10 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุน GDP ขยายตัวสู่เป้าหมาย

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday May 2, 2019 16:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--บางกอก ออทัม นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่าฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ เนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามากระทบทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ซึ่งล้วนเป็นแรงฉุดให้ GDP ไทยมีโอกาสเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ดีการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯในรอบนี้ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ และมาตรการลดหย่อนภาษีต่างๆ กว่า 1.3 หมื่นล้านบาท คาดจะกระตุ้น GDP ไทยกลับมาเติบโตตามภาครัฐคาดหวังไว้ โดยแรงกระตุ้นนี้เป็นอานิสงส์บวกต่อหลายบริษัทจดทะเบียน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดหนุน GDP โตตามเป้า : 4 เดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยผชิญกับปัจจัยหลายด้าน เช่น การส่งออกที่อ่อนแอจากสงครามการค้าโลก การท่องเที่ยวไทยที่ยังไม่กลับมาฟื้นตัวเต็มที่ การบริโภคที่ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การลดเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ผ่านการเพิ่ม LTV รวมถึงโครงการประมูลภาครัฐฯที่ล่าช้า ซึ่งอาจทำให้ GDP ไทยโตได้ไม่ถึงเป้าที่ภาครัฐฯคาดไว้ที่ 3.9% ดังนั้นรัฐฯจึงพยายามออกนโยบายมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผ่าน 2 มาตรการหลักคือ 1.การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ และ 2.การส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านการลดหย่อนภาษี พยุงเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ รัฐฯอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรอบนี้กว่า 1.3 หมื่นล้านบาท เข้าสู่ 4 กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ ผู้พิการ จำนวน 1.16 ล้านคน, เกษตรกร จำนวน 4.1 ล้านคน, พ่อแม่ที่มีบุตร จำนวนบุตร 2.7 ล้านคน และผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14.6 ล้านคน มาตรการภาษีส่งเสริมการใช้จ่าย 6 มาตรการลดหย่อนภาษี ที่กระจายครอบคลุมสู่หลากหลายอุตสาหกรรมที่จะช่วยกระตุ้นภาคการใช้จ่ายให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งด้าน การท่องเที่ยว, การศึกษาและกีฬา, สินค้าOTOP, การอ่าน, อสังหาริมทรัพย์ และระบบ e-Tax กลยุทธ์การลงทุน แนะสะสม 5 หุ้นเด่น ที่คาดจะได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯได้แก่ BJC:อานิสงส์บวกโดยตรงจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภค ROBINS:เน้นกระจายสาขาตามต่างจังหวัดเป็นหลัก / Valuation ไม่แพง SPALI:แผนการเติบโตยังโดดเด่น และเข้าข่ายมีที่อยู่อาศัยที่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ERW:สาขาโรงแรมกระจายตัวอยู่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง KTC:รับผลบวกจากการจับจ่ายใช้สอย เพื่อรับผลประโยชน์ทางภาษี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ