“ปัญหาฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”

ข่าวทั่วไป Friday January 18, 2019 14:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ปัญหาฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 มกราคม 2562 กรณีศึกษาจากประชาชน ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงการได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.31 ระบุว่า ได้รับผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 46.69 ระบุว่า ไม่ได้รับผลกระทบ ในจำนวนผู้ที่ระบุว่าได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.05 ระบุว่า หายใจไม่สะดวก รองลงมา ร้อยละ 41.47 ระบุว่า แสบจมูก ร้อยละ 24.10 ระบุว่า ระคายเคืองตา ร้อยละ 10.18 ระบุว่า ไอ จาม เจ็บคอ แสบคอ ร้อยละ 9.43 ระบุว่า คันตามร่างกาย และร้อยละ 2.54 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เป็นหวัด น้ำมูกไหล และทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ค่อยดี สำหรับหน่วยงานที่ต้องออกมารับผิดชอบในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.31 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ รองลงมา ร้อยละ 45.97 ระบุว่า หน่วยงานกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 30.49 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก ร้อยละ 30.41 ระบุว่า กรมอนามัย/กรมการแพทย์/กรมควบคุมโรค ร้อยละ 22.67 ระบุว่า องค์การการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร้อยละ 20.75 ระบุว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร้อยละ 17.72 ระบุว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร้อยละ 13.97 ระบุว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ร้อยละ 1.68 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาล และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่แน่ใจ ด้านสาเหตุของปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.05 ระบุว่า รถประจำทาง/รถบรรทุก/รถปิกอัพที่ปล่อยควันดำ รองลงมา ร้อยละ 29.77 ระบุว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้า/ใต้ดิน/ตึก/อาคาร ร้อยละ 11.33 ระบุว่า โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 9.66 ระบุว่า รถยนต์ส่วนบุคคล/แท็กซี่/รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 4.23 ระบุว่า การเผาขยะในที่โล่งแจ้ง ร้อยละ 0.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ขณะที่บางส่วนระบุว่า เกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ตัดต้นไม้ และร้อยละ 0.16 ระบุว่า ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของภาครัฐ/รัฐบาล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.63 ระบุว่า ควบคุมมาตรฐานและตรวจวัด ค่าฝุ่นละอองในทุก ๆ ที่ ที่มีการก่อสร้าง ไม่ให้ค่าฝุ่นละอองเกิน ค่ามาตรฐาน รองลงมา ร้อยละ 33.52 ระบุว่า การจัดการจราจรที่ดี ไม่ให้เกิดปัญหารถติด สาเหตุของการเกิดมลพิษบนท้องถนน ร้อยละ 28.81 ระบุว่า ให้มีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองอย่างจริงจัง ร้อยละ 24.34 ระบุว่า อนุมัติการก่อสร้างขนาดใหญ่ ให้เริ่มสร้างทีละโครงการ ทีละจุด ไม่เริ่มก่อสร้างพร้อม ๆ กัน ร้อยละ 22.59 ระบุว่า รณรงค์ลดการใช้รถส่วนตัว หันมาใช้การเดินทางด้วยขนส่งมวลชน ร้อยละ 15.00 ระบุว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อดูดซับ และลดผลกระทบ จากมลพิษในอากาศ ร้อยละ 10.38 ระบุว่า แจกมาส์กปิดจมูกที่สามารถกันฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ได้ ร้อยละ 7.18 ระบุว่า หยุดโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 5.03 ระบุว่า เก็บภาษีกับผู้ที่ ก่อมลพิษ ร้อยละ 3.19 ระบุว่า ใช้แอพพลิเคชันที่ตรวจค่ามลพิษ ฝุ่นพิษต่าง ๆ เช่น AQI กรมควบคุมมลพิษ ฯลฯ ร้อยละ 7.02 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ทำฝนเทียม ฉีดน้ำบริเวณที่มีฝุ่นละออง มีมาตรการควบคุมดูแลท่อไอเสียรถทุกชนิด กำหนดอายุการใช้งานของรถยนต์ เร่งโครงการที่กำลังก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.07 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และตัวอย่างร้อยละ 46.93 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล ตัวอย่างร้อยละ 49.56 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.44 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.50 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 12.77 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.83 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.32 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 23.78 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 94.81 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.95 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.04 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 26.74 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 68.79 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.11 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 18.68 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 24.82 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.98 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 37.99 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.78 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.75 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 23.38 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 2.00 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 12.53 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 23.14 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.91 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 19.55 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 11.73 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.47 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 15.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.50 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 13.01 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.02 ไม่ระบุรายได้ 1.ท่านได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองหรือไม่ การได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ ได้รับผลกระทบ 53.31 ผลกระทบที่ได้รับ หายใจไม่สะดวก 48.05 แสบจมูก 41.47 ระคายเคืองตา 24.10 ไอ จาม เจ็บคอ แสบคอ 10.18 คันตามร่างกาย 9.43 อื่น ๆ ได้แก่ เป็นหวัด น้ำมูกไหล และทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ค่อยดี 2.54 ไม่ได้รับผลกระทบ 46.69 รวม 100.00 2.ท่านคิดว่า หน่วยงานใดบ้างที่ต้องออกมารับผิดชอบในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง (ตอบได้มากกว่า1 ข้อ) หน่วยงานที่ต้องออกมารับผิดชอบในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ กรมควบคุมมลพิษ 72.31 กรุงเทพมหานคร 45.97 กรมการขนส่งทางบก 30.49 กรมอนามัย/กรมการแพทย์/กรมควบคุมโรค 30.41 องค์การการขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) 22.67 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร 20.75 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 17.72 กรมอุตุนิยมวิทยา 13.97 อื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาล 1.68 ไม่แน่ใจ 0.88 3. ท่านคิดว่า ปัญหาฝุ่นละอองภายในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล มาจากสาเหตุใดมากที่สุด สาเหตุของปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ รถประจำทาง/รถบรรทุก/รถปิกอัพที่ปล่อยควันดำ 44.05 การก่อสร้างรถไฟฟ้า/ใต้ดิน/ตึก/อาคาร 29.77 โรงงานอุตสาหกรรม 11.33 รถยนต์ส่วนบุคคล/แท็กซี่/รถจักรยานยนต์ 9.66 การเผาขยะในที่โล่งแจ้ง 4.23 อื่น ๆ ได้แก่ เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ขณะที่บางส่วนระบุว่า เกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ตัดต้นไม้ 0.80 ไม่แน่ใจ 0.16 รวม 100.00 4.ท่านอยากให้ภาครัฐ/รัฐบาล แก้ปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล อย่างไร (ตอบได้มากกว่า1 ข้อ) แนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของภาครัฐ/รัฐบาล ร้อยละ ควบคุมมาตรฐานและตรวจวัด ค่าฝุ่นละอองในทุก ๆ ที่ ที่มีการก่อสร้าง ไม่ให้ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 36.63 การจัดการจราจรที่ดี ไม่ให้เกิดปัญหารถติด สาเหตุของการเกิดมลพิษบนท้องถนน 33.52 ให้มีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองอย่างจริงจัง 28.81 อนุมัติการก่อสร้างขนาดใหญ่ ให้เริ่มสร้างทีละโครงการ ทีละจุด ไม่เริ่มก่อสร้างพร้อม ๆ กัน 24.34 รณรงค์ลดการใช้รถส่วนตัว หันมาใช้การเดินทางด้วยขนส่งมวลชน 22.59 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อดูดซับ และลดผลกระทบจากมลพิษในอากาศ 15.00 แจกมาส์กปิดจมูกที่สามารถกันฝุ่นขนาดเล็กPM2.5 ได้ 10.38 หยุดโรงงานอุตสาหกรรม 7.18 เก็บภาษีกับผู้ที่ก่อมลพิษ 5.03 ใช้แอพพลิเคชันที่ตรวจค่ามลพิษ ฝุ่นพิษต่าง ๆ เช่นAQI กรมควบคุมมลพิษ ฯลฯ 3.19 อื่น ๆ ได้แก่ ทำฝนเทียม ฉีดน้ำบริเวณที่มีฝุ่น มีมาตรการควบคุมดูแลท่อไอเสียรถทุกชนิด กำหนดอายุการใช้งาน 7.02 ของรถยนต์ เร่งโครงการที่กำลังก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ไม่แน่ใจ 0.16 ไม่ระบุ 0.08
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ