รายการแดนสนธยา เสนอตอน มหาปฐพี (EARTH : THE POWER OF THE PLANET)

ข่าวบันเทิง Friday February 29, 2008 14:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ก.พ.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
พบกับสารคดีชุดยิ่งใหญ่จาก บีบีซี เปิดเผยทุกแง่มุมของโลกใบนี้ตั้งแต่โลกยุคโบราณ ที่หลายอย่าง ไม่หลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน เจาะลึกในหลากดินแดน ตั้งแต่มหาสมุทร แผ่นดิน ขุนเขา ไปจนถึง ภูเขาไฟ ความลับของธรรมชาติที่ทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ ชีวิตในอดีตตั้งแต่ยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก และทะเลทรายยังเต็มไปด้วยน้ำ
วันจันทร์ที่ 3 มี.ค. 51 พบพลังลึกลับของน้ำแข็งที่เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก และยังช่วย ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ น้ำแข็งที่กัดกร่อนทุกอย่าง และมีพลังทำลายล้างรุนแรง สำรวจชั้นน้ำแข็ง ใน ธารน้ำแข็งอาร์ฌองเทียร์ (Argentier) ลึกลงไป 6 เมตร มีการอัดแน่นของหิมะที่ทับถมกันลงมา และรีดอากาศ ออกจากชั้นล่างสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำแข็ง เรียกว่า เนอเว่ ก่อให้เกิดผืนน้ำแข็งขนาดมหึมาบนแถบขั้วโลก พบทะเลสาบที่ถูกฝังอยู่ภายใต้แผ่นน้ำแข็งที่หนากว่า 4 กิโลเมตรในทวีปแอนตาร์กติกา ทะเลสาบวอสท็อค (Vostok) ที่ถูกฝังมานานหลายล้านปี และจุดเริ่มต้นของยุคน้ำแข็งที่เริ่มขึ้นเมื่อ 3 ล้านปี ที่แผ่นทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้เคลื่อนที่มาชนกัน ส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นที่ไหลผ่านเส้นศูนย์สูตรถูกทวีปขวางกั้น อีกด้านจึงเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง และ มีหิมะตกมากขึ้น
วันอังคารที่ 4 มี.ค. 51 พบหน้าผาเรียบสูงชันที่ท้าทายเหล่านักปีนเขามืออาชีพ หน้าผา เอล แคปปิตัน ที่เกิดจากน้ำแข็งกัดเซาะ จนกลายเป็นหินแกรนิตแกร่ง ที่สูงชัน 1,000 เมตร และตั้งฉากตลอดแนวกับพื้น ปริศนาของหมู่ตึกสูงใน แมนฮัตตัน ที่เกาะกลุ่มกันอยู่ 2 ฝั่ง กับหมู่ตึกที่เตี้ยกว่าอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากยุคน้ำแข็ง เมื่อ 20,000 ปีที่แล้ว ที่หิมะทับถมกันจนสูงเกินกว่าตึกระฟ้า และเมื่อน้ำแข็งละลายจึงทิ้งร่องรอยเป็นหินก้อน และ หินหน้าตัดเรียบที่อยู่ด้านล่าง เรียกว่า ชิสท์ (Chist) ซึ่งแข็งแกร่งพอที่จะรับเสาเข็มของตึกสูงในแมนฮัตตัน ขณะที่ หมู่ตึกที่เตี้ยกว่าตรงกลาง ไม่มีหินชิสท์ จึงไม่สามารถสร้างตึกสูงได้ ไขความลับของพลังน้ำแข็ง ลึกลงไปชั้นใต้สุดของธารน้ำแข็ง ที่ทำให้ทราบว่าทำไมน้ำแข็งจึงตัดผ่านหินแกร่งได้ เมื่อพบว่าชั้นใต้สุดมีเศษหิน แลดิน ที่ ช่วยทำหน้าที่เหมือนกระดาษทราย ขัดหินที่อยู่ข้างใต้ไปเรื่อยๆ
วันพุธที่ 5 มี.ค. 51 พบอิทธิฤทธิ์ของมหาสมุทร ที่ขับเคลื่อนกระแสน้ำ และภูมิอากาศ ทั้งยังเป็น ตัวสร้างแนวชายฝั่งทั่วโลก และปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงที่ดึงดูดน้ำในมหาสมุทรให้สร้างพลังงานในรูปแบบของคลื่น ทั้งคลื่นหัวแตก และคลื่นลูกใหญ่ พบปรากฏการณ์ คลื่นน้ำทะเลหนุน (Tidal Bore) ตรงแควสาขาปากแม่น้ำอเมซอนเมื่อกระแสน้ำขึ้นรุนแรงจากมหาสมุทรแอตแลนติกถาโถมเข้ามาในเขตปากแม่น้ำตื้นๆ จนกลายสภาพเป็นคลื่นซัดฝั่งลูกใหญ่ที่ทรงพลัง ทลาย 2 ฟากตลิ่งไปตลอดทาง และวิ่งทวนกระแสน้ำด้วยความเร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นพลังกร่อนเซาะ สร้างแนวชายฝั่งของทุกทวีป
วันพฤหัสบดีที่ 6 มี.ค. 51 พบอิทธิพลของมหาสมุทรที่ขับเคลื่อนภูมิอากาศ การกำเนิดของมหาสมุทร เมื่อโลกยังเป็นดินแดนแห่งภูเขาไฟคุกรุ่น การระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิดการพวยพุ่งของไอน้ำ และไอน้ำลอยอยู่ ในอากาศ รวมตัวกันเป็นเมฆ เกิดพายุฝนที่ตกยาวนานที่สุดกว่าหลายแสนปี มหาสมุทรยุคแรกได้กำเนิดขึ้น พบกระบวนการที่เป็นจุดเริ่มต้น และสลายไปของมหาสมุทร เมื่อรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก มีส่วนสำคัญที่ทำให้ น้ำในทะเลเมดิเตอเรเนียนเริ่มเหือดหายไป เมื่อ 6 ล้านปีก่อน ทวีปแอฟริกาและยุโรปเคลื่อนมาชนกัน และ ปิดช่องแคบยิบรอลตาร์ ซึ่งปิดกั้นน้ำจากมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ให้ไหลเข้าสู่ทะเลเมดิเตอเรเนียน ทำให้น้ำในทะเลแห้งเหือดจนเหลือแต่เกลือ และ จีโอด (Geode) หินคริสตัลที่เกิดจากแร่ยิปซั่ม และเกิดวิวัฒนาการของ ช้างแคระ ซิซิเลียน ที่เคยมาอาศัยอยู่ในที่ลุ่มใหม่ๆ ที่เพิ่งแห้งลง
ติดตามชม “มหาปฐพี” ในรายการแดนสนธยา วันที่ 3 - 6 มีนาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 18.00 — 18.30 น.ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด
โทร. 0-2434-8300 / 0-2434-8547 คุณสุจินดา, คุณแสงนภา และคุณวิภาวัลย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ