ดร.สุวิทย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ งานสัมมนาวิชาการและการประชุมระดมสมอง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 หัวข้อ MOBILIZING STI FOR SDGS : PARTNERSHISP FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT

ข่าวทั่วไป Friday November 2, 2018 15:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ (2 พฤศจิกายน 2561) กระทรวงการต่างประเทศจัดงานสัมมนาวิชาการและการประชุมระดมสมอง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 หัวข้อ MOBILIZING STI FOR SDGs : PARTNERSHISP FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ STI Science Technology and Innovation มาใช้แก้ไขปัญหาและการลงมือทำร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนและเครือข่ายต่างๆอย่างแท้จริง รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ Balance of the SDGs and STI for Thailand 4.0 ณ ห้องนราทิป กระทรวงการต่างประเทศ ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) ในนาม "SEP for SDGs" กับ "Thailand 4.0" จะต้องเริ่มจากการปรับโครงสร้างสู่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่สมดุล คือ 1)มนุษย์กับธรรมชาติ 2)มนุษย์กับมนุษย์ และ3)มนุษย์กับเทคโนโลยี บางท่านเห็นว่า SDGs เป็นการนำแนวคิดจากข้างบนลงมาสู่ระดับล่าง From Grand To Ground ซึ่งเห็นว่าหลักการ SDGs นำมาจากหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่รัชกาลที่ 9 ได้ผ่านการลงพื้นที่ปฎิบัติจริงและพิสูจน์มาแล้ว จากนั้นจึงนำมาเป็นแนวคิดใหม่ของการพัฒนาโลก From Grand To Ground ดังนั้น SEP และ SDGs จึงสอดรับไปด้วยกัน และประเทศไทยจะก้าวเดินไปทางไหนในอนาคต ทางสกว.จะดำเนินโครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย ซึ่ง"SEP for SDGs" และ "Thailand 4.0" นั้นเป็นเรื่องที่สอดรับกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่ "ความยั่งยืน" การเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างสมดุลในการพัฒนา หรือ "Thriving in Balance" ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักคิดของคนให้ถูกต้อง และปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาให้ถูกทาง เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ Thailand 4.0 สำหรับการปรับโครงสร้างสู่ 3 ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Ecosystem) ได้แก่ 1.ระบบเศรษฐกิจไหลเวียน (Circular Economy) ระบบเศรษฐกิจที่ทำให้มนุษย์มีความสมดุลอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ตอบโจทย์ "ความยั่งยืน" การเติบโตโดยใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 2.ระบบเศรษฐกิจกระจายตัว (Distributive Economy) จะลดความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ จะได้ตอบโจทย์ "ความมั่นคง"โดยกระจายความมั่งคั่งและโอกาส ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข 3.ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy ) เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่ "ความมั่งคั่ง" ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นเงินทุนและทุนทางกายภาพ มาเป็นการเน้นปัญญามนุษย์และเทคโนโลยี เพราะจะตอบโจทย์ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยีเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ นำความมั่งคั่งมาให้ ทั้ง 3 ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า นี้ช่วยสร้างสมดุลให้เกิดขึ้น ทั้งระหว่าง "มนุษย์ กับธรรมชาติ" "มนุษย์ กับ มนุษย์" และ "มนุษย์ กับ เทคโนโลยี" สอดรับกับ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายอย่างสอดคล้องลงตัว ในบริบทของเอกชนนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน ยากที่จะเกิดขึ้น จากการทำกิจกรรม CSR เพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนถาวรก็ต่อเมื่อภาคเอกชนมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ จาก "Greed for Growth, Growth for Greed" มาเป็น "Doing Good, Doing Well" นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ว่า กระทรวงการต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างหุ้นส่วนกับทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และยังเห็นว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาโลก ผ่านการสร้างความเท่าเทียม การสร้างงาน และการมีส่วนร่วม ซึ่งทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนการดำเนินการได้ หรือที่รู้จักกันในนาม STI for SDGs

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ