ว. ผลักดันผู้ประกอบการไทย ให้ได้มาตรฐานรับรอง อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ผ่านการดำเนินงาน 3S : Speed Satisfaction Sharing

ข่าวทั่วไป Friday November 29, 2019 16:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ เรื่อง "Value Plus With NQI ร่วมผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ได้มาตรฐานรับรอง อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีมาตรฐาน โดยมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และยกระดับการแข่งขัน ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ณ อาคาร Admin วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี "...ผลิตภัณฑ์ที่จะก้าวไปได้ไกลนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานและระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพรองรับ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้ สามารถจำหน่ายหรือให้บริการได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพหรือ National Quality infrastructure (NQI) เป็นกระบวนการตรวจสอบและประเมินตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการและคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย ประกอบด้วย 4 กระบวนการสำคัญ ได้แก่ มาตรวิทยา (Metrology) การกำหนดมาตรฐาน (Standardization) การวิเคราะห์ทดสอบ (Testing) และการรับรองระบบ (Quality Assurance) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิเช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร (สอก.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ..." รองผู้ว่าการ วว. กล่าว ดร.อาภากร สุปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า วว. ในฐานะหน่วยงานของประเทศภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีผลงานวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้บริการด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ และการรับรองระบบคุณภาพ และมีการดำเนินงานที่ตอบรับด้านนโยบายรัฐบาลในด้าน BCG (Bio economy, Circular economy, Green economy) มุ่งเน้นในเรื่อง 3S คือ Speed, Satisfaction และ Sharing ที่หมายถึง ความรวดเร็วในการเข้าถึงและให้บริการลูกค้า ความพึงพอใจในการรับบริการ และการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อส่งต่อสู่ภาครัฐ เอกชนและประชาชนต่อไป นอกจากนี้ วว. ยังเสริมแกร่งให้กับผู้ประกอบการ ผ่านการจัดการบรรยายเรื่อง "การยกระดับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้" โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมกมล แม้นจันทร์ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ ดร.กฤติยา ทิสยากร นักวิจัยอาวุโส วว. และจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พันธ์ณภัทร์ เศวตภาณุวงศ์ จากสาขาวิชาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำการระดมความคิด ซึ่งมีพันธมิตรจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร (IAI) กลุ่มผู้ประกอบการอาหารแปรรูป และกลุ่มเครื่องสำอางสารสกัดธรรมชาติ เข้าร่วมการสัมมนาฯ และเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานภารกิจของศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย และโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร วว. ด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ