คณะผู้ร่วมสัมมนานานาชาติ “ASEAN Symposium on Development of Hight Value-Added Food Product” Fi Asia 2019 เยี่ยมชม ศึกษาดูงานของ วว.

ข่าวทั่วไป Friday September 13, 2019 15:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย คณะผู้ร่วมสัมมนานานาชาติ "ASEAN Symposium on Development of Hight Value-Added Food Product" เนื่องในงาน "Food ingredients Asia (Fi Asia 2019)" ซึ่ง วว. บริษัท อินฟอร์มาร์ มาร์เก็ต จำกัด และสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2562 ณ ไบเทค บางนา ประกอบด้วยนักวิจัยจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานของ วว. ได้แก่ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมโพรไบโอติกและพรีไบโอติก (ICPIM) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (ALEC) โดยมี ดร.โสภณ สิริศรัทธา นักวิจัยอาวุโส ดร.โศรดา วัลภา นักวิจัยอาวุโส ดร.นารินทร์ จันทร์สว่าง นักวิจัย และนายธนพล ธนากรโยธิน นักทดลองวิทยาศาสตร์วิจัย ให้การต้อนรับ (ในวันที่ 13 กันยายน 2562 วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี) โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) เป็นโรงงานอาหารมาตรฐาน ดำเนินงานโดย วว. ให้บริการผู้ประกอบการอย่างครบวงจร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการและการบ่มเพาะเทคโนโลยีการผลิต เพื่อการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรม เพื่อ"ลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ" นับเป็นเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยสนับสนุนขับเคลื่อนวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ "ประเทศไทย 4.0" โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร วว. ประกอบด้วย ระบบเครื่องจักรสายการผลิตเครื่องดื่มและเครื่องจักรสายการผลิตผลไม้อบแห้ง 2 ระบบ โดยเป็นระบบที่ถูกสุขลักษณะและได้มาตรฐานการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตอาหารที่ดี (Good Manufacture Practice ,GMP) ได้แก่ - เครื่องจักรเพื่อการผลิตผลไม้แช่อิ่มและอบแห้ง 1,200 กิโลกรัม/ครั้ง - เครื่องจักรเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร Freeze dry 200 กิโลกรัม/ครั้ง - เครื่องทอดสุญญากาศ 15 กิโลกรัม/ครั้ง - เครื่องจักรเพื่อการผลิตเครื่องดื่มบรรจุกล่อง UHT 1,000 ลิตร/ชั่วโมง - เครื่องจักรเพื่อการผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวดแก้ว 500 ลิตร/ชั่วโมง ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมโพรไบโอติกและพรีไบโอติก (Innovative Center for Production of Industrially used Microorganisms : ICPIM) ดำเนินงานวิจัยพัฒนาเพื่อนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ครบวงจร ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาตรฐาน ISO/IEC 17025, คลังเก็บรักษาสายพันธุ์โพรไบโอติก (Probiotic Bank) ที่เป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาจุลินทรีย์โพรไบโอติกประจำถิ่นที่มีศักยภาพ, ห้องปฏิบัติการเฉพาะทางภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 2 (Biosafety Level 2) สำหรับงานวิจัยพัฒนาเพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีศักยภาพกับอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ และอาหารนม และระบบกระบวนการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อการผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (ALGAL EXCELLENT CENTER : ALEC) ดำเนินการจัดตั้งคลังเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่าย (TISTR Algae Culture Collection, TISTR ACC) ซึ่งในปัจจุบันมีการรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็ก (freshwater microalgae) จากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล กว่า 1,000 สายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ และทดสอบ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) ที่สำคัญและโดดเด่น คือ มีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในทุกระดับการเพาะเลี้ยงตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการจนถึงระดับขยายกลางแจ้งแบบต่อเนื่องและครบวงจร ปริมาตรรวม 400,000 ลิตร เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านเกษตร อาหาร เภสัชภัณฑ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผลการดำเนินงานหรือขอรับบริการด้านวิทยาศาสตร์ของ วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 E-mail : tistr@tistr.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ