“แพทย์ดีเด่นบริหาร” พญ.พรรรณพิมล เก้าอี้ "อธิบดีสุขภาพจิต" ไม่ไกล

ข่าวทั่วไป Friday November 2, 2018 15:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--Med Agency "จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น" ที่เก่งๆ โดดเด่นมีจำนวนจำกัดในไทย กระจายอยู่ในภาครัฐ และ เอกชน ส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ผู้หญิงมากกว่าแพทย์ผู้ชาย ซึ่งในปัจจุบันผู้อำนวยการสถาบัน "จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น" ต่างๆ ก็เป็นแพทย์หญิงทั้งนั้น แพทย์ผู้หญิง มักมีความละเอียดอ่อน ดูแล ใส่ใจทุกๆ ปัญหา ไม่ว่าเล็ก หรือ ใหญ่ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ( Mental Retardation) จะต้องอธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจว่า หากมีเด็กพิเศษในบ้านจะเหนื่อยกว่าบ้านอื่นๆ ที่มีลูกปกติแน่นอน เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเหล่านี้ มีความสามารถจำกัดกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป ล่าสุด medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า คอลัมน์ "อินไซต์สาธารณสุข" ต้องขอแสดงความยินดีกับ พญ.พรรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ในโอกาสที่รับโล่ รางวัลแพทย์สตรีดีเด่นด้านบริหาร ประจำปี 2561 จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แพทย์หญิงคุณนันทา มาระเนตร์ นายกสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ จากการทำงานที่ผ่านมา ในสายตาของประชาชน ส่วนใหญ่จะจดจำภาพลักษณ์ของ แพทย์หญิงพรรณพิมล ได้ คือตอนที่นั่งเก้าอี้ สถาบันราชานุกูล เพราะมีการออกสื่อจำนวนมาก แพทย์หญิงพรรณพิมล คือผู้ที่บันทึก "วิวัฒนาการใน ๕ ทศวรรษของสถาบันราชานุกูล จากอดีต...ถึงปัจจุบัน" ที่วันนี้ครบรอบ 58 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันมี คุณหมอจ๋า แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ เก่งไม่แพ้กัน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกุล เดิมเรียกว่า "โรงพยาบาลปัญญาอ่อน" ( 2503-2522 ) เปิดให้บริการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาอย่างครบวงจร ตั้งแต่ 2503 เป็นต้นมา นายแพทย์รสชง ทัศนาญชลี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่านแรก พอถึงยุคที่ 2 นายยงยุทธ สัจจะวานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามโรงพยาบาลเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "โรงพยาบาลราชานุกูล" เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ของโรงพยาบาลราชานุกูล ( 2522-2545 ) ยุคที่ 3 สถาบันราชานุกูล 2545-ปัจจุบัน จากการปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี พ.ศ.2545 โรงพยาบาลราชานุกูล ได้ปรับเปลี่ยน โครงสร้างบทบาทภารกิจใหม่ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2545 ยกระดับฐานะจากโรงพยาบาลเป็น "สถาบันราชานุกูล" จากผลงานต่างๆ ไม่ว่าจะ "จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น" งานด้านการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก และ รองปลัดด้านบริหาร ถือเป็นประสบการณ์ที่การันตีของ พญ.พรรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ........ที่หลายๆ คนบอกว่า เก้าอี้ "อธิบดีกรมสุขภาพจิต" อยู่ไม่ไกลแล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ