ทีมวินเนอร์ – ตงตง โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ คว้าแชมป์ Water Rocket Design Challenge อพวช. เตรียมส่งเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมแข่งขันระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

ข่าวทั่วไป Wednesday October 16, 2019 17:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันโทรี่ เป็ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค เดินหน้าสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ จัดการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 18 พร้อมมอบรางวัลและปิดการแข่งขัน ในระหว่างวันที่ 10 - 11 ตุลาคม 2562 ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี ผลปรากฏว่า ทีมวินเนอร์ – ตงตง จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ คว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภท Water Rocket Design Challenge โดยจะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กับ การแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ "APRSAF Water Rocket Event" ต่อไป ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 18 รอบชิงชนะเลิศว่า "เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสังคมในอนาคตเป็น สังคมฐานความรู้ ซึ่งกิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำ ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนและประชาชน ให้สนใจเรื่องของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น การแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการกระตุ้น เสริมสร้างพัฒนาทักษะกระบวนการ และการเรียนทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบให้กับเยาวชนควบคู่กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนานและท้าทาย โดยเยาวชนจะได้ลงมือปฏิบัติจริง ทดลอง สังเกต แก้ปัญหา ทำงานร่วมกับทีมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ให้เป็นจรวดขวดน้ำ ฐานปล่อยจรวด และขอให้เยาวชนทุกคนเก็บประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ กิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนได้เห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก จับต้องได้ใช้ประโยชน์ได้จริง การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ เป็นการนำหลักการ STEM Education มาใช้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ (Science) ได้แก่ แรง โพรเจคไทล์ มุมยิง ฯลฯ ด้านเทคโนโลยี (Technology) ได้แก่ การบิน การลอยตัว ด้านวิศวกรรม (Engineering) ได้แก่ การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำให้มีความเหมาะสมในการแข่งขันแต่ละประเภท ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) ได้แก่ คำนวณแรงลม ทิศทาง มุมยิงจากแท่นยิง ความไกล ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นการนำ STEM มาประยุกต์ในการแข่งขันจรวดขวดน้ำได้อย่างครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้น การประดิษฐ์ให้เกิดความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ยังก่อให้เกิดทักษะด้านศิลปะ (Art) อีกด้วย" การแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ เป็นกิจกรรมที่ อพวช. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในทุก ๆ ปี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุกการทำกิจกรรม ซึ่งในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร , มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี, มหาวิทยาลัยขอนแก่น , มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นอกจากนี้เรายังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ซันโทรี่ เป็ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างดียิ่ง โดยครั้งนี้มีเยาวชนสนใจเข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวน 1,348 ทีม โดยมีเยาวชนจากทั่วประเทศผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 111 ทีม สำหรับทีมเยาวชนที่ชนะการประกวดประเภท Water Rocket Design Challenge จะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ "APRSAF Water Rocket Event" ต่อไป ซึ่งมีเยาวชนจากทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมแข่งขันในทุกปี สำหรับผลการแข่งขันผลการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 18 มีดังนี้ - รางวัลการแข่งขันจรวดขวดน้ำ ประเภทแม่นยำ - รางวัลชนะเลิศ ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีม FFW ROCKET TWO จากโรงเรียนเฟื่องฟ้าวิทยา จ.ปทุมธานี และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีม T.C.S.5 จากโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา จ.ตรัง - รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีมหนองกุงกลาง 1 จากโรงเรียนบ้านหนองกุงกลาง จ.กาฬสินธุ์ และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีม Star one จากโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จ.พัทลุง - รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีมอู่ข้าว 4.0 จากโรงเรียนวัดอู่ข้าว จ.ปทุมธานี และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีม Space bar จากโรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม จ.เชียงใหม่ - รางวัลการแข่งขันจรวดขวดน้ำ ประเภทความไกลขวดเดียว - รางวัลชนะเลิศ ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีม T.C.S.3 จากโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา จ.ตรัง และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีม T.C.S.6 จากโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา จ.ตรัง - รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีม Gripen#1 จากโรงเรียนบ้านสุโสะ จ.สงขลา และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีมโมคลานทะยานฟ้า 3 จากโรงเรียนโมคลานประชาสรรค์ จ.นครศรีธรรมราช - รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีมบ้านหนองกุงน้อย A1 จากโรงเรียนบ้านหนองกุงน้อย จ.กาฬสินธุ์ และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีมมิเอกิ จากโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่ - รางวัลการแข่งขันจรวดขวดน้ำ ประเภทความไกลหลายขวด - รางวัลชนะเลิศ ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีม T.C.S.4 จากโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา จ.ตรัง และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีม K.N.W. Rocket A จากโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น - รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีมศิษย์หลวงพ่อคำแสน 3 จากโรงเรียนวัดปลวกง่าม จ.พิษณุโลก และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีมT.C.S. 7 จากโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา จ.ตรัง - รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีม Successful 2 จากโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร จ.กาฬสินธุ์ และมัธยมศึกษา ได้แก่ ทีมเทพบดินทร์ A จากโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยา จ.เชียงใหม่ และรางวัลการแข่งขันจรวดขวดน้ำ Water Rocket Design Challenge ดังนี้ - รางวัล Science Communication Award ได้แก่ ทีม 404! Not found จากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก - รางวัล Technical Award ได้แก่ ทีม MKN New Generation 1 EP.2 จาก โรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย จ.เชียงใหม่ และรางวัล The Best Water Rocket Design ที่เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ ได้แก่ ทีมวินเนอร์ – ตงตง จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ติดตามผลการแข่งขันและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 1414 หรือ www.nsm.or.th หรือ www.facebook.com/thailandwaterrocketchampionship

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ