9 เทคนิคสำคัญ ที่ควรทำในการไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อม

ข่าวทั่วไป Friday January 4, 2019 17:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ม.ค.--โรงพยาบาลผู้สูงอายุ และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เฌ้อสเซอรี่โฮม หมอเข้าใจว่ามันมีความรู้สึกยากลำบากที่เกิดขึ้นในใจของคนที่จะไปเยี่ยมผู้ป่วยความจำเสื่อม เนื่องจากกลัวหรือไม่สบายใจจากความจำที่ถดถอยลงของผู้สูงอายุเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการไปเยี่ยมเยียนและนำเทคนิคที่จะกล่าวถึงไปใช้ จะช่วยทำให้ตัวท่านเองและผู้สูงวัย ที่มีปัญหา ความจำเสื่อมรู้สึกดีขึ้นได้ วันนี้หมอมี 9 เทคนิคพิเศษ ในการแนะนำญาติของผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องความจำเสื่อม ได้ลองนำไปปรับใช้ เวลาไปเยี่ยม ท่านเหล่านั้นมาฝากกันครับ 1. ปรับอารมณ์ ทัศนคติ และความรู้สึก หมอขอให้เป็นในทางบวก แทนที่ความรู้สึกลบๆ ความรู้สึกท้อแท้ ความรู้สึกทุกข์ทรมานของตัวเราเอง การปรับทัศนคติก่อน มองตามความเป็นจริง ความเห็นอกเห็นใจผู้สูงวัยนั้นว่าท่านมีความเสื่อมถอยตามวัย ตามโรค หมอว่าการปรับเปลี่ยนความคิดเป็นแง่บวกจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้การใช้เวลาร่วมกัน ในวัน หยุดพักผ่อน หรือเวลาใดก็ตาม จะเป็นเวลา เป็นประสบการณ์ที่วิเศษที่จะทำให้ผู้สูงวัยและครอบครัวใช้เวลาเหล่านั้นรวมกัน และเข้าอกเข้าใจกัน 2. เตรียมตัวและใจในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น การเตรียมตัวของท่านเองก่อนที่จะไปเยี่ยมหรือพบสูงวัยที่มีปัญหาความจำเสื่อมของท่าน ปัญหาหลักก็คือท่านจะเจอความจริงที่ว่า ผู้สูงวัยที่ท่านักนั้นไม่สามารถจดจำได้ดีเหมือนเดิม โดยเฉพาะสิ่งที่เพิ่งผ่านเข้ามาใหม่ หรือแม้แต่มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การได้พูดคุยกันในระหว่างหมู่ญาติ เตรียมตัวและทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งอาจจะพูดคุยกับผู้ดูแลหรือทีมแพทย์พยาบาล และเมื่อได้ข้อมูลการดูแลในช่วงที่ผ่านมาก็จะเป็นผลดีและทำให้ท่านเข้าใจโรค ความเปลี่ยนแปลง ตามความเป็นจริงมากขึ้น 3. การมองตาและพูดแนะนำตนเองอย่างช้าๆชัดเจน การมองตาและพูดแนะนำตนเองอย่างช้าๆชัดเจน เป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่ง ที่จะสบตาพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวท่านเองกับผู้สูงวัยที่มีปัญหาความจำเสื่อม การแนะนำตัวเองที่ช้าแต่ชัด ให้มีทั้งภาพและเสียงที่อยู่ตรงหน้า ทำให้ผู้สูงวัยมี focus จะช่วยทำให้ความรู้สึกของผู้ที่มีปัญหาความจำเสื่อมดีขึ้น ไม่เกิดความเครียด และรู้สึกเขินอายที่จดจำคุณไม่ได้ 4. พูดให้ช้า เลือกถามคำถามทีละอย่าง ช้าๆ เน้นการพูดประโยคที่ชัดถ้อยชัดคำ พูดพร้อมมองตา พูดให้สั้นแต่ได้ใจความ อาจใช้กระบวนการพูดซ้ำๆ ในบางช่วงจังหวะ ไม่เร่งเล้าเอาคำตอบเร็วจนเกินไป หลีกเลี่ยงการถามคำถามที่เร็ว หลายๆคำถามในเวลาใกล้ๆกัน 5. จัดสภาพแวดล้อมในห้องพักให้โล่งโปร่งสบาย ลดสิ่งรบกวน เริ่มต้นด้วยการปิดโทรทัศน์ หรือวิทยุในขณะที่ท่านไปเยี่ยมผู้สูงวัยที่มีปัญหาความจำเสื่อม หรืออาจจะปรับห้อง ย้ายห้องไปยังห้องที่เงียบและไม่พลุกพล่านมากนัก สิ่งเหล่านี้เองก็จะช่วยลดภาพ หรือสิ่งดึงดูดความสนใจออกไปทำให้การสนทนาหรือการมีปฏิสัมพันธ์กันมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น 6. การนำเอาภาพหรือสิ่งของที่ผู้สูงวัยมีความทรงจดจำดีๆในอดีตมาใช้ การได้มองภาพเก่าๆที่แสดงถึงเวลาที่มีความสุข สนุกสนานระหว่างท่านและญาติมิตรมาตั้งไว้ เอามาเป็นสื่อกลางในการพูดคุย จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นความจำได้อย่างวิเศษ อีกทั้งยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ดี เสริมสร้างความสัมพันธ์ ความรักในครอบครัว ร่วมถ่ายทอดความรู้สึก ความหลังที่แสนวิเศษ ใช้เวลาดีๆร่วมกัน 7. อ่านหนังสือหรือร้องเพลงร่วมกันกับผู้สูงวัยที่ท่านรัก การสื่อสารของผู้ป่วยสูงวัยกลุ่มสมองเสื่อมระยะท้าย มักจะถดถอยลงอย่างมาก การช่วยฟื้นฟูศักยภาพของการสื่อสารของท่านเหล่านั้น โดยการนำหนังสือที่ผู้สูงวัยชื่นชอบ รวมถึงเพลงต่างๆ ที่อาจจะนำมาในรูปแบบวิทยุหรือเครื่องเล่นเพลง อิเล็กทรอนิกส์ mp3 บรรจุเพลงมาให้ฟัง ซึ่งแบบง่ายๆ หมอเน้นว่าควรจะเป็นเพลงที่ท่านชื่นชอบในอดีต หรือเพลงที่มีจังหวะดีๆ สบายๆ ไม่ว่าจะเป็นจังหวะที่สนุกสนาน จังหวะที่ฟังแล้วสบายหู สบายอารมณ์ก็จะช่วยเรื่องในการเพิ่มการมี ปฏิสัมพันธ์และการควบคุมอารมณ์ได้ดีเยี่ยม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพทางพุทธิปัญญา การสื่อสารและสมรรถภาพทางร่างกายได้อีกทางหนึ่ง 8. หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือหาคำพูดที่เป็นในทางลบมาพูดคุย คำพูดแย่ๆ ตำหนิ พูดตะโกน อารมณ์หงุดหงิด และอื่นๆเป็นสิ่งที่ไม่เกิดผลดีเลยที่ท่านจะมาใช้บทสนทนาในแง่ของการโต้แย้งโต้ตอบกับกันไปมาโดยใช้คำพูดในแง่ลบ ที่ไม่ดี ยิ่งจะ เพิ่มความเครียดความกังวลและอารมณ์ในทางที่ไม่ดีแก่ทั้งสองฝ่าย เกิดผลเสียแก่ทั้งคู่ ดังนั้นท่านจึงควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ ภาวะดังกล่าว พูดคุยแต่ในแง่บวก ให้กำลังใจกัน และอาศัยเทคนิคข้อข้างต้นร่วมด้วย ก็จะทำให้การมาเยี่ยมเยือน ใช้เวลาร่วมกับผู้ป่วยสูงวัยที่มีความจำเสื่อมซึ่งเป็นคนที่ท่านรัก เปลี่ยนชั่วโมงนั้นให้เป็นช่วงเวลาที่แสนวิเศษ มีความสุขกันเถอะนะครับ 9. ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม และ Be happy now !!! เริ่มต้นที่ตัวท่านเอง เพราะท่านเอง หากมีความสุขได้ก่อนแล้ว หมอเชื่อว่าผู้สูงวัยที่ท่านรัก ก็จะมีความสุข กับรอยยิ้ม และความรักที่ท่านมอบให้ในเวลาที่ท่านได้ไปเยี่ยมเยียนอย่างแน่นอนครับ การมาเยี่ยมผู้สูงวัยที่มีปัญหาความจำเสื่อม หากท่านได้มาเยี่ยมบ่อยๆและจัดประสบการณ์การเยี่ยมให้เป็นในแง่บวก นำมาซึ่งความสุขและสร้างบรรยากาศที่ดีนั้น จะทำให้ผู้สูงวัยตัวท่านเองและครอบครัว รู้สึกเป็นสุข มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ที่ดีต่อทุกๆฝ่าย สุดท้ายนี้หมอขอเป็นกำลังใจให้ผู้สูงวัยและญาติ ผู้ดูแลผู้สูงวัย ที่เผชิญกับปัญหาความจำเสื่อมนั้น ได้ลองเอาเทคนิคดังกล่าวนี้ไปปรับใช้ดูนะครับ หมอหวังว่าจะเกิดประโยชน์และทำให้ครอบครัวของท่านมีความสุขมากขึ้นบ้างในทางใดทางหนึ่งนะครับ ด้วยรัก... นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง ) อายุรแพทย์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery home Tel: 094-426-4439 Line id: cherseryhome www.cherseryhome.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ