กระทรวงวัฒนธรรม จัดโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ปี 62 นำแนวคิดศาสตร์ 4 DNA มาถอดรหัสอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต

ข่าวทั่วไป Tuesday September 24, 2019 15:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบ ภายใต้ "โครงการสร้าง สรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม" ปี 2562 โดยกล่าวว่า "สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อเป็นการนำกระบวนสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยมาพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่มีในชุมชน เป็นการอนุรักษ์พัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างมากมายให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพสร้างรายได้ โดยใช้แนวคิดศาสตร์ 4 DNA ซึ่งเป็นการคิดรอบด้าน มีหลักสำคัญคือการค้นหาตัวตนของแต่ละชุมชนออกมาจากมิติต่างๆ แล้วนำมาศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาสินค้า และบริการทางวัฒนธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตราสินค้า โลโก้ โทนสี ลวดลายผ้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน ฯลฯ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจะมีความทันสมัยและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งเสริมเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในชุมชนในให้เติบโต โดยโครงการฯ ดังกล่าว จัดทำขึ้นภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในแต่ละจังหวัด เสริมสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนในทุกภาคส่วน โดยในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัด พิษณุโลก ระยอง สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 43 อำเภอ ทำให้ได้ผลงานการออกแบบที่โดดเด่น มีการเผยแพร่องค์ความรู้ และการพัฒนาต่อยอดได้อย่างเป็นรูปธรรม นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปี 2562 มี 4 จังหวัดที่เข้าร่วม ได้แก่ สมุทรสาคร นครราชสีมา เชียงราย และเพชรบุรี รวม 61 อำเภอ ซึ่งเป็นผลงานต้นแบบที่ได้นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนจึงได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ในการให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประ สิทธิภาพ รวมทั้งได้มีการทำข้อตกลงโอนลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้กับจังหวัดพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับมอบ ซึ่งผลงานที่ได้รับนั้นจะได้นำไปใช้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป" ด้าน นส.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า "สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจโดยตรง ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และจังหวัดในพื้นที่ต่างๆ ได้ทำการให้ความรู้กับประชาชนหรือชุมชน ในเรื่องโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ผ่านแนวคิดศาสตร์ 4 DNA ซึ่งนับเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยใช้มิติทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นต้นน้ำ นำมาต่อยอดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ ไปสู่การออกแบบในหลากหลายมิติ เป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มุ่งหวังให้เป็นแนวทางในการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม เป็นการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมในทุกภาคส่วน และเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเองอีกด้วย" ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้คิดค้นศาสตร์ 4 DNA กล่าวว่า "แนวคิดศาสตร์ 4 DNA เป็นการสำรวจและวิจัยตั้งแต่พฤติกรรมของคนจนถึงระดับวัฒนธรรม จากนั้นจึงแปลงข้อมูลทั้งหมดให้กลายเป็นคอนเซ็ปท์ของแต่ละชุมชน จนทำให้เกิดอัตลักษณ์ประจำถิ่น ที่สามารถประยุกต์ใช้สร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจในหลากหลายมิติ มีเรื่องราวให้คนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจ หรืออาจกล่าวได้ว่า 4 DNA คือการระดมความคิดจากทุกภาคส่วนในการกำหนดอัตลักษณ์ อาทิ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ฯลฯจากนั้นนำไปสู่การออกแบบรอบทิศ ได้แนวทางศาสตร์ 4 DNA เฉพาะแต่ละชุมชนในการนำไปใช้ประโยชน์รอบด้าน" ในปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีการผลักดันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยกำลังร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์, การท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงมหาดไทย ในการนำผลงานการออกแบบไปต่อยอดด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชน ซึ่งในปี 2563 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้มีแนวทางในการต่อยอดในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ, เมืองรอง และเมืองการท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาไปสู่ Creative City และการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (MICE) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ภูเก็ต สุโขทัย และราชบุรี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ