FAO ร่วมฉลอง 2 เหตุการณ์สำคัญ “สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลก”

ข่าวทั่วไป Tuesday November 19, 2019 15:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO ร่วมฉลอง 2 เหตุการณ์สำคัญ "สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลก" และเปิดศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาปฏิชีวนะระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรก (FAO AMR) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน "สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลก" ปี 2562 พร้อมทั้งเปิดศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาปฏิชีวนะระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรก (FAO AMR) อีกทั้งยังเผยแพร่ความรู้แนวทางการติดตามและเฝ้าระวังการต้านยาจุลชีพฉบับแรก จากทั้งหมด 5 ฉบับอีกด้วย ดร.คาทิงก้า เดอ บาล็อค เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอนามัยสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ องค์การอาหารและเกษตรสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (FAO RAP) เปิดเผยว่า สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลกในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2562 โดย FAO, องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE), องค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UN Environment) ได้เรียกร้องให้มีการมุ่งเน้นเรื่องแผนปฏิบัติการระดับโลก ด้านการต่อต้านยาต้านจุลชีพ (AMR) ในขณะที่โลกกำลังต่อสู้กับผลกระทบของโรคสัตว์ข้ามแดนที่เกิดใหม่ (TAD) ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ แสดงให้เห็นถึงการจัดการกับการต่อต้านยาต้านจุลชีพ จะช่วยควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ระบาดข้ามแดน รวมถึงโรคอหิวาในสุกรอัฟริกันได้ "สำหรับการการดื้อยาปฏิชีวนะ คือ ความสามารถของแบคทีเรียในการปรับตัวให้ทนต่อฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นๆ ดังนั้น Antimicrobial Reristance เป็นคำทั่วไปสำหรับการดื้อยาในจุลชีพเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่การใช้ยาต้านจุลชีพในทางที่ผิดนั้นมีส่วนช่วยให้เกิดการแพร่กระจายของการดื้อยาต้านจุลชีพได้เร็วมากขึ้น การปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะในกระบวนการผลิต เช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำ ความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นพื้นฐาน และสุขอนามัยส่วยบุคคล จะช่วยในการป้องกันโรคและความต้องการใช้ยาต้านจุลชีพได้" เกษตรกรและนักปฐพีวิทยาบางคนใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์บางคนใช้ยาปฏิชีวนะเกินปริมาณที่กำหนดเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ ดังนั้นจึงทำให้ยาต้านจุลชีพมีประสิทธิภาพน้อยลง จึงจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการพยายามแก้ไขปัญหา "การก่อตั้งศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นทางการในประเทศไทยให้เป็นศูนย์ข้อมูล เฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) มีความพยายามในการพัฒนาขีดความสามารถในการติดตามและเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะในภูมิภาค โดยทาง FAO ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) ได้ทำงานร่วมกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประสานงานกับประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิก พร้อมการสนับสนุนทางเทคนิค และคำแนะนำจาก FAO เพื่อสร้างความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการทดสอบการแพ้ยาต้านจุลชีพ (AST)" สำหรับคู่มือแนวทางการติดตามและเฝ้าระวัง AMR เล่มที่ 1 จากทั้งหมด 5 เล่ม มุ่งเน้นไปที่สัตว์เพื่อการบริโภคเพื่อการป้องกันสุขภาพของประชาชน โดยการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามและเฝ้าระวังการดื้อยาจุลชีพ โดยเฉพาะในด้านระบาดวิทยาและวิธีการทางห้องปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดการข้อมูล อีกทั้งยังได้รับการพัฒนาร่วมกับภาควิชาสัตวแพทยสาธาราณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แต่งคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งทิพย์ ชวนชื่น, ดร.ธราดล เหลืองทองคำ, ดร.สหฤทัย เจียมศรีพงษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ DR. Mary Joy Gordondello ผู้ประสานงานโครงการ FAO AMR

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ