวนน้อยกว่า (18% ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และ 22% ในสหราชอาณาจักรและเยอรมนี) นอกจากนี้ เกือบ 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลก (32%) รู้สึกว่าการขาดผู้หญิงที่มีอำนาจตัดสินใจทำให้โอกาสก้าวหน้าในอาชีพสายเทคโนโลยีไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งนักเรียนหญิงมัธยมปลายส่วนใหญ่ก็เห็นเช่นเดียวกัน (40%) โดยปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงกว่า 3 ใน 4 ทั่วโลกรู้สึกว่าได้เผชิญอุปสรรคมากกว่าผู้ชายในการเข้าทำงาน (78%) รวมถึงในการเติบโตและประสบความสำเร็จ (77%) ในบางอาชีพ นางกิลเลียน แทนส์ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Booking.com กล่าว "ผู้หญิงในแวดวงเทคโนโลยีนั้นยังคงมีจำนวนน้อยมาก ที่ผลการสำรวจของเราบอกได้ตอนนี้ก็คืออะไรคืออุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้หญิงและควรจะเริ่มต้นแก้ไขที่จุดใด โดยเรามองเห็นความกระตือรือร้นและความมุ่งมั่นของผู้หญิงทั่วโลกที่จะประสบความสำเร็จในแวดวงเทคโนโลยีหรือไอที ซึ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจโดยเฉพาะในหมู่คนเจนเนอเรชั่นใหม่ ซึ่งมองเห็นหนทางที่จะเติบโตในสายอาชีพนี้ดังที่ได้ตั้งเป้าไว้สูงสำหรับตัวเอง" นางกิลเลียน แทนส์ ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า "เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้หญิงประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานในสาขาเทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง เราในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมนี้สามารถทำอะไรได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้หญิง ที่เป็นแบบอย่าง กำจัดอคติทางเพศที่เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครงานก่อนที่ผู้หญิงจะได้รับการว่าจ้าง และลงทุนในการริเริ่มใหม่ๆ ที่จะเน้นย้ำความน่าสนใจในการทำงานในวงการนี้ และทำให้รู้สึกเป็นที่ต้อนรับในทุกขั้นตอน ทั้งคนที่เพิ่งเริ่มงานไปจนถึงผู้นำระดับอาวุโสที่สุด" ความสนใจทำงานด้านเทคโนโลยีในหมู่ผู้หญิงรุ่นใหม่ถือเป็นโอกาสดีสำหรับการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ผลการสำรวจของ Booking.com ยืนยันถึงความสนใจอาชีพในสาขาเทคโนโลยีในกลุ่มคนที่มีความสามารถในเจนเนอเรชั่นถัดไป และเวลาเดียวกันก็เน้นย้ำว่าเราจะสามารถเริ่มลดความแตกต่างระหว่างเพศได้ที่จุดใด นักเรียนหญิงมัธยมปลาย (43%) และนักศึกษาหญิง (40%) ทั่วโลกเชื่อมั่นว่าอาชีพด้านเทคโนโลยีเปิดให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ (เทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ 33%) นักเรียนมัธยมปลายรู้สึกว่าอาชีพทางเทคโนโลยีน่าสนใจอย่างยิ่งเพราะเปิดโอกาสให้ประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่ยังอายุน้อย (29% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ที่มีประสบการณ์ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 20%) เช่นเดียวกับความเชื่อที่สามารถกำหนดเส้นทางของตนเอง (30% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ที่มีประสบการณ์ซึ่งอยู่ที่ 22%) และเหนือสิ่งอื่นใดคือนักเรียนนักศึกษาหญิงต่างก็ต้องการให้อาชีพที่เลือกนั้นสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้ตัวเองได้ โดยมีนักเรียนมัธยมปลาย 88% และนักศึกษา 85% ที่มีความเห็นเช่นนี้ ถึงแม้ว่าวงการเทคโนโลยีในปัจจุบันจะยังคงสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ แต่บริษัทต่างๆ ด้านเทคโนโลยี รวมถึงทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม สามารถมีส่วนร่วมได้มากขึ้นกว่าเดิมในการช่วยเหลือผู้หญิงที่มุ่งมั่นที่จะทำงานในสายงานนี้ โดยไม่ได้จำกัดเพียงสนับสนุนความมุ่งหมายที่จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ หรือสร้างความเชี่ยวชาญในสายงาน แต่รวมไปถึงการช่วยกำจัดอุปสรรคต่างๆ ออกไปอีกด้วย "วงการเทคโนโลยีนั้น มอบโอกาสมากมายมหาศาลที่จะเติมเต็ม 'งานในฝัน' และความมุ่งหวังทางอาชีพตามที่ผู้หญิงทั่วโลกได้ให้คำนิยามไว้ การปลดล็อกสิ่งนี้และกระตุ้นให้ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเข้าสู่สาขาเทคโนโลยีต้องอาศัยทั้งความร่วมมือจากวงการการศึกษา การพัฒนาสังคม ความรับผิดชอบของบริษัทต่าง ๆ และการริเริ่มจากทางรัฐบาล และหากต้องรักษาสมดุลของเหล่าผู้มีความสามารถต่อไปในอนาคต เราต้องมุ่งมั่นที่จะให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ในช่วงเวลาที่ยังเรียนอยู่ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจเชิงบวกในการสร้างการรับรู้ของผู้หญิงที่มีต่อสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์" นางกิลเลียน แทนส์ กล่าวสรุป การศึกษาและการสนับสนุนจากทางบ้านสามารถช่วยลดช่องว่างระหว่างเพศได้ การสำรวจเกี่ยวกับการเลือกอาชีพพบว่า การเรียนรู้และการศึกษาในช่วงต้นมีอิทธิพลสำคัญต่อการเลือกอาชีพในอนาคตของผู้หญิง โดยผู้หญิงเกือบ 4 ใน 5 ทั่วโลกกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจในการเลือกสายอาชีพมาจากความรู้ความสามารถที่ได้เรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย (79%) และจากวิชาที่ลงเรียน (77%) ในขณะเดียวกัน ที่ประเทศจีนและอินเดีย ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพตามพ่อแม่ของตนเองมากกว่าที่อื่น (64% และ 52% ตามลำดับเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก 40%) นอกจากนี้เมื่อถามถึงตัวเลือกอาชีพที่สนใจ ผู้หญิงในประเทศจีนและอินเดียยังคงเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มมากกว่ากลุ่มอื่นที่จะเปลี่ยนไปยังหน่วยงานด้านเทคโนโลยีที่เคยเข้าร่วมมาก่อน (เช่น Girls Who Code) (36% และ 27% ตามลำดับเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ 20%) ทั้งนี้เหตุผลดังกล่าวจึงอาจอธิบายได้ว่าทำไมอัตราผู้ที่เข้าเรียน และจบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์โดยทั่วไปของประเทศในทวีปเอเชียจึงสูงกว่าประเทศแถบตะวันตก[1] รวมถึงแสดงว่าการเริ่มดำเนินการแต่เนิ่นๆ จะช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานในสาขาเทคโนโลยีให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ