“บ้านโฉลกหลำ” เกาะพะงัน เปิดเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อย่างเป็นทางการ

ข่าวท่องเที่ยว Friday October 12, 2018 09:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--มหาวิทยาลัยศิลปากร "บ้านโฉลกหลำ" เปิดโครงการชุมชน OTOP นวัตวิถี เชิญชวนนักท่องเที่ยวดำน้ำดูปะการัง ชมความงามหาดทรายขาว ปีนหน้าผา เล่นซิปไลน์ ชิมอาหารพื้นบ้าน และ ช้อปผลิตภัณฑ์สินค้าพรีเมี่ยมของชุมชน เปิดตัวเป็นชุมชนท่องเทียวOTOPนวัตวิถี อย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับชุมชนบ้านโฉลกหลำ ต.เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ได้เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยว ตามโครงการโครงการชุมชน OTOP นวัตวิถี ของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หลังจากเตรียมความพร้อม ได้นำอัตลักษณ์ของชุมชนมาเป็นเสน่ห์ สร้างจุดขายเพื่อดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวชม นายวิริยะ จินวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เกาะพะงัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวรู้จักอยู่แล้ว แต่อาจไม่รู้จักทุกซอกทุกมุม การที่บ้านโฉลกหลำได้ยกระดับการพัฒนาตนเองช่วยให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้รู้จักสิ่งดี ๆ ของชาวบ้านโฉลกหลำมากขึ้น โดยเฉพาะการยกระดับด้านผลิตภัณฑ์ถึง 11 ประเภท จะส่งผลให้บ้านโฉลกหลำเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นว่า มีของดีอะไรบ้าง ไม่ว่าตัวผลิตภัณฑ์ หรือตัวผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรม โดยส่วนตัวแล้วดีใจที่ได้เห็นบ้านโฉลกหลำก้าวไปอีกระดับหนึ่งของการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน ภายใต้การท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ด้านนายเกริกไกร สงธานี นายอำเภอเกาะพะงัน กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า การเปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของบ้านโฉลกหลำครั้งนี้ นับได้เป็นเรื่องดีสำหรับชาวบ้านและชุมชนอย่างมาก ต้องขอบคุณทีม ADSU มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ร่วมกับบริษัท พริส แลนด์แอนด์พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ช่วยเตรียมความพร้อมให้กับชาวบ้าน ในการนำสินค้า OTOP ออกไปสู่สายตาของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ เพราะที่โฉลกหลำมีของดีหลาย ทั้งแหล่งการท่องเที่ยว วิถีชีวิตชุมชน และ ผลิตภัณฑ์ อยากให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก ถ้าได้มาเที่ยวที่นี่แล้วจะไม่ผิดหวัง บ้านโฉลกหลำ เป็นหมู่บ้านที่มีเสน่ห์หลายด้านด้านกัน เสน่ห์แรก คือ กิจกรรมทางน้ำ ที่นี่ถือเป็นจุดดำน้ำดีที่สุดในลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย สามารถดำน้ำดูความงดงามของใต้ท้องทะเลได้ทั้งแบบน้ำตื้นและน้ำลึก พร้อมทั้งมีจุดดำน้ำหลายจุดให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชมความงามของปะการัง โดยเฉพาะที่หน้าอ่าวโฉลกหลำ นักท่องเที่ยวสามารถชมความสมบูรณ์ของปะการังได้โดยไม่ต้องนั่งเรือออกไปไกล เสน่ห์อีกอย่างคือ"ทะเลแหวก" อันซีนที่ธรรมชาติสร้างให้อยู่บริเวณเกาะม้า และ หน้าแม่หาด หรือ ถ้าสนใจกิจกรรม"ไดหมึก หรือ ตกหมึก" ก็จะมีให้สนุกได้เป็นฤดูกาล คือตั้งเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ของทุกปี ในช่วงเวลานี้ยามค่ำคืนจะเห็นแสงเขียวจากเรือไดหมึกเรืองรองอยู่ไม่ไกลจากชายฝั่ง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบกิจกรรมบนบกก็มีให้เลือกหลายอย่าง เช่น การปีนหน้าผา ,เล่นซิป ไลน์, แวะชิมอาหารทะเลสด ๆ (Seafood Street) และตบท้ายด้วยการชมพระอาทิตย์ตกดิน มองเห็นเกาะพะงันทั้งเมือง ด้วยมุมมอง 360 องศา อีกหนึ่งเสน่ห์ของชุมชนนี้คือ นักท่องเที่ยวจะได้ชิมอาหารพื้นถิ่นแบบดั้งเดิม อย่าง การมันกะทิ , หมูโค ,น้ำชุบมุงมัง ,น้ำชุบ และ วายคั่ว ซึ่งหาทานได้ไม่ง่ายในท้องถิ่นอื่น หลังเที่ยวจนหนำใจแล้ว ก่อนกลับก็แวะชอปสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเกรดพรีเมี่ยมที่คนในชุมนสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง ประกอบไปด้วย หมึกแห้งเจ๊เหมีย , อธิวัฒน์ผ้าย้อม , ผลิตภัณฑ์พร้าวเกาะ , มะพร้าวแก้ว เจ๊พร , น้ำมันเหลืองสมุนไพร ,ป้าอ้อยไม่กวาดทางสาน , ยาหม่องไพลสด ,ผลิตภัณฑ์พร้าวหลาว ,ผ้าปาเต๊ะเพนท์สี , ปลาข้างเหลือแดดเดียว และ วาย ของ แพปลาศิริวรรณ ด้วยความที่เสน่ห์ของบ้านโฉลกหลำมีแบบครบทุกรส วันเดียจึงเทียวไม่จบ นักท่องเที่ยวจึงมองหาที่พักได้ในราคาย่อมเยา มีให้เลือกหลายหลายแบบ เพราะส่วนใหญ่เป็นของคนในชุมชนเอง มีตั้งแต่ระดับเกสต์เฮ้าส์ จนถึงโรงแรมระดับไฮ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ต้องการเข้าพัก มาเที่ยวเกาะพะงันทั้งที ต้องไม่ลืมมาแวะเช็คอิน ที่ "บ้านโฉลกหลำ" แม้จะเป็นพื้ที่แอ่งเล็ก ๆ แต่คนที่นี่ใจใหญ่ มีน้ำใจ มิตรภาพ และรอยยิ้ม รอให้นักท่องเที่ยวจากข้างนอกเข้าไปสัมผัสและทำความรู้จักด้วยตัวเอง ประวัติหมู่บ้านโฉลกหลำ หมู่บ้านโฉลกหลำ ต.เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน ซึ่งถ้าดูตามพื้นที่เดิมของอำเภอเกาะพะงัน เดิมชื่อว่า "ไดละดะหลำ" ความหมายถึง "เวิ้งอ่าวลึก" ซึ่งมีชื่อมาจากภาษาของมาลายู ตามคำบอกเล่าคนรุ่นก่อนแต่โบราณเล่าว่า ในยุคสมัยนั้น มีพวกแขกมาลายู มาอาศัยจับปลาและอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีคนไทยเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ เพราะกลัวว่า พวกแขกมาลายูจะจับตัวไป จึงอยู่แต่ที่หมู่บ้านอื่นครั้นต่อมาทราบข่าวว่า พวกแขกเหล่านั้นพากันกลับหมดแล้ว จึงมีชาวบ้านหลายคน ส่วนใหญ่มาจากหมู่บ้าน"มะเดื่อหวาน" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ทางใต้ของเขตติดต่อกัน ได้ชักชวนญาติพี่น้องเพื่อนบ้านเข้ามาจับจองถางป่า ปลูกข้าว และปลูกมะพร้าวจนกระทั่งต่อมาได้มีการย้ายเข้ามาหลายครอบครัว จึงได้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านขึ้น คือ นายเคราะห์ ชมอินทร์ และเรียกชื่อหมู่บ้านว่า "โฉลกหลำ" ซึ่งเพี้ยนจากเดิมคือ "ไดละดะหลำ" ตามสำเนียงของแขกมาลายูนั่นเองคนในหมู่บ้านโฉลกหลำ มีความผูกพันกับมะพร้าวมาแต่อดีต โดยมีเรื่องเล่าว่า สมัยก่อนเมื่อคลอดลูกจะเอารกไปฝังอยู่กับต้นมะพร้าว ซึ่งกลายเป็นความผูกพันไปโดยปริยายปัจจุบัน ต้นมะพร้าวนำมาปลูกตั้งแต่เริ่มแรกยังมีให้เห็นอยู่คือ ต้นของ นายบุญเพชรฯ ซึ่งน่าจะมีอายุเกินร้อยปี ส่วนของคนอื่นไม่น่าจะมีให้เห็นแล้วจากคำบอกเล่าของ คุณตาโชติ เมืองทอง อายุ 83 ปี เล่าว่า ปัจจุบันนี้ ต้นมะพร้าวที่นำมาปลูกตั้งแต่เริ่มแรก ยังมีให้เห็นอยู่ คือ ต้นของ นายบุญเพชร ซึ่งน่าจะมีอายุเกินร้อยปีแล้ว ส่วนของคนอื่น ๆ น่าจะไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้ว และถ้านับอายุของนายบุญเพชรแล้ว ก็จะเป็นรุ่นปู่ทวดของตาโชติ เลยทีเดีย \

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ