สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศของไทย ยกระดับขีดความสามารถของกองทัพไทยด้วยระบบดิจิทัลจาก Thales

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 21, 2019 16:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 พ.ย.--อินวิส - สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (สทป.) เตรียมรับรถยานเกราะ (APC) ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยระบบ C5I ของ Thales (การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ) - ระบบรองรับความต้องการในส่วนงานดิจิทัลของกองทัพบกที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในสนามรบ โดยการอัพเกรดกองพลที่มีอยู่ด้วยระบบการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุด - นับเป็นโครงการแรกที่ส่งมอบให้กับ สทป. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลง (MoA) ที่ลงนามระหว่าง สทป. บริษัทดาต้าเกท และ Thales ในปี 2561 จากการที่กองทัพไทยยังคงอานุภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสื่อสารในสนามรบ Thales มีความยินดีที่จะประกาศว่าภายในปลายปี 2562 นี้ สทป. จะได้รับมอบยานเกราะลำเลียงพลทหารราบรุ่น BTR 3C S ชุดแรก ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยการติดตั้งระบบ C5I ที่ทันสมัย (การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ) จาก Thales การสื่อสารทางวิทยุผ่านระบบดิจิทัลที่แม่นยำและมีปลอดภัยสูง ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพที่ปฏิบัติภารกิจในสนามรบ เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ช่วยในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ต่อต้านภัยคุกคามในอนาคต และสร้างความได้เปรียบในสนามรบ Thales เพิ่มสมรรถนะให้กับยานเกราะคันแรกนี้ด้วยการติดตั้งระบบสื่อสารทางวิทยุแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ รวมทั้งระบบการบริหารขีดความสามารถของยานเกราะและอำนวยการรบ ตลอดจนวิทยุ VHF สำหรับการรบเบ็ดเสร็จ ระบบอำนวยการรบ (Battle Management System - BMS) สำหรับการควบคุมและบัญชาการตามยุทธวิธี ระบบ C5I ช่วยให้รถยานเกราะสามารถทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (vetronics) แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ รวมถึงศักยภาพในการบูรณาการระบบใหม่ที่ใช้ในยานเกราะได้แก่ ระบบเซ็นเซอร์ ระบบเตือนภัย ระบบป้องกันตนเอง และระบบวินิจฉัยตัวยานเกราะเอง ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะยกระดับการปฏิบัติการในสนามรบด้วยระบบดิจิทัลของกองทัพบกขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ทำให้สามารถวางแผนรายละเอียดการบัญชาการ การกระจายข้อมูลทางยุทธวิธี และการสื่อสารด้วยภาพและเสียงผ่านระบบที่บูรณาการเพียงระบบเดียว การทำงานอย่างใกล้ชิดกับ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศไทยในการถ่ายโอนองค์ความรู้และศักยภาพถือเป็นขั้นตอนแรกของความร่วมมือที่ได้ตกลงกันไว้ภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOA) ที่ลงนามระหว่างสามฝ่าย (สทป. ดาต้าเกท และ Thales) ในปี 2561 โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการสนับสนุนการอัพเกรดระบบการสื่อสารและสารสนเทศสำหรับกองพลยานเกราะของกองทัพบกไทย และการพัฒนาความเชี่ยวชาญให้แก่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยผ่านการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี "Thales สนับสนุนความมุ่งมั่นระยะยาวของรัฐบาลไทยในการพัฒนาขีดความสามารถด้านโดเมนดิจิทัล รวมถึงการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพไทยในสนามรบด้วยการติดตั้งระบบการสื่อสารระดับสูงที่จำเป็นต่อการสร้างความได้เปรียบ เราจะยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเพิ่มพูนทักษะและความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของประเทศไทยด้วยระบบดิจิทัลผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง" กล่าวโดย Massimo MARINZI ผู้อำนวยการประจำประเทศ บริษัท Thales กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ