“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม

ข่าวเทคโนโลยี Friday November 29, 2019 16:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--Innovation of Experience นายยงยุทธ์ พุทธพฤกษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริการลูกค้า กสท เขตตะวันตก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT พร้อมด้วยพนักงานร่วมส่งมอบระบบ IoT สำหรับการทำเกษตรสมัยใหม่ให้แก่โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม ซึ่งเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้าน Smart Farm ภายใต้โครงการ "CAT เพาะพันธุ์ดี" โดยมี นายสุทธิโรจน์ ปฐมเจริญสุขชัย ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนายสุจริต อกตัน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 โครงการ "CAT เพาะพันธุ์ดี" มีเป้าหมายนำเทคโนโลยี IoT Smart Farm เข้าไปช่วยในการพัฒนาภาคการเกษตรท้องถิ่นระดับชุมชนและสาธิตวิธีการใช้งานอุปกรณ์การทำเกษตรในยุคดิจิทัล ให้กับโรงเรียนสอนให้เด็กมีใจรักการเกษตร เพื่อรับมือกับเกษตร 4.0 ยุคที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมให้การเกษตรเข้าถึงได้ง่าย มีความแม่นยำสูง ส่งผลให้สามารถผลิตผลผลิตได้ต้นทุนต่ำลง และมีปริมาณมากขึ้น ทำให้ได้ราคาดีขึ้น พร้อมที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้ โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมภ์) ได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเด็กกินผัก โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เด็กได้กินผักผลไม้ที่ดีและปลอดภัยในโรงเรียน ซึ่งสนองรับกับโครงการ "CAT เพาะพันธุ์ดี" ที่ช่วยส่งเสริมการทำแปลงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้น้อง ๆ นักเรียนได้มีผักสวนครัวไว้รับประทาน และทาง CATได้เล็งเห็นความสำคัญในสิ่งนี้ จึงได้ส่งมอบระบบ IoTที่ประกอบไปด้วย การควบคุมระบบเปิด-ปิดน้ำ "น้ำ" คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรสวยงามและอุดมสมบูรณ์ได้ตามต้องการ CAT จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมได้จากโทรศัพท์มือถือ ในการเปิด-ปิดน้ำของสปริงเกอร์ ที่ถูกติดตั้งไว้ที่แปลงผัก สั่งการด้วยปลายนิ้ว เพียง 1 คลิกจากที่ใดก็ได้ สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างเรียลไทม์ การให้น้ำแก่พืชได้ทันเวลาตามที่พืชต้องการ จะช่วยลดความเสียหายจากการขาดน้ำของพืชได้ อีกทั้งยังสร้างความแม่นยำ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย ระบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ "ความชื้น" คือตัวควบคุมความเจริญเติบโตของพืชผลในแปลงผัก เพราะน้ำในดินจะละลายธาตุอาหารของพืชออกมาให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ ถ้าพืชขาดน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง ส่งผลให้ผลผลิตของพืชจะลดลง ซึ่งกำหนดเวลาให้น้ำก็สามารถพิจารณาได้จากปริมาณความชื้นในดินได้ ทาง CAT มีเทคโนโลยีที่สามารถวัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ ที่ส่งสัญญาณเตือนทางแอปพลิเคชัน ทำให้น้อง ๆ นักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหา เลือกชนิดของพืชผักที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ในดินแต่ละแบบ ด้วยความแม่นยำและรวดเร็วผ่านเทคโนโลยี จึงทำให้การทำแปลงเกษตรอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องยาก ใคร ๆ ก็สามารถพัฒนาผลิตผลและคุณภาพของแปลงเกษตรพืชผักสวนครัวของโรงเรียนได้ โครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี นอกจากสื่อความหมายหลักในการพัฒนาสมาร์ตฟาร์มให้ขยายไปในกลุ่มเกษตรกรแล้ว ยังสื่อถึงการสร้างคนพันธุ์ดี ครอบคลุมมิติของ"ดี"ที่หมายถึงคนดีมีคุณภาพอันเป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน และ"D" ที่สื่อความหมายถึง "Digital" อันเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ขององค์กร CAT เพื่อการสร้างคน Digital ให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศในภาคเกษตรกรรม โดย CAT หวังให้ผลระยะยาวจากการพัฒนาสมาร์ตฟาร์มของโครงการฯ ได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเกษตร 4.0 เพื่อนำมาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งด้านการพัฒนาคนดิจิทัลที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทยซึ่งมีเกษตรกรรมเป็นรากฐานสำคัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ