“AECS” จับตาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวจากสงครามทางการค้า แนะลงทุนหุ้น Defensive -Growth ชู TPCH - SSP – TTW - BAFS – SAWAD – MTC

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday June 5, 2019 09:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์ บล.เออีซี มองหุ้นไทยได้แรงหนุนฝรั่งลงทุน แต่ยังคงต้องจับตาปัญหาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนส่งผลให้เศรษฐกิจชละตัว ล่าสุดัชนี ISH Markit PMI ของสหรัฐฯเดือน พ.ค. ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.5 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 2.07% ต่ำสุดในรอบ 20 เดือน ถือเป็นสัญญาณ เตือนที่สำคัญ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนให้กรอบดัชนี 1,600-1,630 จุด แนะลงทุนในหุ้น Defensive - Growth ชู TPCH - SSP – TTW - BAFS – SAWAD – MTC เด่น บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS ระบุว่า ทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ แกว่งในกรอบกว้าง ซึ่ได้รับปัจจัยบวก จากMSCI นำ NVDR เข้ามาคำนวณในดัชนี MSCI EM Index ส่งผลให้มี Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทย และแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทั้งจีนและสหรัฐฯส่งผลให้สภาพคล่องในระบบการเงินยังคงดี ส่วนปัจจัยลบจากปัญหาสงครามทางการค้าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนของ Bloomberg Consensusและจับตาประเด็นการเมืองไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ และการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดัชนี ISH Markit PMI เดือน พ.ค. ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.5 ต่ำสุดในรอบ 10 ปีจากผลกระทบของสงครามทางการค้า อีกทั้ง สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโกในอัตรา 5% โดยเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 10 มิ.ย.เพื่อสกัดผู้อพยพผิดกฎหมายจากเม็กซิกที่ข้ามพรมแดนเข้ามาในสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 2.07% ต่ำสุดในรอบ 20 เดือน โดยต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 3 เดือนที่อยู่ระดับ 2.35% ทำให้เกิด Inverted Yield Curve ส่งผลต่อสัญญาณภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยบวกจาก การประชุม FED ในปีนี้เริ่มเห็นสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก Implied Prob. ช่วงอัตราดอกเบี้ย 2-2.25% ปรับเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดมากขึ้น ดังนั้น มองระยะสั้นดัชนีแกว่งในกรอบ 1,600-1,630 แนะนำ กลยุทธ์ลงซื้อ-ขึ้นขายโดยกลุ่มหุ้นที่ยังมองว่าน่าลงทุน ได้แก่ 1 กลุ่ม Defensive และ 1 กลุ่ม Growth ได้แก่ กลุ่มหุ้นกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นเราเลือกหุ้นที่มีความมั่นคงทางกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ได้แก่ กลุ่มพลังงานทางเลือก แนะนำ TPCH (แม้ช่วง 1Q62 กำไรโตเพียง 4.4%YoY เพราะมีโรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ดีมองระยะยาวมีแนวโน้มโตสดใสจากเป้าปี 63 จะเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็น 200 MW และโรงไฟฟ้าจากขยะกำลังการผลิต 50 MW จากปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 60 MW, โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 49 MW และโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา 10 MW) และ SSP (ช่วง 1Q62 กำไรโต 16.4%YoY จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายได้ของโครงการต่างๆ และการบริการรับเหมาก่อสร้างโซลาร์บนหลังคาโดยปี 62 ตั้งเป้า COD เพิ่มอีก 65.6 MW จากโซลาฟาร์มมองโกเลีย 16 MW และโซลาร์ฟาร์มเวียดนาม 49.6MW ส่งผลให้สิ้นปีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 157.1MW จากปี 61 ที่ 90.4MW) นอกจากนี้มอง กลุ่มสาธารณูปโภค เป็น OASIS ยามเมื่อตลาดหุ้นไทยผันผวน เลือก TTW (กำไรสุทธิช่วง 1Q62 โต 10.4%YoY หลังรายได้ขายน้ำประปารวมของทั้ง TTW และ PTW เพิ่มขึ้น 4%YoY ตามความต้องการใช้น้ำประปาของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น บวกกับส่วนแบ่งกำไรจาก CKP (TTW ถือหุ้น 25.3%) เพิ่มขึ้นจากเพียง 3.2 ลบ. ในช่วง 1Q61 เป็น 35.3 ลบ. สอดคล้องกับปริมาณขายไฟที่มากขึ้นของโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 และ BAFS (กำไรสุทธิช่วง 1Q62 เติบโต 7.8%YoY จากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.9%YoY ส่วนปี 62ตั้งเป้ารายได้โต 10%YoY และเป้าปริมาณการเติมน้ำมันโต 4-5%YoY ตามจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับเริ่มรับรู้รายได้ท่อส่งน้ำมันบางปะอิน-พิจิตร ปี 62 ราว 200 ลบ. และเตรียมเข้าประมูลโครงการจัดเก็บและเติมน้ำมันในสนามบินอู่ตะเภา) สุดท้าย กลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ คาดมีโอกาสเติบโตได้ดีจากอัตราการขยายตัวของพอร์ตลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการกู้ยืมเงินของกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ยังมีอยู่มากและได้รับผลบวกจากการที่ ธปท. เข้ามาควบคุมด้านกฏระเบียบอย่างเข้มงวดทำให้คาดจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในกลุ่มของผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบมากขึ้นแนะนำ SAWAD (คาดกำไรปี 62 โต 30.8%YoY หนุนด้วยเป้าพอร์ตสินเชื่อโต 20-30% พร้อมแผนเปิดสาขาใหม่อีก 300-400 สาขา, Asset Yield ฟื้นตัวตามสัดส่วนการรับรู้รายได้ผ่านสัญญาเงินกู้ผ่าน BFIT ที่มากขึ้นและต้นทุนทางการเงินที่ปรับลงหลังได้รับเงินเพิ่มทุนจากพันธมิตร) และ MTC (คาดกำไรปี 62 โต 20.9%YoY หนุนด้วยแผนเปิดสาขาใหม่ตามเป้าณสิ้นปีที่ 3,900 สาขา, ต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มลดลงหลัง TRIS ปรับเพิ่ม Rating ของบริษัทขึ้นและภาระตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่น้อยลง)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ