NIDA Poll เรื่อง การสรรหา ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Tuesday October 16, 2018 12:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การสรรหา ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,259 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ การสรรหา ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่ กกต. เลื่อนกำหนดการเลือก ส.ว. เร็วขึ้น ด้วยเหตุผลเพื่อให้ทันกับ การเลือกตั้ง 24 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.29 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ อยากเห็นบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีความพร้อมก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง รองลงมา ร้อยละ 11.36 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เร็วเกินไป อาจจะทำให้กระบวนการสรรหาไม่รอบคอบ ไม่เที่ยงตรง ได้บุคคลที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจมีการล็อกตัวบุคคล ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้เป็นไปตามแผนเดิม เพื่อผู้สมัครจะได้มีเวลาเตรียมตัว และร้อยละ 1.35 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านลักษณะของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่อยากได้มากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.81 ระบุว่า มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยอมรับของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 23.83 ระบุว่า มีความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ร้อยละ 11.68 ระบุว่า มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานในด้านกฎหมายและด้านอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ ร้อยละ 9.69 ระบุว่า ไม่เห็นแก่ลาภยศ เงินทองหรือผลประโยชน์อันมิชอบ ร้อยละ 4.92 ระบุว่า เป็นผู้มีอุดมการณ์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรี ร้อยละ 3.33 ระบุว่า สามารถสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 3.18 ระบุว่า ใช้ความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่ ส.ว. อย่างเต็มที่ และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงระดับความเชื่อมั่นต่อ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการสรรหา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 พบว่า ประชาชน ร้อยละ 16.28 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 29.95 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 36.46 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 14.93 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.38 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยผู้ที่ระบุว่า ค่อนข้างมีความเชื่อมั่น – มีความเชื่อมั่นมาก ได้ให้เหตุผลว่า ประเทศไทยขาดอิสระภาพความเป็นประชาธิปไตยมานาน การสรรหาครั้งนี้น่าจะได้บุคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ที่ดี มาช่วยในการพัฒนาบริหารประเทศ ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น – ไม่มีความเชื่อมั่นเลย ให้เหตุผลว่า ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งในแนวทางที่ประชาชนมีส่วนร่วม เกรงว่าจะเข้ามาเพื่อหวังผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง มากกว่าเข้ามาทำเพื่อประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.82 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.53 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.25 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.67 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 6.91 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.33 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.56 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.68 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.57 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.95 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.17 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.02 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.35 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 2.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 20.97 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 73.55 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.78 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.70 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 27.80 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.95 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.94 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.86 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.35 จบการศึกษาสูงกว่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.10 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 11.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.77 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.57 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.85 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.17 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.16 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.78 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 3.18 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.26 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.46 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.98 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ