พัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาท ฝึกอบรม ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ฟรี

ข่าวทั่วไป Friday February 1, 2019 09:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาท สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาท เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรม สาขา ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ระหว่างวันที่ 18 - 22 มีนาคม 2562 ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาท และเมื่อผ่านการฝึกอบรม ผู้ผ่านการฝึกอบรม จะได้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขา ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ระหว่างวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2562 ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาท ผู้สนใจสามารถสมัครได้โดยเข้าไปที่ลิงค์ข้างล่างนี้ https://docs.google.com/…/1ZfLmmLffbSgm2BysKw7fbjdk8voeZCIr… หรือสแกน QR Code มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับความรู้ ทักษะและเจตคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) ความรู้ (Knowledge) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการ (2) ทักษะ (Skills) เป็นการสะสมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญ มีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพตามข้อกำหนด ถูกขั้นตอน และเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ (3) เจตคติ (Attitude) จะต้องมีจิตสำนึกในการทำงานที่ดีประกอบด้วย จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ลักษณะการทดสอบ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นการทดสอบทั้งภาค ความรู้และภาคทักษะ โดยมีเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ภาคความรู้ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวนข้อสอบประมาณ 50-100 ข้อ คะแนนคิดเป็น ประมาณร้อยละ 20 ของคะแนนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพที่กำหนด ประกอบด้วยความรู้เรื่องความปลอดภัย ในการทำงานวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุ ความรู้ในงานของสาขาอาชีพนั้น (2) ภาคทักษะ(ปฏิบัติ) ให้ปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนดให้ คะแนนคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 80 ของคะแนน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพที่กำหนด ประกอบด้วย วิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างปลอดภัย การใช้วัสดุได้อย่างถูกต้อง ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามคำสั่ง และเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การจำแนกฝีมือแรงงานออกเป็นระดับต่าง ๆ ตามลำดับความยากง่ายของงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ระดับ 1 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือและความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานที่ต้องมีหัวหน้างานช่วย ให้คำแนะนำหรือช่วยตัดสินใจในเรื่องสำคัญเมื่อจำเป็น ระดับ 2 หมายถึง หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือระดับกลาง มีความรู้ความสามารถ ทักษะและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้ดีและประสบการณ์ในการทำงานการสามารถให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้คุณภาพงานสูง ระดับ 3 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือระดับสูง สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา การตัดสินใจ รู้ขั้นตอนกระบวนการของงานเป็นอย่างดี สามารถช่วยแนะนำงานฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีสามารถใช้หนังสือคู่มือ นำความรู้และทักษะมาประยุกต์ ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ได้ โดยเฉพาะการตัดสินใจและเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงาน มีดังนี้ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับความรู้ ทักษะ และเจตคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) ด้านสถานประกอบการหรือนายจ้าง จะสามารถกำหนดอันดับชั้นของพนักงานโดยอาศัยมาตรฐานฝีมือแรงงานและใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาบุคลากรหรือคัดเลือกบุคลากรที่เป็นช่างฝีมือเข้าทำงานได้เหมาะสมกับความจำเป็นของงาน (2)ด้านแรงงานฝีมือหรือผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีฝีมือที่สามารถทำงานได้ดีมากด้วยประสบการณ์ แต่ไม่เคยผ่านการฝึกอบรมด้านช่าง การมีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานฝีมือเหล่านี้ได้เข้าทดสอบความรู้ความสามารถและทัศนคติในเชิงช่าง (3) ด้านผู้บริโภค ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการช่างฝีมือที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ได้ผลงานที่มีคุณภาพ เที่ยงตรง เป็นธรรม เชื่อถือได้ (4) ด้านประเทศชาติ แรงงานฝีมือที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ และเมื่อนานาประเทศเกิดการยอมรับแรงงานฝีมือของประเทศไทย ก็จะส่งผลดีหลาย ๆ ด้าน เช่นความต้องการลงทุนของต่างชาติ การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นต้น เมื่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น จะมีผลทำให้แรงงานได้รับค่าจ้างในอัตราที่เป็นธรรมดำรงชีพอยู่ได้ อยู่ดี กินดี สังคมสงบสุข ประเทศชาติมั่นคงต่อไป (5) ภาคราชการ สามารถใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน และวางแผนการพัฒนากำลังคน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ