“ทีเซลส์ ร่วมกับ วว. และพันธมิตรการวิจัยก่อนคลินิกทั่วประเทศ ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบตามหลักการ OECD GLP ในการพัฒนายา วัคซีน COVID-19 และรองรับโรคระบาดในประเทศไทย”

ข่าวทั่วไป Friday March 6, 2020 15:06 —ThaiPR.net

“ทีเซลส์ ร่วมกับ วว. และพันธมิตรการวิจัยก่อนคลินิกทั่วประเทศ ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบตามหลักการ OECD GLP ในการพัฒนายา วัคซีน COVID-19 และรองรับโรคระบาดในประเทศไทย” กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--ทีเซลส์ การอบรมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ การยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบการพัฒนายา วัคซีน รองรับโรคระบาดในประเทศไทย ตามหลักการทดสอบความปลอดภัยของ OECD GLP ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศในกลุ่ม OECD และประเทศสมาชิกสมทบ 42 ประเทศ ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2563 ณ ชั้น 4 อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก (Pearl Bangkok) กรุงเทพฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และพันธมิตรศูนย์ทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญจาก Department of Standards Malaysia และ Universiti Kebangsaan Malaysia ในการพัฒนาบุคลากรด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะรองรับการทดสอบความปลอดภัยยาและวัคซีน COVID-19 เป็นการพัฒนาบุคลากรและรองรับการยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตอกย้ำความเชื่อมั่นถึงระบบการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ที่สามารถให้การรับรองผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพให้เป็นที่เชื่อมั่นจากทั่วโลก โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และพันธมิตรการวิจัยก่อนคลินิกจากทั่วประเทศกว่า 120 คน ร่วมทำ Workshop เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบ การพัฒนายา วัคซีน COVID-19 และรองรับโรคระบาดในประเทศไทย ดำเนินการจัดอบรมทางวิชาการแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาวิจัยระดับก่อนคลินิก เภสัชกร นักพิษวิทยา นักวิทยาศาสตร์ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง นักวิจัย นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจจากทั่วประเทศ ในหัวข้อ “OECD Good Laboratory Practice (GLP) Workshop 2020” เพื่อยกระดับความสามารถบุคลากรและห้องปฏิบัติการในการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ยาสัตว์ สารปรุงแต่งในอาหารและอาหารสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง สารเคมีในอุตสาหกรรมหรือใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะการดำเนินการรองรับการทดสอบยาวัคซีน COVID-19 ซึ่งดำเนินภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ OECD 36 ประเทศและประเทศสมาชิกสมทบอีก 6 ประเทศ เป็นการให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะ OECD Good Laboratory Practice สร้างความสามารถหน่วยทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ และความสามารถห้องปฏิบัติการตามหลักการ OECD GLP ของประเทศไทยด้วย ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรมศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “โควิด-19 (COVID-19) เป็นเหตุระบาดที่ทั่วโลกต้องช่วยเหลือในการหาทางป้องกันและรักษา OECD Good Laboratory Practice เป็นกระบวนการที่จะรับรองว่ายา หรือวัคซีนเหล่านนั้นมีมาตรฐานในการตรวจรับรอง และมีความเชื่อมั่นว่ามีความปลอดภัยตามกระบวนการของ OECD Good Laboratory Practice ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การผลิตบุคลากรและสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย บนพื้นฐานของการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากสิ่งที่ประเทศมีอยู่ ประเทศไทยมีกระบวนการที่ได้รับความชื่อถือจากทั่วโลก ตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความมั่นคงทางยา วัคซีน มั่งคั่งจากธุรกิจสืบเนื่อง และมีความยั่งยืนส่งต่อไปยังลูกหลานตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ด้าน นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวว่า “ในนามของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ขอขอบคุณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทั้งนี้ วว. และ ทีเซลส์ (TCELS) ต่างให้ความสำคัญกับ โควิด-19 (COVID-19) และเห็นถึงความสำคัญการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและห้องปฏิบัติการในประเทศ ให้เท่าทันต่อการเตรียมการค้นหาตัวยา วัคซีน บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการที่เป็นระบบคุณภาพ มีศักยภาพทั้งการวิจัยและการทดสอบวิจัยระดับก่อนคลินิกเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จากความร่วมมือในครั้งนี้ วว., ทีเซลส์ (TCELS) และหน่วยงานทดสอบวิจัยระดับก่อนคลินิกทั่วประเทศ จะสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานการทดสอบในเซลล์ ในสัตว์ทดลองงานพิษวิทยา/พยาธิวิทยา ที่สามารถรองรับการทดสอบยาวัคซีนจาดทั่วทั่วโลกได้ และเป็นการขับเคลื่อนงานพัฒนายกระดับโครงสร้างพื้นฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ และบุคลากรเพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายรัฐต่อไป”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ