“ปลาฉิ้งฉ้าง วันลาภ” ของดี วิสาหกิจชุมชนบ้านเกาะไหล จ.พังงา คว้า Product Champion ฝีมือปรุงรสแม่ แพ๊คเกจจิ้งลูก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 17, 2019 15:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--nipon pr เสน่ห์ของไทยคือ "ชุมชน" แต่ละแห่ง มีวัฒนธรรม ประเพณี และอาชีพคล้ายคลึงกัน เป็นเรื่องดีหากไม่ได้มองเพื่อนบ้านเป็นคู่แข่ง แต่มองเป็นแรง เป็นงานกลุ่ม ที่ต้องผลักดัน ช่วยกันให้เติบโตทั้งระบบ เพราะแบบนี้ สสว. จับมือ 8 มหาวิทยาลัยดังทั่วประเทศจัดตั้ง ศูนย์ Excellence Center มุ่งความเป็นเลิศด้านเกษตรและด้านการพัฒนาชุมชน ในส่วน ม.วลัยลักษณ์ ดูแลพื้นที่วิสาหกิจชุมชนภาคใต้ เมื่อเร็วๆ นี้ นำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนากว่าร้อยร้านค้า / รายการ เข้าร่วมงาน "ผสาน สร้างสรรค์ มุ่งมั่น ยั่งยืน สุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน & Product Champions 2019" ครั้งที่ 3 พร้อมโชว์สินค้าที่ได้รับเลือกให้เป็น Product Champions คือ ผลิตภัณฑ์ปลาฉิ้งฉ้างทอดกรอบรสต่างๆ แบรนด์วันลาภ จากวิสาหกิจชุมชนบ้านกะไหล จังหวัดพังงา (จากผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 461 ราย คัดเลือก เหลือ 55 ราย จากนั้นคัดเลือกเหลือเพียง 20 ราย มาพัฒนาและค้นหา Product Champions จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์) ในเมืองไทย ไม่มีใครไม่รู้จักปลาตัวเล็ก แต่คุณประโยชน์มหาศาล มีมากในฝั่งอันดามัน เพราะท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยแพลงตอนพืชและสัตว์หลายชนิด เป็นเหตุให้ปลาชุกชม นอกจากนั้นยังมีบทวิจัย เพิ่มมูลค่า เรื่องปลาฉิ้งฉ้างเป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 โปแทสเซียมและแคลเซียมในปริมาณที่สูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยลดระดับความดันในโลหิต บำรุงข้อ จอประสาทสายตา ฯลฯ เมื่อนำมาอบแห้ง ทอดกรอบ ผ่านกรรมวิธีการปรุงรส ทำให้เคี้ยวอร่อยเพลิน เป็น Snack ลำดับต้นๆ ของคนรุ่นใหม่ และคนรักสุขภาพ "วันลาภ เป็นชื่อคุณแม่ เพราะเป็นคนท้องถิ่น ต.เกาะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง ซึ่งในชุมชนทำปลาฉิ้งฉ้างมานาน กรรมวิธีสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น เป็นเสน่ห์ชุมชน เห็นตั้งแต่คัดแยก ตาก ปรุงรส ฯลฯ รวมถึงแพ๊คเกจจิ้งง่ายๆ ตั้งแต่สมัยลนเทียน มัดหนังยาง คุณแม่ทำมายี่สิบกว่าปี จนสามปีหลัง ทำงานแบบไร้จุดหมาย คิดว่ากลับมาช่วยที่บ้านทำแบรนด์ดิ้งเป็นของตัวเองดีกว่า เพราะในชุมชน ในจังหวัด หรือละแวะใกล้เคียงก็คุ้นชื่อ วันลาภ อยู่แล้ว" คุณนะโม - ธีรวุฒิ ศรีเที่ยง รุ่นสองวันลาภเผยที่มาที่ไป ก่อนนำพาโปรดักส์ชุมชน ฝีมือปรุงรสของแม่คว้ารางวัล เมื่อถามถึงความต่าง ถ้าเป็นในลุ่มน้ำฝั่งอันดามัน เจ้าของแบรนด์บอกว่า ไม่ได้แตกต่างกันอยู่แล้ว หากแต่รายละเอียดที่เพิ่มเข้าไป รวมถึงความเป็น "แบรนด์" ที่สะท้อนความใส่ใจและคุณภาพต่างหากที่เป็นจุดขาย ทั้งนี้กรรมวิธีการผลิตแบบชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่หรือเด็กช่วยกัน ก็ไม่อยากให้เลือนหายไป ความคิดที่จะผสมผสาน บวกกับได้ยินข่าว โครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2562 จึงสมัครเข้าร่วม และพัฒนาโปรดักส์ร่วมกับมหาวิทยาลัย จากภูมิปัญญาชาวบ้าน พัฒนาให้เป็น องค์ความรู้ ที่เป็นขั้นตอน เป็นระบบ พัฒนาได้ รองรับตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยใช้ของดีพื้นบ้านเรานี่แหล่ะ สำหรับผลิตภัณฑ์ ปลาฉิ้งฉ้าง อบกรอบ (ไม่ใส่ผงปรุงรส และวัตถุกันเสีย) หวาน มัน กรอบ อร่อยลงตัว มี 3 รสชาติรสดั่งเดิม ปริมาณ 100 G รสต้มยำ ปริมาณ 130 G รสอบงา ปริมาณ 130 G ขนาดบรรจุภัณท์ 8x12 นิ้ว ราคา 85 บาท ต่อ 1 ห่อ ประโยชน์ของปลาฉิ้งฉ้าง ปลาฉิ้งฉ้างเป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 โปแทสเซียมและแคลเซียม ในปริมาณที่สูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยลดระดับความดันในโลหิต ปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ปลากะตัก ได้ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100 % และเราได้คัดสรร มาจากฝังทะเล อันดามันเท่านั้น จากการสำรวจพบว่าทะเลอันดามันเป็นทะเลน้ำลึก มีแพลงตอนพืชและสัตว์อาศัยอยู่มาก ซึ่งเป็นอาหารของปลาฉิ้งฉ้าง จึงทำให้ปลาฉิ้งฉ้างมีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับการผลิตที่ปราศจากผงปรุงรส และวัตถุกันเสีย จึงทำให้มีรสชาติ หวาน มัน กรอบ อร่อยลงตัว นอกจากปลาฉิ้งฉ้างอบกรอบแล้ว ทางร้านเราก็มีปลาฉิ้งฉ้างอบแห้ง สามารถทานเล่น หรือนำไปผัดเป็นกับข้าวก็ได้ หวาน มัน อร่อย โดย ผลิตภัณฑ์ร้านวันลาภ วางขายในโมเดิร์นเทรดท้องถิ่น เช่น ซุปเปอร์ชีพ, บิ๊กซี ฯลฯ หรือถ้าจะสั่ง ยินดีบริการจัดส่งของให้ถึงหน้าบ้าน เพียงแค่ โทรมาสั่ง 0898893204 ท้ายสุด ผศ.ดร.ผานิตย์ คุ้มฮิ้น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการโครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่ ส่งเสริมให้เกิดความสร้างสรรค์ในการนำวัตถุดิบ ภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างความรู้ พัฒนาทักษะให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนให้มีการบริหารจัดการที่ดี และผลิตภัณฑ์ หรือบริการของชุมชนที่ได้มาตรฐาน สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (Cluster) และความร่วมมือ ระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาองค์ความรู้ และความเป็นอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากส่วนบุคคล (เพื่อการยังชีพ) เป็นการรวมกลุ่มชุมชน (ยังชีพและธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก) เป็นการยกระดับเป็นกลุ่มธุรกิจ (วิสาหกิจชุมชน) และพัฒนาเป็น SMEs (วิสาหกิจชุมชนจดทะเบียนนิติบุคคล/นิติบุคคล –บจก.-หจก.) โดยเริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 ตั้งแต่การวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ ภาคการเกษตร เพื่อวางแผนการดำเนินงาน จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการด้านธุรกิจ ในเรื่องความรู้พื้นฐานการวางแผนภาษี, เทคนิคการตั้งราคา และช่องทางการตลาดออนไลน์และเรื่องความรู้พื้นฐานแนวคิดการทำธุรกิจยุค 4.0 ให้กับ (ผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 461 ราย คัดเลือก เหลือ 55 ราย จากนั้นคัดเลือกเหลือเพียง 20 ราย มาพัฒนาและค้นหา Product Champions จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาฉิ้งฉ้างทอดกรอบรสต่างๆ(วันลาภ) จากวิสาหกิจชุมชนบ้านกะไหล จังหวัดพังงา ซึ่งปลาฉิ้งฉ้างเป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 โปแทสเซียมและแคลเซียมในปริมาณที่สูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยลดระดับความดันในโลหิต กับการผลิตที่ปราศจากผงปรุงรส และวัตถุกันเสีย จึงทำให้มีรสชาติ หวาน มัน กรอบ อร่อยลงตัว จึงมีความแตกต่างกับแบรนด์อื่นๆ ประวัติชุมชน ตำบลกะไหล เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามชื่อของผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณตำบลนี้เป็นคนแรก จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในชุมชนทราบว่า ตำบลกะไหลมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนา โดยมีทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ และชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างไม่ได้เห็นถึงความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและศาสนา โดยแรกเริ่มนั้นผู้ที่มาอาศัยอยู่เป็นคนแรกเป็นชาวไทยมุสลิมที่มีชื่อว่า "ไล้" และผู้ที่เดินทางไปมาหาสู่หรือเดินทางผ่านในสมัยนั้นเรียกกันว่า "กะไล้" คำว่า "กะ" หมายถึงพี่สาวที่ชาวมุสลิมเรียกกัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนมาเรื่อยๆ จนเป็นกะไหลในปัจจุบัน ซึ่งเหตุผลของการมาตั้งถิ่นฐานนี้ สันนิษฐานว่า เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงอยู่ติดชายฝั่งอ่าวพังงา มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งบนบกและในทะเล เหมาะต่อการดำรงชีพ อาชีพ ส่วนใหญ่ของตำบลกะไหลประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ รองลงมาคือการทำประมง สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง เขาตาปู เขาพิงกัน เขาพานอินทร์ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย, ไอร์แลนด์ซาฟารี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ