Super Poll ดัชนีความเชื่อมั่นในอาหาร

ข่าวทั่วไป Tuesday October 8, 2019 09:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอาหาร 3 ประเภท (อาหารปรุงเสร็จ อาหารบรรจุเสร็จ และอาหารสด) กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,010 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระหว่าง 1 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เช่น อาหารตามสั่ง มากที่สุด (ร้อยละ 98.6) โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจซื้อจากสี กลิ่น และความสด (ร้อยละ 19.2) รองลงมา คือ ความปลอดภัย (ปลอดสารตกค้าง เชื้อโรค) (ร้อยละ 19.0) และราคา (ร้อยละ 18.6) ตามลำดับ ในขณะที่ซื้ออาหารบรรจุเสร็จ (อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่ม) (ร้อยละ 98.1) โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจซื้อจากราคา (ร้อยละ 17.5) รองลงมา คือ วันหมดอายุ (ร้อยละ 17.4) และความปลอดภัย (ปลอดสารตกค้าง เชื้อโรค) (ร้อยละ 15.9 ) ตามลำดับ และซื้ออาหารสด(เนื้อสัตว์สด ผักสด) (ร้อยละ 93.7) ใช้เกณฑ์การตัดสินใจซื้อจากสี กลิ่น และความสด (ร้อยละ 22.0) รองลงมา คือ ความปลอดภัย (ปลอดสารตกค้าง เชื้อโรค) (ร้อยละ 20.0) และราคา (ร้อยละ 19.0) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ แสดงความคิดเห็นว่าองค์กรที่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับท่านในเรื่องการผลิตภัณฑ์อาหารมีคุณภาพ สะอาดปลอดภัย อันดับ 1 คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) (ร้อยละ 29.7) อันดับ 2 คือ กรมอนามัย (ร้อยละ 25.6) อันดับ 3 คือบริษัทเอกชน (แบรนด์ ยี่ห้อต่าง ๆ) (ร้อยละ 16.3) ตามลำดับ ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคจำนวนมากที่สุดซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เช่นอาหารตามสั่งและอาหารบรรจุเสร็จเช่นอาหารแช่แข็ง เครื่องดื่ม และอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์สดและผักสด ตามลำดับ โดยการซื้ออาหารปรุงสำเร็จผู้บริโภคที่ตลาดสดและใช้เกณฑ์การตัดสินใจซื้อจาก สี กลิ่น และความสด เป็นหลัก ส่วนการซื้ออาหารบรรจุเสร็จจากร้านสะดวกซื้อและใช้เกณฑ์ด้านราคา ในขณะที่การซื้ออาหารสดจากตลาดสดใช้เกณฑ์สีกลิ่นและความสดเป็นหลัก นอกจากนี้ องค์กรที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคด้านคุณภาพสะอาดและปลอดภัยของอาหารอันดับหนึ่งคือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รองลงมาคือ กรมอนามัย และบริษัทเอกชน ตามลำดับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ