หลุม รอยดำ จากอีสุกอีใส ทำอย่างไร?

ข่าวทั่วไป Thursday October 3, 2019 12:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--โรงพยาบาลรามคำแหง เมื่อพูดถึง "อีสุกอีใส" หากเป็นโรคนี้ในวัยผู้ใหญ่อาจรู้สึกไม่ค่อยดีนัก ไม่ใช่เพราะอาการป่วยที่หนักหนา แต่เพราะรอยดำ รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นและทิ้งร่องรอยไว้กับเราอย่างยาวนานนั่นเอง รู้หรือไม่? ว่ามีผู้ใหญ่ประมาณ 5% ที่ไม่มีภูมิและมีโอกาสที่จะติดเชื้ออีสุกอีใสได้ และเมื่อเป็นแล้วจะมีโอกาสเสียชีวิตหรือเกิดผลแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสมากกว่าเด็กๆ ได้อีกด้วย อีสุกอีใสเป็นเชื้อที่แพร่ได้ง่ายตั้งแต่ 1-2 วันก่อนตุ่มขึ้นไปจนถึงระยะตกสะเก็ด จากการหายใจ ไอ จาม การสัมผัสผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกันที่ควรระวังในผู้ใหญ่คือกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือผู้ที่มีมีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น ผู้ป่วย HIV ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดผลแทรกซ้อนสูง นอกจากนี้สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะอายุครรภ์ต่ำกว่า 20 สัปดาห์ หากเกิดการติดเชื้ออีสุกอีใส จะมีโอกาสที่เด็กจะออกมามีความผิดปกติรุนแรงได้ประมาณ 1% หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเคยเป็นอีสุกอีใส การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันได้ถึง 70-90% และป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ถึง 95% เลยทีเดียว หากใครมีอาการคล้ายหวัด มีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามตัว อย่าปล่อยไว้นานให้รีบมาพบแพทย์รับยาฆ่าเชื้อไวรัสและรักษาตามอาการ จะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันการเกิดแผลเป็นได้ เป็นอีสุกอีใสแล้วรักษาอย่างไร? แพทย์ผิวหนังอาจจะให้ยาทาป้องกันการติดเชื้อ ยาลดอาการคันและให้คำแนะนำการดูแลแผลที่ถูกต้องและละเอียดครอบคลุมเรื่องการรักษาหลุมที่เกิดจากอีสุกอีใส รอยดำ รอยแผลเป็นหลังจากที่โรคอีสุกอีใสหายแล้ว เช่น การทายา การทำเลเซอร์ต้องทำขณะเป็นแผลเป็นใหม่ๆ ซึ่งจะได้ผลดีและช่วยให้หายเร็วขึ้นได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ