UNDP สานต่อแรงบันดาลใจภายใต้โครงการเสือ (Tiger Project) นำเสนอเรื่องราวการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่าผ่านผืนป่า

ข่าวทั่วไป Monday February 24, 2020 16:23 —ThaiPR.net

UNDP สานต่อแรงบันดาลใจภายใต้โครงการเสือ (Tiger Project) นำเสนอเรื่องราวการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่าผ่านผืนป่า กรุงเทพฯ--24 ก.พ.--UNDP UNDP สานต่อแรงบันดาลใจภายใต้โครงการเสือ (Tiger Project) นำเสนอเรื่องราวการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่าผ่านผืนป่า ในเชิงออกแบบดีไซน์เพื่อเล่าเรื่องสะท้อนแนวคิดห้วยขาแข้งแห่งการอยู่ร่วมกัน (HuaiKhakhaeng Coexistence) ผ่านนิทรรศการ Tiger City : A Story from Huai Kha Khaeng ในเทศกาล Bangkok Design Week 2020 เป็นครั้งแรก ครั้งแรกกับการนำเอาเรื่องราวความน่าสนใจของโลกแห่งเสือโคร่งในป่ามรดกโลกห้วยขาแข้งซึ่งผ่านการศึกษาวิจัยมายาวนานของทีมวิจัยเสือ มานำเสนอสู่คนเมืองด้วยรูปแบบนิทรรศการ"Tiger City: A Story from Huai Kha Khaeng" สะท้อนมุมมองจากกลุ่มดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Studio150 สร้างอีกหนึ่งแนวร่วมเพื่อปกป้องสัตว์ป่าในห้วยขาแข้งเพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการเสือ (Tiger Project) สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development Goals) นางสาวพันธ์สิริ วินิจจะกูล ผู้จัดการโครงการเสือ (Tiger Project) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กล่าวถึง การสร้างการรับรู้ถึงความจำเป็นในการป้องกันมรดกโลก และสร้างความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมศึกษาให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อสถานการณ์สัตว์ป่าที่ถูกคุกคาม ภายใต้โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ว่า ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แหล่งมรดกโลกทางธรรรมชาติมีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 1.7 ล้านไร่ เป็นผืนป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนที่สำคัญแหล่งสุดท้ายของโลก และมีประชากรเสือโคร่งอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในประเทศ ประมาณ 60-80 ตัว เสือโคร่งนอกจากเป็นสัตว์นักล่าสูงสุดบนห่วงโซ่อาหาร ยังเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่อนุรักษ์ ที่บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่สำคัญของห้วยขาแข้งอีกด้วย เมื่อใดที่พื้นที่นั้นยังคงรักษาเสือโคร่งไว้ได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีระบบการป้องกันรักษาที่เข้มแข็ง ทำให้ยังคงรักษาสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกวางป่า กระทิง วัวแดง ฯลฯ การอนุรักษ์เสือโคร่งจึงเป็นการช่วยอนุรักษ์ป่าและรักษาสมดุลของระบบนิเวศซึ่งมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์ไปพร้อมๆกัน การนำเสนอเรื่องราวของการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าและการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่าในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งผ่านการออกแบบข้อมูลในรูปแบบ Information Design รวมถึงสารคดีสั้น"Tiger Eyes" ผ่านนิทรรศการ Tiger City: A Story from Huai Kha Khaeng " โดยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ด้วยมุมมองขอนักออกแบบ Studio 150 และ collaborators สามารถทำให้เรื่องที่ดูเหมือนไกลตัวนั้นเข้ามาใกล้ชิดคนเมืองมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อได้สัมผัสแนวคิดวิถีชีวิตและกระบวนการทำงานของผู้คนในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งโดยเฉพาะผลงานบุกเบิกของสืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และการปกป้องผืนป่าจากภายในโดยการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาป่าไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า รวมถึงการปกป้องผืนป่าจากภายนอกด้วยแนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากชุมชนในการสร้างพื้นที่แนวกันชนที่ยั่งยืน ให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับสัตว์ป่าได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนฟื้นฟูถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่า โดยมีส่วนร่วมรักษาป่าอันเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า ควบคู่กับการศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและการเกษตรที่เอื้อประโยชน์ต่อคนและสัตว์ไปพร้อมๆ กันทำให้พบว่า ปัจจุบันได้เกิดแนวร่วมสำคัญของการอยู่อาศัยร่วมกันของคนและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนในเขตกันชนที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้นของกลุ่มที่เรียกได้ว่า ชุมชนที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่า "Wildlife Friendly Community" อีกทั้งยังสามารถเริ่มต้นพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าชุมชน ภายใต้แนวคิด สินค้าที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่า "Wildlife Friendly Products" เพื่อต่อยอดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสังคม ชุมชนอย่างรอบด้าน และยั่งยืนต่อไปในอนาคตอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ